"เมื่อผมถูก คสช.เรียก"
วันนั้นเป็นวันอาทิตย์ แต่ไม่ใช่วันหยุด เนื่องจากผมยังต้องทำงานตามปกติที่ไม่เป็นเวลา ตามหมายข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นๆ เสร็จจากงานก็ไปออกกำลังกาย แม้จะพกโทรศัพท์มือถือไปด้วย แต่ก็ไม่ได้ยินเสียงสายเข้ามาจำนวนมากจาก คนที่ผมรู้จักเพราะวางไว้ไกลตัว จนกระทั่งออกกำลังกายเสร็จผมก็มาเปิดโทรศัพท์ดู ปรากฏว่ามีเบอร์ทั้งแม่ พ่อ เพื่อนเก่า-ใหม่ เพื่อนร่วมงาน โทรเขามา miss call จำนวนมาก ในใจขณะนั้นคิดว่าต้องเกิดเรื่องแน่นอนเพราะไม่เคยเกิดปรากฏการณ์แบบนี้กับ ตัว แม้แต่วันเกิด, วันขึ้นปีใหม่ก็ไม่มีใครโทรมาจำนวนมากขนาดนี้
จึงไล่ดูความสำคัญ เลือกโทรกลับไปหาแม่ที่อยู่ต่างจังหวัดก่อน ได้ทราบความจริงว่าผมมีชื่ออยู่ในคำสั่งเรียกรายงานตัวของคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ หรือ คสช. สิ่งแรกที่ผมทำขณะนั้นคือปลอบใจแม่และพ่อ พร้อมใส่เสียงหัวเราะของตัวเองไปในสายโทรศัพท์ “โอ้ยยย ไม่มีอะไรหรอกแม่” เพื่อให้ทั้ง 2 ท่านรู้สึกผ่อนคลายหายกังวล โดยที่แม่เล่าว่าคนแถวบ้านตะโกนบอกให้ดูโทรทัศน์จึงทราบว่ามีชื่อลูกชายตัว เองอยู่ในนั้น
ภายหลังทราบด้วยว่าผลจากการประกาศชื่อออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ นี้ สร้างความรับรู้ของคนจำนวนมาก โดยเฉพาะกับคนที่รู้จัก มีคนมาพูดกับแม่ผมในทำนองว่าลูกไปก่ออาชญากรรมอะไร เขาถึงได้ประกาศเรียกผ่านโทรทัศน์ขนาดนั้น แม่ผมก็เลยสวนไปว่า “ลูกฉันไม่ได้ไปทำผิดหรือฆ่าคนอะไร คงแค่คิดต่างเขาก็เท่านั้น” ผมได้ถามแม่ไปหลังจากนั้นด้วยว่าแม่รู้สึกอายและกังวลไหมที่เป็นแบบนี้ ผมก็ได้รับคำตอบที่ทำให้ผมสบายใจคือ แม่ผมไม่ได้กังวลอะไร เพราะเชื่อว่าผมไม่ได้ทำผิดอะไร ไม่ได้ก่ออาชญากรรม
อย่างไรก็ตาม นอกจากความสนใจของชาวบ้านที่พุ่งตรงมาหาแม่ผมแล้ว ยังมีความสนใจจากหน่วยความมั่นคงของจังหวัด ที่มาหาแม่ผมพร้อมทำประวัติแม่-พ่อ และซักถามถึงประวัติของผม มีการถ่ายรูป 4 ด้านของแม่ผมด้วย นี่เป็นการสร้างแรงกดดันมากที่สุดที่ส่งผลให้ผมต้องไปรายงานตัวให้ทันตามวัน เวลาที่ คสช. ระบุไว้
ในคำสั่งเรียกรายงานตัวของ คสช. เดียวกันนั้น นอกจากผมแล้ว ยังมีเพื่อนที่เคยทำกิจกรรมร่วมกันมาในอดีต รวมทั้งรายชื่อคนที่ผมรู้จักจำนวนหนึ่ง แต่นั้นก็ไม่ได้ทำให้ผมคาดการณ์ได้ว่า “เขาเรียกผมไปรายงานตัวทำไมวะ(ครับ)” ด้วยภาวะที่เดาไม่ได้ ว่าเป็นเพราะกิจกรรมที่ทำในอดีต หรืองานสื่อที่ทำในปัจจุบัน หรืออะไร ส่งผมให้ผมเลือกที่จะปิดช่องทางการสื่อสารหรือช่องทางการบันทึกประวัติการทำ กิจกรรมผมสิ่งแรกคือ ‘facebook’ รวมทั้งถูกเพื่อนถีบออกจากกลุ่มสนทนาทางการเมืองต่างๆในเฟซบุ๊ก เหลือไว้ใช้เพียงบัญชีที่โพสต์แต่เรื่องทั่วไป เรื่องการเมืองที่ไม่มีข้อความต่อต้าน คสช. ผลกระทบจากการกระโดดและถูกถีบออกจากกลุ่มสนทนาเหล่านั้นมีผลมาถึงปัจจุบัน นี้ ทำให้ผมตามความเคลื่อนไหวเพื่อรายงานข่าวได้ยากขึ้นด้วย
