Wednesday, April 8, 2015

หนังสือ หนุ่มหน่ายคัมภีร์ - สุจิตต์ วงศ์เทศ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

หนังสือ หนุ่มหน่ายคัมภีร์ - สุจิตต์ วงศ์เทศ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

"หนุ่มหน่ายคัมภีร์" เป็นหนังสือเล่มแรกๆของไทยที่ออกมาวิพากษ์ระบบโซตัส (Sotus)ผ่านอารมณ์ขำขัน ไม่เครียดมากแต่บาดลึกถึงปัญหาการปลูกฝังอำนาจนิยมในสังคมไทย

---------------------------------------------------------------------------------
"เขาบอกให้สามัคคีกันไว้ อย่าแตกแยกกัน แม้ว่าจะอยู่คนละคณะ แต่ก็สังกัดในสถาบันเดียวกัน ต้องทำความรู้จักกันไว้ จะตกถิ่นฐานใดไม่ขัดแคลน เราต้องช่วยพวกเราก่อน--อ้าว ไหงงั้น ไหนว่าเรียนไปช่วยประเทศชาติ กลายเป็นเรียนไปช่วยพวกเดียวกันเองซะแล้ว"

ที่ยกมาข้างต้นคือข้อความจาก หนุ่มหน่ายคัมภีร์ ของสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่เขียนไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ข้อความนั้นคือคำรำพึงของนายทองปน บางระจัน ตัวเอก ในช่วงต้นๆ เรื่อง ทองปนรู้สึกสับสนเมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัย และถูกบังคับให้ฟังรุ่นพี่ปราศรัย

เรื่องราวจะเข้มข้นขึ้นอีก เมื่อการรับน้องใหม่ดำเนินไปบนความไร้เหตุผลและสาระ นิยายขนาดสั้นของสุจิตต์ วงษ์เทศ เล่มนี้ เสียดสีและประชดประชันวัฒนธรรม seniority ไว้ได้อย่างเจ็บแสบและเต็มไปด้วยอารมณ์ขัน

โดยเฉพาะประเด็นที่ยกมาข้างต้นนั้นสำคัญมาก เพราะลึกๆ แล้วการรับน้อง เป็นเรื่องของโครงสร้างทางสังคมที่เน้นลำดับชั้น โดยเน้นย้ำว่าความอาวุโสย่อมสูงส่งในตัวเองเสมอ โดยไม่ต้องมีเหตุผลอื่นใดมารองรับอีก

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เขียนคำนำเสนอไว้ในการพิมพ์ครั้งที่สอง 2517 ความตอนหนึ่งว่าถึงวิธีการรับน้องใหม่ไว้ด้วยว่า

นักเรียนนอกของไทยที่ไปร่ำเรียนมา ไม่ได้กลับมาด้วยวิชาความรู้อย่างเดียว แต่ได้พกพาระเบียบแบบแผนประเพณีอะไรต่อมิอะไรเอามาเผยแพร่ต่อในเมืองไทยด้วย ดังนั้น วิธีการรับน้องใหม่ การแบ่งสีของกลุ่ม การซ่อม หรือการล้อเล่นที่พิสดาร จึงเริ่มแผ่ขยายทั่วไปในสถาบันการศึกษาของเมืองไทย
ตัวอย่างของการที่ประเพณีประเภทนี้แผ่ขยายเข้ามาในเมืองไทย จะเห็นได้ชัดกรณีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ ประเพณีการคลุกโคลนปีนเสา ประเพณีนี้อาจจะเห็นได้ชัดในอดีตอันแสนไกลของมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ สหรัฐอเมริกา ภาพเก่าๆ เกี่ยวกับอดีตของคอร์แนลล์มักจะมีรูปการปีนเสาทรมานแบบนี้ แต่นั่นก็ได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว

