เมื่อ
วันที่ 22 พ.ค. มีประกาศกฎอัยการศึก
ทำให้มีโทรศัพท์หากันวุ่นวายและคุยกันเรื่องชุมนุมประท้วงต้านกฎอัยการศึก
ทันทีและพวกเราก็ได้ทำกิจกรรมต้านกฎอัยการศึก
เพราะเชื่อว่าคงจะรัฐประหารแน่นอน!!
แล้วก็เป็นจริง มีประกาศรัฐประหารตามตามมา และต้องประกาศ เรียกรายงานตัว ซึ่งก็จริงตามความคิด โดยมีประกาศเรียกรายงานตัวมีคนรู้จักทั้งนั้นเลย ขณะนั้นรู้สึกเป็นห่วงทุกคน ยิ่งคนไหนสนิทมากก็จะกังวลมาก และได้มีโอกาสโทรกลับไปหาเพื่อนๆเพื่อสอบถามถึงสถานการณ์
ทำให้เริ่มติดตามข่าวการชุมนุมต้านรัฐประหารอย่างใกล้ชิดแบบไม่หลับไม่นอน เลย เพราะประเมินไม่ได้เลยว่าจะเรียกใครไปรายงานตัวบ้าง ไม่รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของ คสช.คือใครบ้าง จากการติดตามข่าวก็รู้แต่เฉพาะคนที่เป็นข่าวเท่านั้น ส่วนคนสนิทที่ถามจากญาติทุกคนที่ไปรายงานตัวกลับออกมาก็จะติดต่อไม่ได้ เพื่อนสนิทบางคนก็หายตัวไปติดต่อไม่ได้ ทราบอีกทีก็เห็นว่าถูกทหารจับตัวไปแล้ว ยิ่งทำให้ไม่รู้สถานการณ์ว่าความเป็นจริงมันเป็นอย่างไรกันแน่
จากนั้นเริ่มเห็นข่าวจับกุมผู้ออกไปต้านรัฐประหารตามที่ต่างๆ รวมถึงการประกาศออกมาควบคุมผู้ชุมนุมมากขึ้น ผู้ถูกเรียกรายงานตัวที่เข้าแล้วไม่มีข่าวออกมาว่าเป็นอย่างไรและไม่ทราบ จำนวนคนว่าไปรายตัวมากน้อยแค่ไหน ทำให้มีแต่ข่าวลือว่าไปรายงานตัวแล้วถูกทำร้ายร่างกายจนตาย บางคนไม่ไปรายงานตัวหนี มีข่าวลือเหล่าออกมาเป็นระยะผ่านเฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นข้อมูลที่เช็คไม่ได้เลยว่าจริงหรือไม่
นอกจากนี้ยังมีข่าวลือเรื่องการปิดเฟซบุ๊ก การแฮกข้อมูลส่วนตัวทางไลน์ ทางเฟซบุ๊กของกลุ่มคนที่ทาง คสช. ต้องการข้อมูลในเรื่องต่างๆ ทำให้มีคนเตือนว่าให้ลบข้อมูลที่แชทหลังไมค์กับคนอื่นออกให้หมด รวมทั้งมีคำเตือนว่าสำหรับคนที่โดนเรียกรายงานตัวด้วยว่าอาจจะต้องลบข้อมูล หรือปิดเฟซบุ๊กไปเลย
ข่าวลือเกี่ยวกับความรุนแรงต่อคนที่ถูกเรียกไปรายงานตัวมากมาย เช่น เข้าไปรายงานตัวแล้วไม่ทราบชะตากรรม เข้าไปแล้วญาติพี่น้องไม่ทราบทหารเอาไปไว้ที่ไหน ถูกกักตัวกี่วันมีการซ้อมทรมานหรือไม่ เป็นต้น สถานการณ์ตอนนั้นวุ่นวายมาก คนที่ถูกเรียกรายงานตัวต้องหวาดผวากับสถานการณ์ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ ภาพข่าวทหารอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ประกาศเคอร์ฟิว การจับกุมผู้คัดค้าน การเรียกรายงานตัว ยิ่งทำให้เกิดความหดหู่มากขึ้น
