Thursday, February 26, 2015

หนังสือ ข้อเท็จจริงกรณีสวรรคต รัชกาลที่8 ฉบับสมบูรณ์ - สุพจน์ คนด่านตะกูล(ต้องห้าม)

หนังสือ ข้อเท็จจริงกรณีสวรรคต รัชกาลที่8 ฉบับสมบูรณ์ - สุพจน์ คนด่านตะกูล(ต้องห้าม)


 เป็นหนังสือที่รวบรวมเอกสารลับและ ประกอบคำให้การของพยานทั้ง6ในวันเกิดเหตุ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน และคำวินิจฉัยทางการแพทย์ ซึ่งหาไม่ได้จากหนังสือเล่มใดที่เกี่ยวกับกรณีสวรรคต

http://www.mediafire.com/…/หนังสือ_ข้อเท็จจริงกรณีสวรรคต_-ส…

เนื่องจากรัชกาลที่ 7 ไม่มีพระอนุชา ไม่มีพระโอรสและธิดา ตามกฎมณเฑียรบาลการสืบราชสันตติวงศ์ จะต้องกระทำโดยการสืบเชื้อพระวงศ์จากวงในสุดออกมา ซึ่งท่านแรกคือ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ แต่เนื่องจากท่านมีแม่เป็นชาวรัสเซีย มีพระชายา(ภรรยา)เป็นชาวอังกฤษ เป็นการผิดกฎมณเฑียรบาล จึงไม่สามารถขึ้นมาเป็นกษัตริย์ได้ องค์ถัดมาคือ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช แต่เนื่องจากมีพระชายา(ภรรยา)เป็นชาวตะวันตก จึงไม่ได้รับเลือกอีกเช่นกัน
ตำแหน่งจึงตกมาอยู่กับพระองค์เจ้าอานันทมหิดลในที่สุดอันที่จริงพระองค์เจ้า อานันทมหิดล และพระองค์เจ้าภูมิพล มีพ่อคือกรมหลวงสงขลานครินทร์กับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ ซึ่งเป็นหญิงสามัญชน ลูกจีน ลูกที่เกิดมาจึงมีศักดิ์เป็นเพียงหม่อมเจ้าเท่านั้น แต่เนื่องจากกรมหลวงสงขลาฯเป็นบิดาทางการแพทย์ สร้างคุณงามความดีไว้มาก รัชกาลที่ 7 จึงโปรดเกล้าฯให้ลูกของกรมหลวงสงขลาเลื่อนฐานันดรศักดิ์เป็นพระองค์เจ้า เพื่อตอบแทนที่กรมหลวงสงขลาฯต้องสิ้นพระชนม์ในวัยหนุ่มฉกรรจ์ในการบุกเบิก การแพทย์ไทย เมื่อครั้งที่พระองค์เจ้าอานันทมหิดลเป็นกษัตริย์ พระองค์มีอายุเพียง 9 พรรษาเท่านั้นและกำลังศึกษาอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ รัชกาลที่ 8 เมื่อทรงพระเจริญวัยขึ้น ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมามาก โดยเฉพาะความรู้ทางด้านการปกครอง ถึงแม้พระองค์จะได้ชื่อว่ามีเชื้อสายกษัตริย์ แต่ก็มีพระราชประสงค์ให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีการปกครองตนเอง อีกทั้งได้รับอิทธิพลจากการสละราชบัลลังก์ของรัชกาลที่ 7 จึงมีพระราชดำริที่จะสละราชสมบัติและเลิกล้มระบบกษัตริย์ เพราะเห็นว่ายุคนี้การเป็นกษัตริย์นั้น เป็นการเอาเปรียบประชาชน และผู้ปกครองประเทศควรมาจากการเลือกตั้ง โดยพระองค์จะลงเล่นการเมืองในระบอบประชาธิปไตยด้วยตนเอง