ถ้าจะว่าไปแล้ว หนุ่มหน่ายคัมภีร์ ที่สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนขึ้นเป็นนวนิยายอันเกี่ยวข้องกับความเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เขาเข้าเรียนในยุคนั้น ตั้งแต่วันแรกที่เข้าเรียนก็พบกับระบบรับน้องใหม่
สุจิตต์หยิบยกปรากฏการณ์บวกกับความคิดเห็นของตัวเองในขณะนั้นถึงการต่อต้าน การต้อนรับน้องใหม่ และความคิดเห็นของเพื่อนนิสิตนักศึกษายุคนั้นเข้าไปอย่างมีนัยสำคัญต่อ เนื่องถึงยุคนี้ ผนวกกับอารมณ์ขันของเจ้าตัวที่มีมาโดยตลอดในงานเขียน เช่น ขึ้นต้นเรื่องไปได้ไม่เท่าไหร่ก็ว่าด้วยเรื่องตื่นนอน

ไม่นานนักก็ได้ยินเสียงหวูดจากกรมอู่ทหารเรือดังมาวังเวง คล้ายกับจะเตือนคนที่นอนตื่นสายว่า ตื่นเสียทีซิโว้ย- -มึงจะนอนกินบ้านกินเมืองหรือไง? บางทีกูก็นอนตะโกนตอบอยู่ในใจว่า เออซี่วะ- -ถ้ากูกินได้กูจะกินให้เรียบวุธเชียวมึงเอ๋ย และหลายครั้งหลายที กูก็มักจะได้ยินเสียงมิตรสหายทักว่า งั้นมึงก็ต้องกินคนด้วย กูก็ตอบว่า เออ-กินมึงด้วย เพื่อนไม่ยอมแพ้ มันแถลงถามว่า มึงจะกินกูทั้งตัวหรือ มึงกินหมดหรือ? กูก็ตอบด้วยความรำคาญที่มันไม่ยอมแพ้ว่า กินแม่งตั้งแต่ตีนถึงหัวแหละ แล้วเพื่อนหัวเราะก๊ากย้อนกูอย่างเจ็บแสบว่า อ้อ-งั้นมึงก๊อต้องกินหำกูด้วยซี่นะ

นวนิยายเรื่อง หนุ่มหน่ายคัมภีร์ สำหรับนิสิตนักศึกษารุ่นนี้ โดยเฉพาะเฟรชชี่ทั้งหลายน่าอ่านจะได้รู้ว่ายุคสมัยนั้น เมื่อกว่า 40 ปี เป็นอย่างไร แล้วขณะนี้วันนี้เป็นอย่างไร

ส่วนผู้ที่ร่วมสมัยในวัยนั้นกับผู้ที่ผ่านการรับน้องใหม่มาแล้วก็น่าอ่าน ทบทวนความทรงจำว่าวันนั้น ขณะนั้น เราทำอะไรบ้าง คิดเหมือนผู้เขียน หรือคิดแตกต่างกันอย่างไร

http://www.mediafire.com/…/หนังสือ_หนุ่มหน่ายคำภีรีย์-สุจิต…
Read More »

หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่

หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่


ซุน ยัตเซ็น (12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1866 - 12 มีนาคม ค.ศ. 1925) เป็นนักปฏิวัติ ซุนได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "บิดาของชาติ" ในสาธารณรัฐจีน และ "ผู้บุกเบิกการปฏิวัติประชาธิปไตย" ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยความเป็นผู้ริเริ่มจีนชาตินิยมคนสำคัญ ซุนมีบทบาทสำคัญในการล้มราชวงศ์ชิงระหว่างการปฏิวัติซินไฮ่ ซุนเป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาลคนแรกเมื่อสาธารณรัฐจีนก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1912 และภายหลังร่วมก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งเขาเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ซุนเป็นบุคคลผู้สร้างความสามัคคีในจีนหลังยุคจักรวรรดิ และยังคงเป็นนักการเมืองจีนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างกว้างขวางจากประชาชนทั้งสอง ฟากฝั่งช่องแคบไต้หวัน