ขณะที่ตัวเองก็ยังรอลุ้นว่าจะมีรายชื่อเรียกรายงานตัวหรือไม่ แต่ตอนนั้นก็คิดไว้ว่าอาจจะถูกเรียก บวกกับสอบถามเพื่อนๆ ขณะนั้นมีข่าวลือว่าอาจจะมีการอุ้มหายหรือฆ่าทิ้งหรือเรียกรายงานตัว ขึ้นอยู่กับว่าคนๆ นั้นอยู่ในบัญชีไหน เมื่อทราบแบบนี้ยิ่งคิดก็หวาดกลัวมากขึ้นสำหรับนักกิจกรรมที่ยังไม่มีราย ชื่อเรียกรายงานตัว เมื่อมีประกาศรายงานตัวก็จะติดตามว่ามีชื่อตัวเองหรือเปล่า แต่ขณะนั้นไม่เคยคิดจะวางแผนล่วงหน้าเลยว่าจะไปรายงานตัวหรือไม่
อย่างไรก็ตามอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมามีประกาศเรียกรายงานตัว ขณะนั้นอยู่นอกบ้าน กำลังทำกิจกรรมต้านรัฐประหารอยู่ จึงไม่ทราบข่าวในทันที แต่พอกลับเข้าบ้านแล้วเช็คข้อมูลทางไลน์และเฟซบุ๊กก็ทำให้ทราบข่าว
คำถามแรกที่ถามตัวเองขณะนั้นคือแล้วจะทำอย่างไรต่อไป เพราะที่ผ่านมาไม่เคยวางแผนเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย
เมื่อตั้งสติได้จึงเช็คกับเพื่อนที่โดนเรียกด้วยกันว่าพวกเขาจะไปเข้ารายงาน ตัวหรือไม่ พร้อมทั้งประเมินถึงสาเหตุที่เรียกพวกเรา และที่สำคัญก็ประเมินกันต่อว่าจะเป็นประเด็นที่ร้ายแรงหรือไม่ด้วย
เรื่องใหญ่คือถามตัวเองว่าจะไปรายงานตัวหรือไม่ เพราะขณะนั้นยังมีเวลาคิดอีก 3 วัน ก่อนจะถึงกำหนด ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่คิดมากตลอด ประกอบกับพิจารณาจากรายชื่อที่ถูกเรียกรายงานตัวในคำสั่ง คสช. ฉบับเดียวกันนั้นก็เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ มาตรา 112 จึงยิ่งทำให้รู้สึกกังวลมากขึ้น
ขณะนั้นได้ติดต่อครอบครัว ทราบจากพี่สาวด้วยว่ากำนันได้เข้ามาขอข้อมูลส่วนตัวของเรา ว่าทำงานอะไร พาเพื่อนมาบ้านด้วยหรือเปล่า เพื่อนเป็นใครบ้าง มาบ้านบ่อยแค่ไหน เล่าอะไรให้ฟังบ้าง และที่เน้นถามมากๆคือมีแฟนหรือเปล่า เป็นต้น ส่วนตัวก็คิดว่า คสช. มีอำนาจอะไรมาเรียกเรา ถ้าเราไม่ยอมรับอำนาจนั้น โดยไม่ไปรายงานตัวจะเกิดปัญหากับเราอย่างไร กับครอบครัวอย่างไร กับคนรอบข้าง กับธุรกิจที่เราทำอยู่อย่างไร
ถ้าเราไปรายงานตัวเราต้องเจอกับอะไรบ้าง คนอื่นๆ จะมองว่าเราไปยอมรับอำนาจแบบนั้นได้อย่างไร เป็นเรื่องที่ทำให้คิดมาก เริ่มมองคนอื่นๆ ที่เขาไปรายงานตัวว่าเขาต้องเจอกับอะไรบ้าง รวมไปถึงคิดเรื่องการอยู่ต่างประเทศจะทำอะไรได้ มากน้อยแค่ไหน จะมีคนสนใจเข้าร่วมหรือเปล่า จะมีการรวมกลุ่มคนในต่างประเทศได้อย่างไร เป็นช่วงที่วุ่นวายในการตัดสินใจมากๆ ในที่สุดแล้วก็ตัดสินใจไปรายงานตัว แต่ขณะนั้นไปรายงานตัวโดยตรงไม่ได้ จึงใช้วิธีการไปรายงานตัวกับหน่อยงานที่เกี่ยวข้อง และทำจดหมายถึง คสช. ผ่านสื่อ แต่ปรากฏว่าหน่วยงานที่เราไปพบไม่ได้สนใจที่จะรับรายงานตัวเราเลย
