Wednesday, March 18, 2015

เพราะทุกครั้ง พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย มอบ ("พระราชทาน")

ที่ ทหารทำรัฐประหารได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยไม่เคยถูกลงโทษ ก็เพราะทุกครั้ง พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย มอบ ("พระราชทาน") ความชอบธรรมให้กับการรัฐประหารเหล่านั้นทุกครั้งไป

และดังนั้น ความรับผิดชอบของการที่คณะรัฐประหารได้อำนาจอย่างผิดกฎหมายจึงอยู่ที่สถาบันกษัตริย์ด้วย
นี่ไมใช่ผมเสนอเองด้วยซ้ำ แต่คือนัยยะของ "ทฤษฎีบวรศักดิ์" ที่รู้จักกันดีในวงการกฎหมายมหาชน (แน่นอน บวรศักดิ์โง่เกินกว่าจะคิดถึงนัยยะนี้ และที่สำคัญ ในเมือเขาเสนอภายใต้ภาวะที่มี ๑๑๒ คุมอยู่ จึงไม่มีใครในประเทศไทยสามารถพูดถึงนัยยะนี้อย่างตรงๆออกมาได้)
คือบวรศักดิ์เสนอว่า ก่อนรัฐประหาร อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์และประชาชนร่วมกัน ไมใช่ของประชาชนเท่านั้น ตามระบอบประชาธิปไตยที่เข้าใจกันทางสากล บวรศักดิ์เขียนว่า (กฎหมายมหาชน เล่ม ๒ ฉบับพิมพ์ปี ๒๕๕๐ หน้า ๑๘๒-๑๘๓)
"...ในทางกฎหมาย เมื่อมีการรัฐประหารเลิกรัฐธรรมนูญ ก็ต้องถือว่าอำนาจอธิปไตยที่เคยพระราชทานให้ปวงชนนั้นกลับคืนมายังพระมหา กษัตริย์ผู้ทรงเป็นเจ้าของเดิมมาก่อน ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ .... [เมื่อเกิดรัฐประหาร] ระดับสูงสุดคือสถาบันพระมหากษัตริย์ยังดำรงอยู่ และยังทรงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่กลับคืนมาเป็นของพระองค์ด้วย .."
ดังนั้น โดยนัยยะของ "ทฤษฎี" ของบวรศักดิ์เอง การที่พระมหากษัตย์ลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งคณะรัฐประหารและให้อำนาจการปกครอง แก่ระบอบรัฐประหาร (ล่าสุดคือ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯตั้งประยุทธ เป็นหัวหน้า คสช เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และลงพระปรมาภิไธย ให้ธรรมนูญของ คสช เมื่อวันที่ ่๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗)
จึงเป็นการใช้อำนาจของพระองค์ล้วนๆ (ตามทฤษฎีบวรศักดิ์เอง - คือจะอ้างว่า มีหัวหน้า รปห ลงนามรับสนองก็ไม่ได้ เพราะตาม "ทฤษฎี" ของบวรศักดิ์ อำนาจอธิปไตยไม่ได้อยู่กับคณะรัฐประหาร เขาเขียนเองว่า "ส่วนคณะรัฐประหารไม่ใช่เจ้าของอำนาจอธิปไตย" ดังนั้น คณะรัฐประหารไม่มีอำนาจทางกฎหมายใดๆที่จะอ้างในการลงนามรับผิดชอบการตั้ง ระบอบการปกครองนี้ได้ เพราะอำนาจเป็นของกษัตริย์ล้วนๆ)
จึงต้องถือเป็นความรับผิดชอบของสถาบันกษัตริย์ ทีทุกวันนี้ คณะรัฐประหารอยู่ในอำนาจและอ้างความชอบธรรมในการใช้อำนาจอยู่ได้
Read More »