เนื่องจากประกาศเรียกรายงานตัว เว้นช่องว่างให้ผมได้เตรียมตัวอย่างน้อย 2 วัน ทำให้มีโอกาสได้ปรึกษาและวิเคราะห์กับเพื่อนที่อยู่ในลิสต์เรียกรายงานตัว ด้วย เพื่อประเมินว่า “ตกลงเขาเรียกพวกเราเพราะอะไรวะ(ครับ)” และสุดท้ายก็นัดพบกันที่หน้าสโมสรทหารบก เทเวศร์ ตามวันเวลาที่ คสช. เรียก เพื่อเข้ารายงานตัวและถูกกักตัว ถูกสอบสวนในวันต่อมา
สำหรับการเรียกรายงานตัวนั้น กรณีหลังๆ จะเปลี่ยนจากการประกาศทางโทรทัศน์ไปเป็นเอาหมายเรียกไปส่งที่บ้าน ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ถ้าไม่ได้อยู่หรือไม่มีใครอยู่ก็อาจไม่ทราบและอาจถูกเหมาว่าเป็นการฝ่าฝืนคำ สั่ง คสช. ต่อมาก็ได้ จากที่สังเกต คสช. ดำเนินการ 2 แบบคือ 1. ใช้วิธีประกาศชื่อเรียกซ้ำ หรือ 2. ใช้วิธีการขออำนาจศาลออกหมายจับ เช่นกรณี เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา พนักงานสอบสวนกองปราบปราม ได้ขออนุมัติหมายจับจากศาลอาญา 10 คน ที่ไม่ได้มารายงานตัวตามคำสั่ง คสช. เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการประกาศเรียกระบุเพียง ชื่อ-นามสกุล เท่านั้น ทำให้มีผู้ที่เดินทางมารายงานตัวซ้ำ เช่น 'ดวงใจ พวงแก้ว' ซึ่งถูกเรียกตามคำสั่ง คสช. 58/2557 เดินทางมารายงานตัววันที่ 10 มิ.ย. ซ้ำถึง 4 คน หรือวันก่อนหน้านี้ผู้มีชื่อ ‘จรรยา ยิ้มประเสริฐ’ มารายงานตัวเช่นกัน แต่เป็นคนละคนกับที่ คสช.ต้องการเรียกตัว เป็นต้น
- เสียงสามัญ
วันนั้นเป็นวันอาทิตย์ แต่ไม่ใช่วันหยุด เนื่องจากผมยังต้องทำงานตามปกติที่ไม่เป็นเวลา ตามหมายข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นๆ เสร็จจากงานก็ไปออกกำลังกาย แม้จะพกโทรศัพท์มือถือไปด้วย แต่ก็ไม่ได้ยินเสียงสายเข้ามาจำนวนมากจาก คนที่ผมรู้จักเพราะวางไว้ไกลตัว จนกระทั่งออกกำลังกายเสร็จผมก็มาเปิดโทรศัพท์ดู ปรากฏว่ามีเบอร์ทั้งแม่ พ่อ เพื่อนเก่า-ใหม่ เพื่อนร่วมงาน โทรเขามา miss call จำนวนมาก ในใจขณะนั้นคิดว่าต้องเกิดเรื่องแน่นอนเพราะไม่เคยเกิดปรากฏการณ์แบบนี้กับ ตัว แม้แต่วันเกิด, วันขึ้นปีใหม่ก็ไม่มีใครโทรมาจำนวนมากขนาดนี้
จึงไล่ดูความสำคัญ เลือกโทรกลับไปหาแม่ที่อยู่ต่างจังหวัดก่อน ได้ทราบความจริงว่าผมมีชื่ออยู่ในคำสั่งเรียกรายงานตัวของคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ หรือ คสช. สิ่งแรกที่ผมทำขณะนั้นคือปลอบใจแม่และพ่อ พร้อมใส่เสียงหัวเราะของตัวเองไปในสายโทรศัพท์ “โอ้ยยย ไม่มีอะไรหรอกแม่” เพื่อให้ทั้ง 2 ท่านรู้สึกผ่อนคลายหายกังวล โดยที่แม่เล่าว่าคนแถวบ้านตะโกนบอกให้ดูโทรทัศน์จึงทราบว่ามีชื่อลูกชายตัว เองอยู่ในนั้น
ภายหลังทราบด้วยว่าผลจากการประกาศชื่อออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ นี้ สร้างความรับรู้ของคนจำนวนมาก โดยเฉพาะกับคนที่รู้จัก มีคนมาพูดกับแม่ผมในทำนองว่าลูกไปก่ออาชญากรรมอะไร เขาถึงได้ประกาศเรียกผ่านโทรทัศน์ขนาดนั้น แม่ผมก็เลยสวนไปว่า “ลูกฉันไม่ได้ไปทำผิดหรือฆ่าคนอะไร คงแค่คิดต่างเขาก็เท่านั้น” ผมได้ถามแม่ไปหลังจากนั้นด้วยว่าแม่รู้สึกอายและกังวลไหมที่เป็นแบบนี้ ผมก็ได้รับคำตอบที่ทำให้ผมสบายใจคือ แม่ผมไม่ได้กังวลอะไร เพราะเชื่อว่าผมไม่ได้ทำผิดอะไร ไม่ได้ก่ออาชญากรรม