เรื่องนี้อาจทำให้ราชวงศ์ไม่สบายพระทัยมาก ทำให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นได้ เหตุการณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ รัชกาลที่ 8 ทรงเห็นด้วยกับความคิดในการปรับปรุงประเทศของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเคยเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่ระยะหนึ่ง โดยเฉพาะเค้าโครงเศรษฐกิจของชาติที่มีเนื้อหาการจัดระบบสหกรณ์ และการปฏิรูปที่ดินอย่างขนานใหญ่ทั่วประเทศ และเรื่องนี้กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของพวกศักดินาอย่างรุนแรง เพราะพวกศักดินาเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ของประเทศไทย พวกศักดินาจึงใส่ร้ายหาว่า ดร.ปรีดี เป็นภัยต่อสถาบัน
เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์หนุ่มที่เลือดรักชาติแรงกล้าและเห็นใจ ประชาชนเป็นพื้น จึงทรงออกนั่งตุลาการด้วยตนเอง ทั้งยังออกเยี่ยมประชาชน อยู่เนืองๆ เช่น คนจีนที่สำเพ็ง ซึ่งปรากฏว่าชาวจีนถวายความนับถือและจงรักภักดีมาก การออกเยี่ยมตามที่ต่างๆทำให้พระองค์ได้สัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชนอย่างแท้จริง ทำให้ความคิดของพระองค์ ยิ่งขัดแย้งกับพวกศักดินามากขึ้นเป็นลำดับ
ราชวงศ์จึงมีความหวาดประหวั่นและยอมไม่ได้ที่พระองค์มีแนวโน้มว่าอาจจะลาออก หรือยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ อันหมายถึงเกียรติยศชื่อเสียงและผลประโยชน์จำนวนมหาศาล ที่จะดลบันดาลความสุขสบายแก่ตนเองและวงศ์ตระกูลไปตลอดชาติต้องอันตรธานใน พริบตา นอกจากนี้ยังมีข่าวลือความขัดแย้งอื่นๆ ข่าวลือเรื่องการคิดจะแต่งงานใหม่ของราชวงศ์ชั้นสูงที่เป็นหม้ายเมื่อยังสาว รวมถึงข่าวลือเรื่องชู้สาว จนนำไปสู่ความขัดแย้งภายในราชวงศ์ที่เริ่มประทุมากขึ้น และการชิงดีชิงเด่นเพื่ออำนาจและผลประโยชน์อันมหาศาลซึ่งเป็นปกตินิสัยของ พวกศักดินาที่มีมาโดยตลอดหลายชั่วอายุคน...
โดยปกติวิสัยของรัชกาลที่ 8 ชอบสะสมปืนมาก และมีปืนของรัชกาลที่ 8 อยู่กระบอกหนึ่งซึ่งไกปืนอ่อนมาก และราชวงศ์บางท่านชอบเอาปืนไปจี้คนนั้นคนนี้ บางครั้งเอาปืนมาจ่อรัชกาลที่ 8 ทำท่ายิงเล่นๆ จนผู้คนในวังเห็นเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว แต่แล้วสิ่งที่ไม่มีใครคาดฝันก็ได้เกิดขึ้น
