อาศักดา รักเด็ก
21 hrs · Edited ·
มา มา มา เข้ามาฟังอานะ เรื่องจริงที่น่าตกใจ สำหรับความรู้สึกนึกคิด ของชาวบ้าน ในหมู่บ้านเสื้อแดง
อาจารย์จากมหาวิทยาลัย ขอสงวนนาม เปิดเผยผลวิจัยหลังจากยุึดอำนาจ มาเป็นเวลากว่า หกเดือน
ผลการวิจัยเชิงลึก คือไปกินไปนอน ไปเป็นเพื่อน ไปรับฟังความอัดอั้น ของหมู่บ้านเสื้อแดง ออกมาดังนี้ (สรุปคร่าว ๆ จากการฟังวิทยุ ผลสรุปของผู้วิจัยมาถ่ายทอดให้ฟัง) ได้ความว่า
๑ ชาวบ้านยิ่งรู้สึก ต่อต้านมากขึ้น เมื่อเจอยุทธวิธี ทหาร เอาไปอบรม นั่งฟัง (ล้างสมอง) จนไปถึงให้กล่าวคำปฏิญาณ (เป็นเวลา ๗ วัน ) ชาวบ้านมองว่ามันคือเพ้อเจ้อ เสียเวลา ไม่มีประโยชน์ การใช้วิธีบีบบังคับ เขาจำเป็นต้องท่องตาม แต่ก็ท่องไปงั้น ๆ ทัศนคติ และความเห็นทางด้านการเมือง ยังคงเดิม ชาวบ้านเกินครึ่งบอกว่า แน่จริงก็ยกเลิกกฏอัยการศึกดูสิ พวกเขาก็พร้อมจะออกมารบอีกครั้ง
๒. ผลจากข้อ ๑ จึงเป็นคำถามต่อไปว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ชาวบ้านยอมรับว่า เขารู้สึกเป็นหนี้บุญคุญ พรรคการเมือง (นัยอาจหมายถึงตระกูลชินวัตร ก็ได้) เพราะเป็นพรรคการเมืองเดียว ที่ดูแล คนยากจน คนระดับรากหญ้าที่ด้อยโอกาสมาโดยตลอด ตัวอย่างโครงการที่ชาวบ้านรู้สึกและ บรรยายออกมา ตัวอย่างเช่น
๒.๑ สามสิบบาทรักษาทุกโรค การได้ใช้โครงการนี้ แม้เพียงครั้งเดียว พวกเขาก็รู้สึกว่ามันเป็นบุญคุญที่ควรจดจำ ต้องทดแทน เพราะสำนึกในบุณคุญจากความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่มาจากอามิสสินจ้างใด ๆ (ประมาณว่าบุญคุญต้องทดแทน แค้นต้องชำระ อะไรประมาณนี้)
๒.๒ กองทุนหมู่บ้าน (ออกมาครั้งแรกเลย) ชาวบ้าน กว่าครึ่งสามารถใช้เป็นทุนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยังเจริญงอกเงย มีฐานะดีขึ้น เงินกองทุนก็มีมากขึ้น เพราะมีผลกำไร (กลับหัวกลับหางกับการทำนายว่า ให้เงินคนโง่ คนโง่เอาไปซื้อมอเตอร์ไซด์ ซื้อมือถือ แล้วก็จะเป็นหมู่บ้านหนี้เสีย)
ซึ่งจนวันนี้ ไอ้คนพูดด่าปรามาส ชาวบ้านว่า โง่ ก็ยังไม่เคยออกมารับผิดชอบใด ๆ กับคำพูดของตัวเอง (กูด่ามึงนั้นแหละ พรรคประชาวิบัติ ไม่ต้องลอกแลก หันหน้าไปมองคนอื่น)
๓. อาจารย์ถามต่อไปว่า ทำไมหละก็ในเมื่อเขาโกง โกงนะ ตัวเอง โคตรโกงอะไรประมาณนี้ ชาวบ้านได้ให้คำตอบมาสองนัยยะคือ
๓.๑ เรื่องตื้นลึกหนาบางการตอบโต้ กันไปมา ชาวบ้านยังไม่เชื่อใคร(เพราะไม่รู็ว่าใครจริงใครเท็จ) ขอให้สุดท้ายมีผลการตัดสินของศาลเป็นที่สิ้นสุดถึงจะตัดสินใจอีกครั้ง
