#กูปลูกปัญญา
(เรื่องใหญ่ที่ว่า)
เมื่อวานนี้ มีพระราชพิธีใหญ่ ให้หลายคนได้ติดตามชมทางโทรทัศน์ ผู้ที่ติดตามชมพระราชกรณียกิจก็คงได้ดูกัน และได้ความรู้ไปด้วย ระหว่างที่พิธีกรบรรยายทางโทรทัศน์
- - - - -
(เรื่องใหญ่ที่ว่า)
เมื่อวานนี้ มีพระราชพิธีใหญ่ ให้หลายคนได้ติดตามชมทางโทรทัศน์ ผู้ที่ติดตามชมพระราชกรณียกิจก็คงได้ดูกัน และได้ความรู้ไปด้วย ระหว่างที่พิธีกรบรรยายทางโทรทัศน์
- - - - -
เมื่อ 7 ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมา ณ บริเวณสนามหญ้าพระบรมมหาราชวัง
มีการประกอบพิธีตรึงหมุดธงและพระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจำกองทัพไทย
ซึ่งถือเป็นพระราชพิธีทางการทหารที่สำคัญ
โดยปกติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ
จะเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานด้วยพระองค์เอง
ในฐานะที่ทรงเป็นจอมทัพไทย ครั้งก่อนหน้า คือเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534
- - - - -
ต่อมาในปี 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯแทนพระองค์ ประกอบพิธี
พระราชทานธงชัยเฉลิมพล แก่หน่วยทหาร จำนวน 91 หน่วย
- - - - -
และหลังจากปี 2549 หากมีการพระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วยทหารใหม่ หรือพระราชทานธงชัยเฉลิมพลใหม่ แก่หน่วยทหาร เพื่อทดแทนของเดิมที่เก่าชำรุด ก็เป็นการพระราชทานให้เป็นการภายใน เป็นครั้งคราวไป
(ปกติพระราชพิธีทางการทหารครั้งสำคัญๆ โดยปกติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรีผู้ใด เสด็จแทนพระองค์ ยกตัวอย่างในตอนพิธีสวนสนามราชวัลลภ เมื่อปี 2551
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จฯ ด้วยพระองค์เอง เพราะพระองค์ทรงเป็นจอมทัพไทย
จนเมื่อปี 49 และ 57 นี้เอง ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมฯ เสด็จแทนพระองค์)
- - - - -
เมื่อ 7 ธ.ค.2557 ถือเป็นการพระราชทานธงชัยเฉลิมพลครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยมีการพระราชทานธงฯ ให้แก่ทหาร ถึง 63 หน่วย ซึ่งพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพลครั้งใหญ่ ไม่มีมานานแล้วตั้งแต่ปี 2549 จึงทำให้มีหน่วยทหารใหม่บางหน่วยยังไม่มีธง บางหน่วยมีการเปลี่ยนชื่อ จึงต้องขอธงประจำหน่วยใหม่ และมีบางหน่วยที่ธงเก่าชำรุดแล้ว จึงขอพระราชทานธงใหม่
- - - - -
การพระราชทานธงชัยเฉลิมพล ในครั้งนี้
มีการประกอบพิธีตรึงหมุดธง บรรจุเส้นพระเจ้า (เส้นผม) ลงในกรัณฑ์ (ผอบ) ยอดธงชัยเฉลิมพลด้วย (ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่ผ่านมา ธงชัยเฉลิมพล จะมีการบรรจุเส้นพระเจ้า (เส้นผม) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไว้ในกรัณฑ์ (ผอบ) ที่อยู่ตรงยอดของธง แต่ในปี 57 นี้ใช้เส้นพระเกศา ของสมเด็จพระบรมฯ นับว่าน่าสนใจอย่างยิ่งต่อการศึกษา)
- - - - -
และที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง คือ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา
ไม่ได้ร่วมในพระราชพิธีครั้งนี้ แต่ปรากฎว่า มีนายทหารหญิงท่านหนึ่ง เป็นผู้รับธงชัยเฉลิมพล ส่งถวายให้สมเด็จพระบรมฯ ก่อนพระราชทานแก่หน่วยทหาร
- - - - -