แม้ซุนถูกมองว่าเป็นหนึ่งในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีนสมัยใหม่ ชีวิตการเมืองของเขากลับต้องต่อสู้ไม่หยุดหย่อนและต้องลี้ภัยบ่อยครั้ง หลังประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ เขากลับสูญเสียอำนาจอย่างรวดเร็วในสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น และนำรัฐบาลปฏิวัติสืบต่อมาเป็นการท้าทายขุนศึกที่ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของ ประเทศ ซุนมิได้มีชีวิตอยู่เห็นพรรคของเขารวบรวมอำนาจเหนือประเทศระหว่างการกรีฑา ทัพขึ้นเหนือ

ซุนได้เป็นแพทย์ที่มาเก๊าและกวางโจว บางครั้งท่านก็รักษาคนไข้ฟรีด้วย แต่ทว่าท่านคิดว่าไม่ใช่เพียงร่างกายคนเท่านั้นที่ต้องการการรักษา แต่เรายังต้องรักษาความคิดและจิตใจของคนอีกด้วย ซึ่งประเทศจีนตอนนั้นก็เปรียบเสมือนคนป่วยคนหนึ่ง ดังนั้นท่านจึงพยายามที่จะรักษาประเทศของท่านเองด้วยวัยเพียง 18 ปี ท่านได้เขียนจดหมายถึงรัฐบาลจีน เพื่อขอร้องให้พวกท่านทำการปฏิรูป แต่รัฐบาลชิงไม่สนใจความคิดและความปรารถนาของท่าน ดังนั้นในปีเดียวกันท่านและสหายของท่านได้ก่อตั้งองค์การจัดตั้งการปฏิรูป ขึ้นมา และตั้งแต่นั้นมาซุนยัตเซ็นก็ได้เริ่มชีวิตที่เปลี่ยนไป ท่านได้ทำการต่อสู้กับรัฐบาลชิง โดยหวังว่าประเทศจีนจะสามารถกลายเป็นประเทศที่เป็นอิสระ เสมอภาค และมั่นคง ต่อมาซุนถูกราชวงศ์ชิงตามล่า ท่านจึงได้หลบหนีไปยังประเทศต่างๆ ก่อนจะถูกควบคุมตัวที่อังกฤษโดยพลการ ทำให้อังกฤษประท้วงการจับกุมตัวซุน จนทำให้ท่านได้รับการปล่อยตัว หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินทางไปยังญี่ปุ่น ดร.ซุน ยัตเซ็นได้พยายามทำการปฏิวัติหลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1911 คณะปฏิวัติได้ทำการปฏิวัติที่เมืองบู๋เชียง จนสามารถโค่นล้มราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ ......

http://www.mediafire.com/…/หนังสือ_ดร_ซุนยัดเซ็น_ประวัติการ…







Read More »

หนังสือ 8มีนาวันสตรีสากล-กลุ่มผู้หญิงธรรมศาสตร์ รามคำแหง จุฬาฯลฯ (เคยต้องห้ามหลังเหตุการณ์6ตุลา)

หนังสือ 8มีนาวันสตรีสากล-กลุ่มผู้หญิงธรรมศาสตร์ รามคำแหง จุฬาฯลฯ (เคยต้องห้ามหลังเหตุการณ์6ตุลา)


http://www.mediafire.com/…/หนังสือ_8มีนาวันสตรีสากล-กลุ่มผู…

ประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางชนชั้นครั้งยิ่งใหญ่ของกรรมกรหญิงทั่วโลกได้มา บรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง นั้นก็คือวันที่ 8 มีนาที่เรียกกันว่าวันสตรีสากล โดยเฉพาะกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า ที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ถูกนายทุนในระบบทุนนิยม กดขี่ขูดรีดทารุณ เห็นกำไรสำคัญกว่าชีวิตของความเป็นมนุษย์