เพื่อนๆ หลายคนได้เข้ารายงานตัว และเมื่อออกมาก็ได้ติดต่อสอบถามข้อมูลในเรื่องต่างๆ จากนั้นเมื่อได้ข้อมูลก็คิดว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะว่าเรื่องต่างๆ เราน่าจะอธิบายได้ คิดว่าเรื่องสำคัญขณะนั้นคือเรายังมีอะไรที่ต้องทำอีกมาก ทั้งเรื่องงานส่วนรวม งานส่วนตัว
แต่หลังจากเรียกรายงานตัวได้ 3 วัน กลับมีหมายจับตามมาอีก ทำให้เรื่องยิ่งซับซ้อน การตัดสินใจยากขึ้น ยิ่งคิดมากขึ้น จึงวางแผนติดต่อเพื่อนทุกคนที่ไว้วางใจเพื่อประเมินสถานการณ์ทั้งทางกฎหมาย และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงติดต่อเพื่อนในต่างประเทศเกี่ยวกับการลี้ภัย ประเมินความเป็นไปได้ทั้งหมด และสอบถามถึงสภาพชีวิตความเป้นอยู่ของผู้ลี้ภัย มีขั้นตอนอะไรบ้าง คนที่รับรองเข้าเมืองจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง ญาติพี่น้อง เพื่อน ธุรกิจ ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ได้นำข้อมูลจากทุกส่วนมานั่งคิดวิเคราะห์ ยิ่งทำให้รู้สึกสับสนมาก รวมถึงประเมินว่าถ้าติดคุกจะได้อะไรจากการติดคุก เราพร้อมจะเจอปัญหาหรือยัง เงินประกันตัวต้องหาจากไหน เป็นเงินเท่าไหร่ ใครจะเป็นทนาย ถ้าทำเรื่องลี้ภัยต้องทำแบบไหนใครจะเข้ามาช่วยได้บ้าง ทำข้อมูลเพื่อนในต่างประเทศทั้งหมดที่จะช่วยเหลือเราได้
สุดท้ายจึงตัดสินใจเดินหน้าเข้ามอบตัว แต่ระหว่างวันก็ยังคิดว่าถ้ามีปัจจัยอื่นแทรกแซงเข้ามา เช่น มีการอุ้มฆ่า คนหาย คนตายยิงกราด กวาดจับไม่เลือกหน้า เป็นต้น เราก็จะเปลี่ยนใจ แต่เท่าที่ตามสถานการณ์ไม่ได้เกิดความรุนแรงแบบนั้น เมื่อตัดสินใจแล้วก็เตรียมแผนที่จะเผชิญต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็เตรียมรับ มือ ช่วงของการตัดสินใจนั้นเราใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจทั้งหมด ข้อมูลจากคนอื่นๆเป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น การให้กำลังใจ คำแนะนำต่างๆ ในช่วงนั้น ทำให้คิดว่าถ้าเราทำงานกันแบบปัจเจกและไม่มีขบวนการในการต่อต้าน เราจะโดดเดี่ยวและที่สุดเราก็คงจะต้องคิดเรื่องทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตรอดไป วันๆ เท่านั้น
เป็นความรู้สึกที่ตัดสินใจยากลำบากมากที่สุดเท่าที่เจอมา มันเป็นเรื่องใหญ่มาก แต่เราก็ผ่านการตัดสินใจนั้นมาแล้ว เราเลือกที่จะเดินเข้าไปเผชิญปัญหาทุกอย่าง...