เมื่อเวลา 8.30 น. ของวันที่ 9 มิถุนายน 2489...... เสียงปืนดังขึ้น 1 นัด จากห้องบรรทม ชั้นบนของพระที่นั่งบรมพิมาน ต่อจากนั้นอีกไม่กี่นาที นายชิต ยามมหาดเล็ก วิ่งหน้าตื่นไปทูลพระราชชนนีว่า “ ในหลวงทรงยิงพระองค์ ” การสิ้นพระชนม์ของรัชกาลที่ 8 นั้น ศาลอาญา ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา สรุปตรงกันว่า เกิดโดยการลอบปลงพระชนม์ มิใช่การปลงพระชนม์เอง เพราะว่าแผลที่ทำให้พระองค์สวรรคตอยู่ที่หน้าผาก กระสุนทะลุออกทางท้ายทอย ซึ่งแสดงว่าไม่ใช่การฆ่าตัวตาย เพราะผู้ที่อัตวินิบาตกรรม ส่วนมากจะยิงขมับและหัวใจเท่านั้น นอกจากนี้ นายแพทย์ใช้ ยูนิพันธ์ ยังให้ความเห็นว่า แผลของพระองค์เกิดจากการอัตวินิบาตกรรมไม่ได้ เพราะวิถีกระสุนเฉียงลง ผู้ที่ยิงตนเอง ต้องยกด้ามปืน หันปากกระบอกปืนลง เป็นของทำได้ยาก
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่น่าสังเกตดังนี้
1. ผู้ที่ฆ่า คงมิใช่บุคคลอื่นที่อยู่นอกพระที่นั่งบรมพิมาน เพราะว่าได้มีการจัดทหาร ตำรวจวัง ล้อมรอบพระที่นั่งอย่างเข้มงวด รัชกาลที่ 8 สิ้นพระชนม์ในเวลา 9โมงเศษ ซึ่งในเวลานั้นจะมีผู้คนพลุกพล่านบนพระที่นั่ง
แล้วหลังจากที่ถูกยิงแล้ว คณะแพทย์ส่วนใหญ่ได้ตรวจพระศพ และวินิจฉัยว่าแผลที่เกิดจากการยิงห่างจากหน้าผากไม่เกิน 5 ซม. แสดงว่าผู้ที่ยิงต้องเอาปืนกระชับยิงลงไปที่หน้าผาก ทั้งนี้เมื่อตรวจมุ้งของรัชกาลที่ 8 แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีรอยทะลุ แสดงว่าผู้ร้ายต้องเลิกมุ้งออก แล้วจึงเอาปืนจ่อยิงในหลวง โดยที่ “ผู้ที่ยิงต้องเป็นคนรูปร่างสูง แขนยาว” จึงจะทำได้สะดวก เพราะจากขอบเตียงถึงบาดแผลมีระยะห่างกันถึง 66 ซม. ถ้ารูปร่างเล็กแขนสั้นจะทำไม่ได้ จะเห็นว่าถ้าผู้ร้ายเป็นบุคคลอื่น ซึ่งไม่สนิทสนมกับรัชกาลที่ 8 มากๆแล้ว จะกระทำการดังกล่าวไม่ได้เลย เพราะเป็นการเสี่ยงภัยและไม่มีทางสำเร็จ เพราะพระองค์นอนตั้งแต่เวลา3ทุ่มของคืนวันที่ 8 มิ.ย. จนตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าตรู่ของวันที่ 9 มิ.ย. และเข้านอนถึงสองระยะย่อมหลับไม่สนิท เพราะปกติในหลวงไม่เคยตื่นสายกว่า 8.30 น. เลย ดังนั้นถ้ามีคนเลิกมุ้งย่อมมีเสียง เพราะมุ้งมีเหล็กทับอยู่ ทำให้พระองค์ต้องรู้ตัวก่อนที่ผู้ร้ายจะทำการได้
นอกจากนี้ถ้ามีผู้ร้ายภายนอกแอบเข้าไปในห้องบรรทม ก็ต้องเข้าไปในเวลากลางคืนและยิงในเวลานั้นเลย เพราะปลอดคน ทั้งหนีสะดวก มิใช่รอจนเวลาเช้าจึงยิง อันจะทำให้ต้องแอบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลานาน ซึ่งเป็นการเสี่ยงภัยมากกว่า และหากมีผู้ร้ายซ่อนตัวอยู่จริง ย่อมไม่อาจรอดสายตาพระชนนี และมหาดเล็กที่เข้าไปถวายน้ำมันละหุ่งให้รัชกาลที่ 8 ได้