กรรมกรหญิงและชายไม่ต่างอะไรกับทาส ทำงานวันละหลายชั่วโมงได้ค่าจ้างแรงงานเพียงน้อยนิด สภาพการทำงานในโรงงานเลวร้ายมีการเจ็บป่วยล้มตายไร้การเหลียวแล ทำให้กรรมกรทนไม่ได้กับระบบการกดขี่ขูดรีดจึงเกิดการลุกขึ้นสู้ โดยใช้วิธีการนัดหยุดงานและเดินขบวนในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 การต่อสู้ในครั้งนั้นได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากกรรมกรทั่วโลก สร้างความสั่นสะเทือนต่อทุนนิยมทั้งโลก และได้มีการเรียกร้องชั่วโมงการทำงานให้เหลือวันละ 8 ชั่วโมง พร้อมทั้งปรับปรุงสภาพการทำงานและสวัสดิการ รวมถึงสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยในการรวมตัว

วันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 มีผู้แทนสตรีจาก 18 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม สมัยที่ 2 ที่จัดขึ้นที่เมืองโคเปนเฮเกน เสนอให้มีการทำงาน 8 ชั่วโมง ศึกษา 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง ที่เรียกว่าระบบสามแปด ค่าจ้างแรงงานระหว่างชายกับหญิงต้องเท่าเทียมกัน มีการคุ้มครองสิทธิกรรมกรหญิงและเด็ก โดยเฉพาะนักต่อสู้สตรีที่สำคัญเธอชื่อ คลาร่า แซทกิน ซึ่งเป็นนักสังคมนิยมชาวเยอรมัน เธอเป็นผู้ยืนหยัดมาตลอดว่าการโค่นล้มทุนนิยมและการสร้างสังคมใหม่คือ สังคมนิยม จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดพลังแรงงานกรรมกรหญิงและชาย ถ้าพลังแรงงานกรรมกรหญิงยังถูกกดขี่ ขูดรีดอยู่ และไม่มีสิทธิใดๆ และเธอก็ได้เผยแพร่ความคิดสังคมนิยมไปทุกหนทุกแห่งทั่วโลก

ระบบทุนนิยม ชนชั้นปกครองชอบสอนให้ประชาชน ผู้ใช้แรงงานเคารพค่านิยมครอบครัวอนุรักษ์นิยม แต่ระบบทุนนิยมทำให้ผู้หญิงออกไปทำงานในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้หญิงมีพัฒนาการความคิดที่ก้าวหน้า และระบบทุนนิยมได้สร้างเงื่อนไขให้ผู้หญิงออกมาต่อสู้เพื่อการปลดแอกตน เองอยู่เสมอ
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ และองค์กรสมาชิกและพันมิตร ส่งเสริมให้ผู้หญิงออกไปทำงานและสร้างความมั่นใจในตนเอง และต้องการเห็นชายกับหญิงร่วมกันต่อสู้ในสหภาพแรงงานหรือขบวนการประชาธิปไตย เราสนับสนุนข้อเรียกร้องเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม เช่น สตรีมีสิทธิทำแท้งเมื่อไม่พร้อมมีบุตร ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน และสร้างรัฐสวัสดิการมาตรฐานเดียวตั้งแต่เกิดจนตาย








Read More »