- แอนน์ แฟรงค์ อ่านต่อ ตอนที่ 2
แล้วก็เป็นจริง มีประกาศรัฐประหารตามตามมา และต้องประกาศ เรียกรายงานตัว ซึ่งก็จริงตามความคิด โดยมีประกาศเรียกรายงานตัวมีคนรู้จักทั้งนั้นเลย ขณะนั้นรู้สึกเป็นห่วงทุกคน ยิ่งคนไหนสนิทมากก็จะกังวลมาก และได้มีโอกาสโทรกลับไปหาเพื่อนๆเพื่อสอบถามถึงสถานการณ์
ทำให้เริ่มติดตามข่าวการชุมนุมต้านรัฐประหารอย่างใกล้ชิดแบบไม่หลับไม่นอน เลย เพราะประเมินไม่ได้เลยว่าจะเรียกใครไปรายงานตัวบ้าง ไม่รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของ คสช.คือใครบ้าง จากการติดตามข่าวก็รู้แต่เฉพาะคนที่เป็นข่าวเท่านั้น ส่วนคนสนิทที่ถามจากญาติทุกคนที่ไปรายงานตัวกลับออกมาก็จะติดต่อไม่ได้ เพื่อนสนิทบางคนก็หายตัวไปติดต่อไม่ได้ ทราบอีกทีก็เห็นว่าถูกทหารจับตัวไปแล้ว ยิ่งทำให้ไม่รู้สถานการณ์ว่าความเป็นจริงมันเป็นอย่างไรกันแน่
จากนั้นเริ่มเห็นข่าวจับกุมผู้ออกไปต้านรัฐประหารตามที่ต่างๆ รวมถึงการประกาศออกมาควบคุมผู้ชุมนุมมากขึ้น ผู้ถูกเรียกรายงานตัวที่เข้าแล้วไม่มีข่าวออกมาว่าเป็นอย่างไรและไม่ทราบ จำนวนคนว่าไปรายตัวมากน้อยแค่ไหน ทำให้มีแต่ข่าวลือว่าไปรายงานตัวแล้วถูกทำร้ายร่างกายจนตาย บางคนไม่ไปรายงานตัวหนี มีข่าวลือเหล่าออกมาเป็นระยะผ่านเฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นข้อมูลที่เช็คไม่ได้เลยว่าจริงหรือไม่
นอกจากนี้ยังมีข่าวลือเรื่องการปิดเฟซบุ๊ก การแฮกข้อมูลส่วนตัวทางไลน์ ทางเฟซบุ๊กของกลุ่มคนที่ทาง คสช. ต้องการข้อมูลในเรื่องต่างๆ ทำให้มีคนเตือนว่าให้ลบข้อมูลที่แชทหลังไมค์กับคนอื่นออกให้หมด รวมทั้งมีคำเตือนว่าสำหรับคนที่โดนเรียกรายงานตัวด้วยว่าอาจจะต้องลบข้อมูล หรือปิดเฟซบุ๊กไปเลย
ข่าวลือเกี่ยวกับความรุนแรงต่อคนที่ถูกเรียกไปรายงานตัวมากมาย เช่น เข้าไปรายงานตัวแล้วไม่ทราบชะตากรรม เข้าไปแล้วญาติพี่น้องไม่ทราบทหารเอาไปไว้ที่ไหน ถูกกักตัวกี่วันมีการซ้อมทรมานหรือไม่ เป็นต้น สถานการณ์ตอนนั้นวุ่นวายมาก คนที่ถูกเรียกรายงานตัวต้องหวาดผวากับสถานการณ์ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ ภาพข่าวทหารอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ประกาศเคอร์ฟิว การจับกุมผู้คัดค้าน การเรียกรายงานตัว ยิ่งทำให้เกิดความหดหู่มากขึ้น
