หนังสือ การเมืองในอนุสวรีย์ท้าวสุรนารี-สายพิณ แก้วงามประเสริฐ (ต้องห้าม)
วิทยานิพนธ์ "ภาพลักษณ์ท้าวสุรนารีในประวัตติศาสตร์ไทย"เป็นงานวิจัยที่ได้รับรางวัล วิทยานิพนธ์ดีเด่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2536 และต่อมาในปี พ.ศ. 2539 สำนักพิมพ์มติชนก็ได้นำมาปรับปรุงและเรียบเรียง แล้วตีพิมพ์ออกจำหน่ายในชื่อของ "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" งานชิ้นนี้ของ สายพิน แก้วประเสริฐ
ได้ตั้งคำถามที่สำคัญยิ่ง ต่อความเชื่อถึงการมีอยู่ของ ท้าวสุรนารีว่า เป็นความจริงมากน้อยเพียงใด ด้วยคำถามใหม่ๆ เช่น ทำไมจึงต้องเร่งสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นในปี พ.ศ. 2477, ทำไมต้องเร่งเปิดอนุสาวรีย์ทั้งที่ยังเป็นเพียงรูปปูนปลาสเตอร์แล้วทาสีทอง ทับเท่านั้น, เหตุใดจึงต้องเปลี่ยนท่าทางของท้าวสุรนารี
จากคำถามเหล่านี้
สายพินได้เริ่มค้นหาคำตอบด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์จนพบว่า
วีรกรรมของท้าวสุรนารีถูกนำมาใช้เพื่อเป็นเป้าประสงค์ทางการเมือง ในทศวรรษ
2470
และนั่นคือที่มาที่ทำให้ท้าวสุรนารีเป็นสามัญชนคนแรกที่ทางการสร้าง
อนุสาวรีย์ให้
การตีพิมพ์หนังสือดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสต่อต้านจากชาวโคราชเป็นจำนวนมาก เนื่องจากงานดังกล่าวเป็นการตั้งคำถามที่สั่นคลอนความเชื่อของชาวจังหวัด นครราชสีมาเป็นอย่างยิ่ง จนก่อให้เกิดการประท้วงที่ส่งผลให้ทางสำนักพิมพ์มติชน ต้องตัดสินใจเก็บหนังสือดังกล่าวออกจากตลาดไปในที่สุด ในขณะที่ผู้เขียนซึ่งเป็นครู ก็ถูกย้ายจากโรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา อำเภอปักธงชัย จ. นครราชสีมาด้วยเช่นกัน
ที่น่าสังเกตุคือ งานชิ้นดังกล่าวนี้เมื่อขณะที่ยังเป็นวิทยานิพนธ์อยู่ในมหาวิทยาลัยนั้น ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่เมื่อกลายเป็นหนังสือเล่มที่วางขายในท้องตลาดกลับก่อให้เกิดความขัดแย้ง รุนแรง สิ่งที่น่าตั้งคำถามคือ สาเหตุเป็นเพราะหนังสือเล่มนี้อยู่ผิดที่ผิดทาง หรือเป็นเพราะอยู่ในสังคมที่ไม่ยอมรับความเชื่อที่แตกต่าง และพร้อมที่จะจัดการกับความเชื่อที่แตกต่างด้วยกำลังกันแน่
https://www.mediafire.com/…/การเมืองในท้าวสุรนารี-สายพิน_แก…
การตีพิมพ์หนังสือดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสต่อต้านจากชาวโคราชเป็นจำนวนมาก เนื่องจากงานดังกล่าวเป็นการตั้งคำถามที่สั่นคลอนความเชื่อของชาวจังหวัด นครราชสีมาเป็นอย่างยิ่ง จนก่อให้เกิดการประท้วงที่ส่งผลให้ทางสำนักพิมพ์มติชน ต้องตัดสินใจเก็บหนังสือดังกล่าวออกจากตลาดไปในที่สุด ในขณะที่ผู้เขียนซึ่งเป็นครู ก็ถูกย้ายจากโรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา อำเภอปักธงชัย จ. นครราชสีมาด้วยเช่นกัน
ที่น่าสังเกตุคือ งานชิ้นดังกล่าวนี้เมื่อขณะที่ยังเป็นวิทยานิพนธ์อยู่ในมหาวิทยาลัยนั้น ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่เมื่อกลายเป็นหนังสือเล่มที่วางขายในท้องตลาดกลับก่อให้เกิดความขัดแย้ง รุนแรง สิ่งที่น่าตั้งคำถามคือ สาเหตุเป็นเพราะหนังสือเล่มนี้อยู่ผิดที่ผิดทาง หรือเป็นเพราะอยู่ในสังคมที่ไม่ยอมรับความเชื่อที่แตกต่าง และพร้อมที่จะจัดการกับความเชื่อที่แตกต่างด้วยกำลังกันแน่
https://www.mediafire.com/…/การเมืองในท้าวสุรนารี-สายพิน_แก…
This comment has been removed by the author.
ReplyDeleteThis comment has been removed by the author.
ReplyDelete