อย่างไรก็ตาม นอกจากความสนใจของชาวบ้านที่พุ่งตรงมาหาแม่ผมแล้ว ยังมีความสนใจจากหน่วยความมั่นคงของจังหวัด ที่มาหาแม่ผมพร้อมทำประวัติแม่-พ่อ และซักถามถึงประวัติของผม มีการถ่ายรูป 4 ด้านของแม่ผมด้วย นี่เป็นการสร้างแรงกดดันมากที่สุดที่ส่งผลให้ผมต้องไปรายงานตัวให้ทันตามวัน เวลาที่ คสช. ระบุไว้
ในคำสั่งเรียกรายงานตัวของ คสช. เดียวกันนั้น นอกจากผมแล้ว ยังมีเพื่อนที่เคยทำกิจกรรมร่วมกันมาในอดีต รวมทั้งรายชื่อคนที่ผมรู้จักจำนวนหนึ่ง แต่นั้นก็ไม่ได้ทำให้ผมคาดการณ์ได้ว่า “เขาเรียกผมไปรายงานตัวทำไมวะ(ครับ)” ด้วยภาวะที่เดาไม่ได้ ว่าเป็นเพราะกิจกรรมที่ทำในอดีต หรืองานสื่อที่ทำในปัจจุบัน หรืออะไร ส่งผมให้ผมเลือกที่จะปิดช่องทางการสื่อสารหรือช่องทางการบันทึกประวัติการทำ กิจกรรมผมสิ่งแรกคือ ‘facebook’ รวมทั้งถูกเพื่อนถีบออกจากกลุ่มสนทนาทางการเมืองต่างๆในเฟซบุ๊ก เหลือไว้ใช้เพียงบัญชีที่โพสต์แต่เรื่องทั่วไป เรื่องการเมืองที่ไม่มีข้อความต่อต้าน คสช. ผลกระทบจากการกระโดดและถูกถีบออกจากกลุ่มสนทนาเหล่านั้นมีผลมาถึงปัจจุบัน นี้ ทำให้ผมตามความเคลื่อนไหวเพื่อรายงานข่าวได้ยากขึ้นด้วย
เนื่องจากประกาศเรียกรายงานตัว เว้นช่องว่างให้ผมได้เตรียมตัวอย่างน้อย 2 วัน ทำให้มีโอกาสได้ปรึกษาและวิเคราะห์กับเพื่อนที่อยู่ในลิสต์เรียกรายงานตัว ด้วย เพื่อประเมินว่า “ตกลงเขาเรียกพวกเราเพราะอะไรวะ(ครับ)” และสุดท้ายก็นัดพบกันที่หน้าสโมสรทหารบก เทเวศร์ ตามวันเวลาที่ คสช. เรียก เพื่อเข้ารายงานตัวและถูกกักตัว ถูกสอบสวนในวันต่อมา
สำหรับการเรียกรายงานตัวนั้น กรณีหลังๆ จะเปลี่ยนจากการประกาศทางโทรทัศน์ไปเป็นเอาหมายเรียกไปส่งที่บ้าน ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ถ้าไม่ได้อยู่หรือไม่มีใครอยู่ก็อาจไม่ทราบและอาจถูกเหมาว่าเป็นการฝ่าฝืนคำ สั่ง คสช. ต่อมาก็ได้ จากที่สังเกต คสช. ดำเนินการ 2 แบบคือ 1. ใช้วิธีประกาศชื่อเรียกซ้ำ หรือ 2. ใช้วิธีการขออำนาจศาลออกหมายจับ เช่นกรณี เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา พนักงานสอบสวนกองปราบปราม ได้ขออนุมัติหมายจับจากศาลอาญา 10 คน ที่ไม่ได้มารายงานตัวตามคำสั่ง คสช. เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการประกาศเรียกระบุเพียง ชื่อ-นามสกุล เท่านั้น ทำให้มีผู้ที่เดินทางมารายงานตัวซ้ำ เช่น 'ดวงใจ พวงแก้ว' ซึ่งถูกเรียกตามคำสั่ง คสช. 58/2557 เดินทางมารายงานตัววันที่ 10 มิ.ย. ซ้ำถึง 4 คน หรือวันก่อนหน้านี้ผู้มีชื่อ ‘จรรยา ยิ้มประเสริฐ’ มารายงานตัวเช่นกัน แต่เป็นคนละคนกับที่ คสช.ต้องการเรียกตัว เป็นต้น
- เสียงสามัญ
No comments:
Post a Comment