๓.๒ ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ชาวบ้านเชื่อว่า โกงทุกพรรค โกงทุกคณะรัฐประหาร สรุปว่า โกงหมด อยู่ที่ว่าเรื่องจะแดงเมื่อไหร่เท่านั้น ฉะนั้นปัจจัยการตัดสินว่าโกง คงจะให้ปรับทัศนคติลำบาก เพราะความจริงคือแม่งโกงกันหมด
ผลสุดท้ายจึงเป็นที่มาว่าเลือกพรรคที่ทำงานให้ชาวบ้านดีกว่า (อันนี้น่าจะเป็นวลีที่เอามาด่าชาวบ้านว่า ชาวบ้านโง่ ให้พรรคโกงได้ แต่ฉันต้องได้ด้วย
ข้อแก้ไขคือ ต้องบอกว่าฉันไม่โกงนะ เริ่มต้นจาก ที่มาของทรัพย์สินท่านผู้นำและน้องชายก่อนดีไหม(ฮา) เป็นตัวอย่างว่า ทหารยุคนี้ไม่โกง (ฮากว่า) ข้อนี้อาเสนอ
๔. การปรองดอง อันนี้น่าสนใจสุด ๆ
๔.๑ ชาวบ้านบอกว่า ไม่เคยเกลียดม๊อป กปปส. เพราะชาวบ้าน มองว่าคือคนไทยด้วยกัน แต่สำหรับแกนนำ ชาวบ้านบอกรับไม่ได้ (เกลียดนั่นแหละ)
๔.๒ ชาวบ้านบอกว่า อยากให้ ชาวบ้าน ของ กปปส. มาใช้ชีวิต ร่วมกันในหมู่บ้านเสือแดง กินอยู่หลับนอนด้วยกันซักสองอาทิตย์ ไม่คุยเรื่องการเมือง ก็ได้ เพราะเขาอยากทราบว่า ชาวบ้าน กปปส. คิดอย่างไรกับเขา พวกรับรองความปลอดภัย อาหารการกินพร้อม กลับออกไปแบบเพื่อน อย่างมีความสุข จะได้มองตากัน เข้าใจกันแบบบ้าน ๆ และเขาก็อยากรู้เหมือนกันว่ามุมมองคนไทยใต้นั่น เขาคิดแบบไหนในการเลือกพรรคการเมือง (อันนี้ผมแม่ง ทึ่ง) แต่แกนนำ กปปส. อย่ามา เขารับไม่ได้
๔.๓ การยุยงปลุกปั่น เกิดจากวิทยุชุมชน ใช่หรือไม่ ชาวบ้านตอบมาว่า อย่ามโนน๊ะไอ้สัส (อันนี้เติมเอง) ชาวบ้านรับรู้ข้อมูลจากวิทยุชุมชนน้อย ถึงน้อยมาก(ฮา) ชาวบ้าเลือกเสพมีสองทางคือ
๔.๔ เอเชียอัพเดท กับวอยซ์ ทีวี ที่มีปัจจัยพอ ๆ กันคือ เฟสบุ๊ค เวปบอร์ดการเมือง รองมาเป็นอันดับสอง (ไอ้ข้อนี้ อาแม่งอึ้ง ๆ ๆ ๆ ๆ เรย) นักวิจัยฟังแล้วแทบหงายท้อง
๕. สุดท้าย ชาวบ้านมองว่า การทำให้ชาวบ้านรัก ไม่ใช้จ่ายเงินซื้อ เงินเป็นสิ่งจำเป็น แต่เงินซื้อความรู้สึกไม่ได้ ปัจจัยพื้นฐานชาวบ้าน ต้องการแค่ ถนน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ (ส่วนรวม) อันที่สอง เห็นความสำคัญในการให้โอกาสชาวบ้านในการใช้ชีวิต เช่นกองทุนหมู่บ้าน หรือ การได้สิทธิรักษาตัวอะไรประมาณนี้ เท่านั้น
ผลวิจัยนี้ ไม่ได้เกิดจากแบบสอบถาม แต่เกิดจากการไปอยู่กับชาวบ้าน จนเขาไว้ใจระดับหนึ่ง แล็วก็พูดกับชาวบ้าน ครึ่งชั่วโมง (ถาม)แล้วฟังชาวบ้านตอบกลับมาสี่ชั่วโมง
ไม่ใช่ไปครึ่งวันกลับ
แต่กินนอนอยู่ในหมู่บ้านนั้นเป็นอาทิตย์ ๆ จนชาวบ้านไว้ใจ พานั่งซ้อนมอเตอร์ไซด์ ไปสนทนาทัศนคติ กับคนโน้น คนนี้ในหมู่บ้าน
...........................................................................
ฟังไว้นะครับ จริง ไม่จริงก็ถกกันมาไ
No comments:
Post a Comment