2. ตามธรรมดานั้น ปรากฏในประวัติศาสตร์เสมอมาว่า มีการปลงพระชนม์เพื่อชิงราชสมบัติ ประโยชน์จากการตายของรัชกาลที่ 8 ผู้ที่น่าสงสัยที่สุดก็คือ ผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากกรณีสวรรคต ทั้งในด้านลาภยศและทรัพย์ศฤงคาร
3. คำให้การ มีพิรุธมากเพราะ-ทุกคนที่อยู่ในพระที่นั่งได้ยินเสียงปืนดังสนั่น ทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีแต่พระอนุชา (รัชกาลที่9) และพระชนนีเท่านั้นที่ไม่ได้ยินเสียงปืน
-พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ (ภายหลังได้เป็นท้าวอินทรสุริยา) นักเรียนพยาบาลรุ่นเดียวกับพระชนนี ให้การว่า ตนอยู่ในห้องพระอนุชา (รัชกาลที่ 9 ) 20 นาที ก่อนมีเสียงปืน และไม่พบพระอนุชา(รัชกาลที่9) ในห้องนั้นเลย
-พระอนุชา(รัชกาลที่ 9)บอกให้กรมขุนชัยนาทฯ ฟังว่า ขณะที่ผู้ร้ายยิงปืนนั้น ตนเองอยู่ในห้องของตน ขัดแย้งกับคำให้การของพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ ซึ่งอยู่ในห้องของพระองค์ในขณะนั้น
- นายเวศน์ สุนทรวัฒน์ มหาดเล็กหน้าห้องพระอนุชา (รัชกาลที่ 9)ให้การว่า แม้ห้องนอนของพระอนุชา มีประตูติดกับห้องเครื่องเล่น แต่ประตูนี้ปิดตายตลอดเวลา ถ้าพระอนุชา ต้องการจะเข้าห้องเครื่องเล่น จะต้องเข้าทางประตูด้านหน้าของห้องเครื่อง มิใช่เข้าทางประตูด้านหลังซึ่งติดต่อกับห้องของพระอนุชา
การที่พระอนุชา (รัชกาลที่ 9) ให้การว่าตนเข้าๆ ออกๆ ระหว่างห้องเครื่องเล่นกับห้องนอนตนเองนั้นน่าจะเป็นพิรุธ โดยปกติเมื่อ กินข้าวเช้าอิ่ม ท่านอาจจะเดินไปถึงหน้าห้องบรรทมของในหลวง(รัชกาลที่ 8) ก่อนเสียงปืนไม่นานนักและเข้าไปในห้องนั้น โดยที่นายชิตและบุศย์มิได้ห้ามปราม เพราะตามคำให้การของพระพี่เลี้ยงเนื่องนั้น ปรากฏว่าพี่น้องคู่นี้นั้น ถ้าผู้ใดตื่นก่อน มักจะเข้าไปยั่วเย้าอีกคนหนึ่งให้ตื่น ฉะนั้นนายชิตและบุศย์ ย่อมไม่สงสัยว่าเหตุใดพระอนุชาจึงเข้าไปในห้องในหลวง
ปัญหาสุดท้ายก็คือ จะเป็นเรื่องอุบัติเหตุได้หรือไม่ ไม่น่าจะเป็นอุบัติเหตุ เพราะถ้าเป็นการเอาปืนล้อกันเล่น ก็ไม่น่าจะถึงกับเอาปืนจ่อกระชับเข้าไปที่หน้าผากเป็นอันขาด ( ตามการตรวจแผลของนายแพทย์สุด แสงวิเชียร ) เพราะน่าจะย่อมรู้เหมือนกับคนอื่นทั่วไปว่า ปืนกระบอกนั้นไกอ่อน ถ้ากระชับปืนเข้าที่หน้าผากขนาดนั้น ย่อมเป็นการเสี่ยงภัยจนเกินไป สำหรับคำให้การของนายฉลาด เทียมงามสัจ ที่เฝ้าเครื่องเสวยอยู่มุขหน้านั้น เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการโกหกของตนเอง นายฉลาดยอมรับในศาลว่า ตั้งแต่ถูกเรียกตัวไปสอบสวน ก็ได้เบี้ยเลี้ยงจากสันติบาลวันละ 3 บาท นอกจากนี้หลังจากที่ถูกปลดจากสำนักราชวัง ฐานหย่อนความสามารถเมื่อเดือน ม.