ขณะที่ตัวเองก็ยังรอลุ้นว่าจะมีรายชื่อเรียกรายงานตัวหรือไม่ แต่ตอนนั้นก็คิดไว้ว่าอาจจะถูกเรียก บวกกับสอบถามเพื่อนๆ ขณะนั้นมีข่าวลือว่าอาจจะมีการอุ้มหายหรือฆ่าทิ้งหรือเรียกรายงานตัว ขึ้นอยู่กับว่าคนๆ นั้นอยู่ในบัญชีไหน เมื่อทราบแบบนี้ยิ่งคิดก็หวาดกลัวมากขึ้นสำหรับนักกิจกรรมที่ยังไม่มีราย ชื่อเรียกรายงานตัว เมื่อมีประกาศรายงานตัวก็จะติดตามว่ามีชื่อตัวเองหรือเปล่า แต่ขณะนั้นไม่เคยคิดจะวางแผนล่วงหน้าเลยว่าจะไปรายงานตัวหรือไม่
อย่างไรก็ตามอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมามีประกาศเรียกรายงานตัว ขณะนั้นอยู่นอกบ้าน กำลังทำกิจกรรมต้านรัฐประหารอยู่ จึงไม่ทราบข่าวในทันที แต่พอกลับเข้าบ้านแล้วเช็คข้อมูลทางไลน์และเฟซบุ๊กก็ทำให้ทราบข่าว
คำถามแรกที่ถามตัวเองขณะนั้นคือแล้วจะทำอย่างไรต่อไป เพราะที่ผ่านมาไม่เคยวางแผนเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย
เมื่อตั้งสติได้จึงเช็คกับเพื่อนที่โดนเรียกด้วยกันว่าพวกเขาจะไปเข้ารายงาน ตัวหรือไม่ พร้อมทั้งประเมินถึงสาเหตุที่เรียกพวกเรา และที่สำคัญก็ประเมินกันต่อว่าจะเป็นประเด็นที่ร้ายแรงหรือไม่ด้วย
เรื่องใหญ่คือถามตัวเองว่าจะไปรายงานตัวหรือไม่ เพราะขณะนั้นยังมีเวลาคิดอีก 3 วัน ก่อนจะถึงกำหนด ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่คิดมากตลอด ประกอบกับพิจารณาจากรายชื่อที่ถูกเรียกรายงานตัวในคำสั่ง คสช. ฉบับเดียวกันนั้นก็เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ มาตรา 112 จึงยิ่งทำให้รู้สึกกังวลมากขึ้น
ขณะนั้นได้ติดต่อครอบครัว ทราบจากพี่สาวด้วยว่ากำนันได้เข้ามาขอข้อมูลส่วนตัวของเรา ว่าทำงานอะไร พาเพื่อนมาบ้านด้วยหรือเปล่า เพื่อนเป็นใครบ้าง มาบ้านบ่อยแค่ไหน เล่าอะไรให้ฟังบ้าง และที่เน้นถามมากๆคือมีแฟนหรือเปล่า เป็นต้น ส่วนตัวก็คิดว่า คสช. มีอำนาจอะไรมาเรียกเรา ถ้าเราไม่ยอมรับอำนาจนั้น โดยไม่ไปรายงานตัวจะเกิดปัญหากับเราอย่างไร กับครอบครัวอย่างไร กับคนรอบข้าง กับธุรกิจที่เราทำอยู่อย่างไร
ถ้าเราไปรายงานตัวเราต้องเจอกับอะไรบ้าง คนอื่นๆ จะมองว่าเราไปยอมรับอำนาจแบบนั้นได้อย่างไร เป็นเรื่องที่ทำให้คิดมาก เริ่มมองคนอื่นๆ ที่เขาไปรายงานตัวว่าเขาต้องเจอกับอะไรบ้าง รวมไปถึงคิดเรื่องการอยู่ต่างประเทศจะทำอะไรได้ มากน้อยแค่ไหน จะมีคนสนใจเข้าร่วมหรือเปล่า จะมีการรวมกลุ่มคนในต่างประเทศได้อย่างไร เป็นช่วงที่วุ่นวายในการตัดสินใจมากๆ ในที่สุดแล้วก็ตัดสินใจไปรายงานตัว แต่ขณะนั้นไปรายงานตัวโดยตรงไม่ได้ จึงใช้วิธีการไปรายงานตัวกับหน่อยงานที่เกี่ยวข้อง และทำจดหมายถึง คสช. ผ่านสื่อ แต่ปรากฏว่าหน่วยงานที่เราไปพบไม่ได้สนใจที่จะรับรายงานตัวเราเลย