ข้อสังเกต อีกอย่างคือ ปีที่มีการพระราชทานธงฯ คือ
ปี 2534 ปี 2549 และปี 2557
ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปีที่มีการรัฐประหารเกิดขึ้น
เป็นข้อสังเกตเฉยๆ นะ
- - - - -
หากท่านมีข้อมูลเพิ่มเติม หรือจุดที่น่าสนใจอื่นๆ
ก็สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ ตามสมควร
ปล. อ่านให้ละเอียด อย่าอ่านผ่านๆ
บริหารสายตา และปัญญาบ้าง
หากเห็นว่าสมควร ก็วานท่านสมาชิก
ช่วย แชร์ กระจายความรู้ออกไปด้วย
- - - - -
ต่อมาในปี 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯแทนพระองค์ ประกอบพิธี
พระราชทานธงชัยเฉลิมพล แก่หน่วยทหาร จำนวน 91 หน่วย
- - - - -
และหลังจากปี 2549 หากมีการพระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วยทหารใหม่ หรือพระราชทานธงชัยเฉลิมพลใหม่ แก่หน่วยทหาร เพื่อทดแทนของเดิมที่เก่าชำรุด ก็เป็นการพระราชทานให้เป็นการภายใน เป็นครั้งคราวไป
(ปกติพระราชพิธีทางการทหารครั้งสำคัญๆ โดยปกติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรีผู้ใด เสด็จแทนพระองค์ ยกตัวอย่างในตอนพิธีสวนสนามราชวัลลภ เมื่อปี 2551
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จฯ ด้วยพระองค์เอง เพราะพระองค์ทรงเป็นจอมทัพไทย
จนเมื่อปี 49 และ 57 นี้เอง ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมฯ เสด็จแทนพระองค์)
- - - - -
เมื่อ 7 ธ.ค.2557 ถือเป็นการพระราชทานธงชัยเฉลิมพลครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยมีการพระราชทานธงฯ ให้แก่ทหาร ถึง 63 หน่วย ซึ่งพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพลครั้งใหญ่ ไม่มีมานานแล้วตั้งแต่ปี 2549 จึงทำให้มีหน่วยทหารใหม่บางหน่วยยังไม่มีธง บางหน่วยมีการเปลี่ยนชื่อ จึงต้องขอธงประจำหน่วยใหม่ และมีบางหน่วยที่ธงเก่าชำรุดแล้ว จึงขอพระราชทานธงใหม่
- - - - -
การพระราชทานธงชัยเฉลิมพล ในครั้งนี้
มีการประกอบพิธีตรึงหมุดธง บรรจุเส้นพระเจ้า (เส้นผม) ลงในกรัณฑ์ (ผอบ) ยอดธงชัยเฉลิมพลด้วย (ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่ผ่านมา ธงชัยเฉลิมพล จะมีการบรรจุเส้นพระเจ้า (เส้นผม) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไว้ในกรัณฑ์ (ผอบ) ที่อยู่ตรงยอดของธง แต่ในปี 57 นี้ใช้เส้นพระเกศา ของสมเด็จพระบรมฯ นับว่าน่าสนใจอย่างยิ่งต่อการศึกษา)
- - - - -
และที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง คือ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา
ไม่ได้ร่วมในพระราชพิธีครั้งนี้ แต่ปรากฎว่า มีนายทหารหญิงท่านหนึ่ง เป็นผู้รับธงชัยเฉลิมพล ส่งถวายให้สมเด็จพระบรมฯ ก่อนพระราชทานแก่หน่วยทหาร
- - - - -
ข้อสังเกต อีกอย่างคือ ปีที่มีการพระราชทานธงฯ คือ
ปี 2534 ปี 2549 และปี 2557
ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปีที่มีการรัฐประหารเกิดขึ้น
เป็นข้อสังเกตเฉยๆ นะ
- - - - -
หากท่านมีข้อมูลเพิ่มเติม หรือจุดที่น่าสนใจอื่นๆ
ก็สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ ตามสมควร
ปล. อ่านให้ละเอียด อย่าอ่านผ่านๆ
บริหารสายตา และปัญญาบ้าง
หากเห็นว่าสมควร ก็วานท่านสมาชิก
ช่วย แชร์ กระจายความรู้ออกไปด้วย
No comments:
Post a Comment