ค. 2491 ก็ยังได้รับการบรรจุเข้าทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความสนับสนุนของพนักงานสอบสวน ข้อที่ชี้ชัดได้ว่านายฉลาดโกหกก็คือ การที่นายฉลาด บอกว่าไม่เห็นผู้ร้ายวิ่งออกจากห้องบรรทมเลย นี่เป็นการโกหกชัดๆ เพราะเมื่อมีการปลงพระชนม์เกิดขึ้นแล้ว ผู้ร้ายที่ไหนจะยอมอยู่เป็นเหยื่อในห้องบรรทม จะต้องวิ่งหนีออกจากห้องนั้น
ส่วนนายชิตกับนายบุศย์นั้น ตกอยู่ในฐานะน้ำท่วมปาก พูดมากไม่ได้ เพราะการฟ้องร้องคดีสวรรคตนี้เกิดขึ้นหลังจากที่พวกทหารก่อรัฐประหารล้มล้าง รัฐบาลเลือกตั้ง ผลจากรัฐประหารทำให้พระพินิจชนคดี ซึ่งเป็นพวกของฝ่ายศักดินาได้เป็นอธิบดีกรมตำรวจ และดำเนินการสอบสวน นายชิตเองถูกฉีดยาให้เคลิบเคลิ้ม ถูกขู่เข็ญสารพัด ทั้งคู่รู้ดีว่า พวกศักดินาและพระพินิจฯ จะต้องเล่นงานพวกนายปรีดี พนมยงค์ให้ได้ โดยใช้กรณีสวรรคตเป็นเครื่องมือ ฉะนั้นถึงตนพูดความจริง ก็ไม่มีประโยชน์ ซ้ำจะเป็นอันตรายถึงครอบครัว จึงยอมสงบปาก หวังที่จะได้รับความเมตตาของศาล และอย่างน้อยที่สุด ทั้งคู่น่าจะได้รับคำรับรองจากศักดินาว่า ถ้าศาลตัดสินประหารชีวิต น่าจะได้รับการอภัยโทษ แต่เป็นที่น่าเสียใจที่ นายชิตและนายบุศย์ไม่ได้รับความปรานีแต่อย่างใด หลังจากที่เขาถูกตัดสินประหารชีวิต แม้จะถวายฎีกา ก็ไม่ได้รับการพิจารณา
จอมพล ป. เล่าว่าตนเอง ได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึง 3 ครั้ง แต่ท่าน ( รัชกาลที่ 9 ) ไม่ทรงโปรด อย่างไรก็ดี พวกศักดินาก็ฉลาดพอที่จะส่งเงินอุดหนุนจุนเจือ ครอบครัวผู้ถูกประหารชีวิตเสมอมา เพื่อป้องกันมิให้ครอบครัวผู้สิ้นชีวิตโวยวาย ซึ่งเรื่องนี้ นายปรีดี พนมยงค์ได้เปิดโปงไว้ในคำฟ้องคดีที่นายชาลี เอี่ยมกระสินธ์ หมิ่นประมาทนายปรีดีว่าครอบครัวผู้ตายได้รับการช่วยเหลือทางการเงินจากพระ ราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งพวกศักดินาก็ไม่กล้าโต้ตอบแต่อย่างใด
4. อำนาจมืดอันเกิดจากการรัฐประหารด้วยปืนของผิน ชุณหะวัณ แผ่ซ่านไปทั่ว มีความพยายามที่จะปกป้องพวกเดียวกัน และโยนบาปไปให้พวกของนายปรีดี พนมยงศ์ โดยการใช้วิธีการทุกอย่าง เช่น