เพื่อนๆ หลายคนได้เข้ารายงานตัว และเมื่อออกมาก็ได้ติดต่อสอบถามข้อมูลในเรื่องต่างๆ จากนั้นเมื่อได้ข้อมูลก็คิดว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะว่าเรื่องต่างๆ เราน่าจะอธิบายได้ คิดว่าเรื่องสำคัญขณะนั้นคือเรายังมีอะไรที่ต้องทำอีกมาก ทั้งเรื่องงานส่วนรวม งานส่วนตัว
แต่หลังจากเรียกรายงานตัวได้ 3 วัน กลับมีหมายจับตามมาอีก ทำให้เรื่องยิ่งซับซ้อน การตัดสินใจยากขึ้น ยิ่งคิดมากขึ้น จึงวางแผนติดต่อเพื่อนทุกคนที่ไว้วางใจเพื่อประเมินสถานการณ์ทั้งทางกฎหมาย และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงติดต่อเพื่อนในต่างประเทศเกี่ยวกับการลี้ภัย ประเมินความเป็นไปได้ทั้งหมด และสอบถามถึงสภาพชีวิตความเป้นอยู่ของผู้ลี้ภัย มีขั้นตอนอะไรบ้าง คนที่รับรองเข้าเมืองจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง ญาติพี่น้อง เพื่อน ธุรกิจ ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ได้นำข้อมูลจากทุกส่วนมานั่งคิดวิเคราะห์ ยิ่งทำให้รู้สึกสับสนมาก รวมถึงประเมินว่าถ้าติดคุกจะได้อะไรจากการติดคุก เราพร้อมจะเจอปัญหาหรือยัง เงินประกันตัวต้องหาจากไหน เป็นเงินเท่าไหร่ ใครจะเป็นทนาย ถ้าทำเรื่องลี้ภัยต้องทำแบบไหนใครจะเข้ามาช่วยได้บ้าง ทำข้อมูลเพื่อนในต่างประเทศทั้งหมดที่จะช่วยเหลือเราได้
สุดท้ายจึงตัดสินใจเดินหน้าเข้ามอบตัว แต่ระหว่างวันก็ยังคิดว่าถ้ามีปัจจัยอื่นแทรกแซงเข้ามา เช่น มีการอุ้มฆ่า คนหาย คนตายยิงกราด กวาดจับไม่เลือกหน้า เป็นต้น เราก็จะเปลี่ยนใจ แต่เท่าที่ตามสถานการณ์ไม่ได้เกิดความรุนแรงแบบนั้น เมื่อตัดสินใจแล้วก็เตรียมแผนที่จะเผชิญต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็เตรียมรับ มือ ช่วงของการตัดสินใจนั้นเราใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจทั้งหมด ข้อมูลจากคนอื่นๆเป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น การให้กำลังใจ คำแนะนำต่างๆ ในช่วงนั้น ทำให้คิดว่าถ้าเราทำงานกันแบบปัจเจกและไม่มีขบวนการในการต่อต้าน เราจะโดดเดี่ยวและที่สุดเราก็คงจะต้องคิดเรื่องทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตรอดไป วันๆ เท่านั้น
เป็นความรู้สึกที่ตัดสินใจยากลำบากมากที่สุดเท่าที่เจอมา มันเป็นเรื่องใหญ่มาก แต่เราก็ผ่านการตัดสินใจนั้นมาแล้ว เราเลือกที่จะเดินเข้าไปเผชิญปัญหาทุกอย่าง...
- แอนน์ แฟรงค์ อ่านต่อ ตอนที่ 2
No comments:
Post a Comment