-มีการสร้างพยานเท็จว่า ดร.ปรีดีและพวก ปรึกษากันว่าจะฆ่ารัชกาลที่ 8 ที่บ้านพระยาศรยุทธเสนี โดยมีนายตี๋ ศรีสุวรรณ เป็นผู้ล่วงรู้ความลับนี้
ในภายหลัง นายตี๋ ศรีสุวรรณ ยอมรับกับท่านปัญญานันทะ ภิกขุว่าตนให้การเท็จ นอกจากนี้ยังมีนายวงศ์ เชาวนะกวี ให้การว่าได้ยินนายปรีดีพูดกับตนว่า ต่อไปนี้นายปรีดีจะไม่ป้องกันราชบัลลังก์ ทั้งๆที่นายวงศ์มิใช่ผู้ที่สนิทชิดเชื้อกับนายปรีดี พอที่นายปรีดีจะพูดความลับ อันเป็นความเป็นความตายด้วย
-มีการทำลายหลักฐานต่างๆที่จะผูกมัดฆาตกร ในภายหลัง เช่น การสั่งให้พระพี่เลี้ยงเนื่อง ทำความสะอาดพระศพ แล้วยังให้หมอนิตย์ เวชวิศิษฐ์ เย็บบาดแผล เท่ากับเป็นการทำลายหลักฐาน นอกจากนี้ยังมีการผลัดเสื้อผ้าพระศพ โดยเฉพาะหมอนนั้นถูกนำไปฝัง หลังรัชกาลที่ 8 สวรรคตไปแล้ว 10 วัน ซึ่งพระยาชาติเดชอุดม เลขาธิการพระราชวังให้การว่าจะทำเช่นนี้ได้ต้องมี ผู้ใหญ่สั่ง มีการเคลื่อนย้ายพระศพรัชกาลที่ 8 ออกไปและมีผู้ยกเอาพระศพไปไว้
บนเก้าอี้โซฟาแทน การแตะต้องพระบรมศพนั้น มิใช่ว่าจะกระทำได้ง่ายๆ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้านายผู้ใหญ่ก่อนเท่านั้น
เมื่อรัฐบาลพลเรือนชุดก่อนที่จะถูกรัฐประหาร จะชันสูตรพระศพรัชกาลที่ 8 กลับถูกคัดค้านจาก กรมขุนชัยนาทและพระชนนีจนกระทำไม่ได้ แม้แต่ศาลฎีกา ก็พยายามช่วยเหลือผู้ต้องสงสัย
และโยนความผิดให้ผู้อื่น ดังจะเห็นได้ว่า
-มีเพียงสองคนเท่านั้นในคดีนี้ ที่ไม่ได้รับการตรวจพิสูจน์เขม่าปืนที่มือ เมื่อปรากฏว่ามีนายตำรวจคนหนึ่งเสนอให้ทำการพิสูจน์ด้วย ผลต่อมาปรากฏว่านายตำรวจผู้นั้นถูกสั่งปลดออกจากราชการ (พระอนุชาหรือรัชกาลที่ 9 และพระชนนีที่ไม่ได้รับการตรวจพิสูจน์เขม่าปืนที่มือ)
-ศาลหลีกเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามประมวลวิธีความอาญาซึ่งกำหนดว่า การซักค้านพยาน อันจะเกิดความเสียหายต่อจำเลย ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย ศาลกลับเดินเผชิญสืบผู้ต้องสงสัยบางรายที่สวิสเซอร์แลนด์ (พระอนุชาหรือรัชกาลที่ 9 และพระชนนี) ในวันที่ 12 และ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 โดยไม่ยอมให้จำเลยและทนายไปซักค้านด้วย แม้ผู้ต้องสงสัย ให้การสับสน ทนายจำเลยก็ซักค้านไม่ได้
นอกจากนี้ศาลฎีกายังหลีกเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามประมวลวิธีความอาญา เพราะว่าตามปกตินั้น คดีสำคัญๆจะต้องนำไปให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาวินิจฉัย แต่คดีสวรรคตเป็นคดีที่สำคัญกว่าคดีทั้งปวงในประวัติศาสตร์ ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกากลับไม่ได้วินิจฉัย มีเพียงผู้พิพากษา 5 คนเท่านั้น ที่เป็นผู้ตัดสินคดี ที่คณะศาลฎีกาไม่ยอมเอาคดีนำขึ้นสู่ที่ประชุมใหญ่ ก็เพราะไม่อยากให้มีผู้ที่จับได้ไล่ทัน และทำการคัดค้านนั่นเอง
- เพื่อให้ความผิดพ้นจากตัวผู้ต้องสงสัยบางราย ศาลฎีกาถึงกับประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์อย่าง นายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งคนผู้นี้ ศาลฎีกาไม่สามารถกล่าวออกมาได้ว่า เกี่ยวข้องกับคดีสวรรคตอย่างไร นอกจากอ้างซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า มีความใกล้ชิดกับนายปรีดี กระทั่งฆาตกรศาลก็วินิจฉัยไม่ได้ว่าใครเป็นผู้กระทำ ศาลกลับให้ฆ่านายเฉลียวเพียงเพราะนายเฉลียวใกล้ชิดกับนายปรีดี
เมื่อการสะสางคดีนี้จบลง โดยการมีแพะรับบาป ต้องคำพิพากษาประหารชีวิต 3 คนคือ นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศริน นายเฉลียว ปทุมรส ผู้ต้องสงสัยก็ได้หลบไปอยู่ต่างประเทศชั่วคราวระยะหนึ่งจึงกลับ เพื่อเป็นการหนีเสียงครหานินทาของประชาชน ก่อนที่คนทั้ง 3 จะถูกประหารชีวิต คนหนึ่งได้ขอพบเผ่า ศรียานนท์เป็นการส่วนตัว เผ่าก็คงจะบอกความลับนี้แก่ แปลก(จอมพลป.พิบูลสงคราม)และประภาส จารุเสถียร
การกำจัดรัชกาลที่ 8 นั้น นับว่าเป็นการยิงทีเดียวได้นก 2 ตัว คือ นอกจากจัดการกับรัชกาลที่ 8 ได้แล้ว ยังได้กำจัด ดร.ปรีดีซึ่งเป็นต้นตอทำลายผลประโยชน์ของพวกกลุ่มศักดินาอีกด้วย ปรีดีต้องลี้ภัยทางการเมืองไป ตั้งแต่ปี และได้ถึงแก่กรรมในต่างประเทศในที่สุด ส่วนเมียของ ร.ท.สิทธิชัย ชัยสิทธิเวชผู้ถูกระบุว่าเป็นมือปืน แล้วหนีตาม ดร.ปรีดีไปอยู่เมืองนอก ชื่อชะอุ่ม กลับได้รับตำแหน่งหัวหน้าแม่ครัวในวังสวนจิตรลดา ลูกทุกคนได้รับการส่งเสียให้เงินทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ และตัว ร.ท.สิทธิชัยเองก็กลับมาอยู่อาศัยที่ลาดพร้าว ซอย 101อย่างสุขสบาย โดยที่เจ้าตัวไม่ต้องทำมาหากินแต่อย่างใด หากเขาเป็นฆาตกรจริง ทำไมจึงยังทรงไว้วางพระทัยในตัวแม่ครัวปัจจุบัน และเหตุใดจึงไม่ให้มีการลงโทษตามตัวบทกฎหมาย เช่นเดียวกับที่เคยเล่นงานนายชิตและนายบุศย์ หลักฐานจากผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สวรรคตที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ได้ชี้อย่างเด่นชัดว่า ใครคือผู้ต้องสงสัยที่สุดกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ....









14 comments:

  1. เป็นการสรุปที่ไม่มีอ้างอิงแม้แต่อย่างเดียว ข้อมูลมั่วมาก โยงใยเอาเองหมด

    ReplyDelete
  2. มั่วได้ยังงัยคนที่เขียนมีตัวตนอยุ่จริงๆไม่ได้นี้งเทียนเขียนขึ้นมาเอง

    ReplyDelete
  3. มั่วได้ยังงัยคนที่เขียนมีตัวตนอยุ่จริงๆไม่ได้นี้งเทียนเขียนขึ้นมาเอง

    ReplyDelete
  4. ขณะนั้นคนที่มีอำนาจที่สุดในประเทศและสามารถสร้างหลักฐานเท็จเอาผิดคนอื่นได้ คือใครก็คน ๆ นั้นแหละที่เป็นคนทำ ไม่ใช่ร.9 ทำแน่นอนครับ

    ReplyDelete
  5. ก็มีสิทธิ์เป็นไปได้เหมือนกัน ถ้าบริสุทธิ์ก็คงให้ตรวจสอบไปแล้ว คงไม่ค้างมาถึงปัจจุบัน มีอะไรที่น่าสงสัย อยากรู้ความจริงเหมือนกันน แต่หลักฐานคงไม่มีละ นานมากแล้ว

    ReplyDelete
  6. คิดชั่วกับกษัตริย์มึงก้อเดนนรกแหละข่ะ พ่อกูเป็นคนดีบารมีท่านล้นพ้น

    ReplyDelete
  7. คนที่แย่งชิงอำนาจกันในช่วงนั้น ที่เห็นชัด ๆ ก็มี จอมพลป. กับ นายปรีดี กษัตริย์ไม่ได้มีอำนาจในมือ คนในวังที่ไว้ใจได้จริง ๆ ไม่รู้ว่ามีกี่คน น่าจะน้อยมาก ๆ

    ReplyDelete
  8. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  9. คนเป็นแม่ก็ต้อง ทำอย่างใด อย่างหนึ่ง

    ReplyDelete
  10. พระมหากษัตริย์ ไม่ได้มีอำนาจเท่า จอมพลป. กับ นายปรีดี จริงๆ ครับสมัยนั้น อย่าโยงมั่วเลยครับเจ้าของบล็อก

    ReplyDelete
  11. http://chantrawong.blogspot.com/2011/12/blog-post.html

    หาเวลาอ่านและวิเคราะห์เอาค่ะ ท่านแค่โดนโยงเข้าการเมืองเท่านั้น

    ReplyDelete
  12. มั่ว คนเป็นแม่ย่อมทราบดีว่าลูกตนเป็นเช่นไร สมเด็จย่าทรงรักในหลวงมากและทรงอยู่ในเหตุการณ์ ทรงอยู่ในตำหนักด้วย สมเด็จย่าชื่นชมเสมอว่าในหลวงทรงกตัญญู สมเด็จย่าคงจะไม่รักในหลวงมากขนาดนี้หากในหลวงทำเช่นนั้น ตรองดูเถิ

    ReplyDelete
  13. เหตุเกิด 9.20
    นางสาวเนื่องอยู่ในห้องพระชนนี 20 นาที ไม่ใช่ห้องพระอนุชา
    ตอนเกิดเหตุ พระอนุชาอยู่ห้องเครื่องเล่นไม่ใช่ห้องนอนพระองค์


    เรื่องสำคัญๆแค่นี้คุณยังผิดเลย ทุกคนคิดเอาเองเถอะว่าบทความนี้น่าเชื่อถือมั้ย

    ReplyDelete
  14. มั่ว จับแพะชนแกะไปเรื่อย

    ReplyDelete