จากใจกู ถึงคน 3 จังหวัดใต้

จากใจกู ถึงคน 3 จังหวัดใต้
จากใจกู ด่าเพื่อนร่วมอาชีพ
ขอโทษนะ ที่ทหารฆ่าไป 4 ศพ
ขอโทษนะ ที่ทหารพูดนองว่า "เอาเงินเยียวยาไป" แต่ไม่สามารถเอาชีวิตคนที่เสียไปกลับคืนมาได้
ขอโทษนะ ที่ทหารชุดปฏิบัติการทั้งหมดปิดหน้า ทำตัวเยี่ยงโจรเสียเอง จนไม่รู้ว่าใครกันที่ยิง
ขอโทษนะ ที่ปืนของกองทัพ ไม่สามารถตรวจหรอกว่ากระสุนยิงมาจากกระบอกไหน เพราะมันแก้ไขดัดแปลงไปหมดแล้วล่ะ
ขอโทษนะ ที่ทหารเรา ใส่ร้ายว่าผู้ตายเป็นผู้ก่อการร้าย ซ้ำร้ายกว่านั้น พอทหารสังกัดของเรายิงคนตาย จึงทำการใส่ร้ายยัดปืนใส่มือศพ และฝ่ายข่าวเท็จของทหารเรา ก็สร้างเรื่องใส่ร้ายส่งให้นักข่าว จนทำให้ผู้ตายและครอบครัวถูกเข้าใจผิด เพราะขบวนการใส่ร้ายของทหารอย่างพวกเรา
ขอโทษนะ ที่ทหารประกาศกฎอัยการศึกมาแล้วกว่า 10 ปี
ขอโทษนะ ที่ทหารเราก็สร้างสถานการณ์เองในบางครั้ง จนมีผู้เสียชีวิต แต่บางครั้งเราก็ฆ่าพวกเดียวกัน เพื่องบประมาณ
ขอโทษนะ ที่ยิงคนตายในช่วงอัยการศึก เจ้าหน้าที่จึงไม่ต้องรับโทษอะไร เพราะถือว่าปฏิบัติหน้าที่
ขอโทษนะ ที่ยิงผู้บริสุทธิ์
ขอโทษนะ คนตายไปแล้ว
ขอโทษนะ ไม่ได้ทำผิด ไม่ต้องกลัวนะ ถ้าเรายิงคุณตาย เราจะใส่ร้ายให้คุณเป็นคนผิดเอง
ขอโทษนะ ฆาตกร ไม่ต้องรับผิด
พ่อแม่ผู้ตาย อีกนับร้อยครอบครัวคงคิด
- ไหนล่ะฆาตกร ที่ต้องเอามาลงโทษ
- ไหนล่ะความยุติธรรม
- ไหนล่ะธรรมาภิบาลของรัฐ

 

ถึงสลิ่มทุกตัว

นี่ไงล่ะ ตัวอย่างของคนที่ไม่ได้ทำผิด
แล้วโดนยิงตาย แถมทหารยัดปืนใส่มือศพอีก
จากนั้นยังโดนใส่ร้ายซ้ำอีกครั้งหลังตาย

ไม่ได้ทำผิด จะกลัวอะไร
พวกมึงชอบอ้างนักหนา


พวกมึงคิดดูเองละกัน คิดถึงหัวอกพ่อแม่ผู้ตาย คิดถึงพวกเขาที่ใช้ชีวิต อยู่ใต้ความกลัวและอำนาจกระบอกปืน มายาวนานนับ 10 ปี
ขอโทษนะ ไอ้แม่ทัพภาค 4 หัวดอ
Read More »

Saturday, April 4, 2015

สรุปแล้ว ภาพลักษณ์ฉาวโฉ่ในต่างประเทศของ คสช น่ะ เป็นผลมาจากความโง่ความเลวของประยุทธและ คสช ทำเองล้วนๆ

จริงๆขี้เกียจเขียนถึงความโง่รายวันของประยุทธนะบอกจริงๆ
แต่บังเอิญ สะดุดใจนิดหน่อย ตรงที่ประยุทธโทษว่า ภาพลักษณ์ในต่างประเทศของรัฐบาลพวกเขาเสีย เพราะมีการล็อบบี้ในต่างประเทศ ที่สะดุดใจก็เพราะว่า ไม่กี่วันที่แล้วนี้เอง สำนักข่าวอิศราก็มีรายงานทำนองเดียวกันนี้ คือสำนักข่าวอิศรา (หรือคนเขียนรายงานนั้น) ก็พูดทำนองว่า ประยุทธ "แพ้หมดรูป" ในต่างประเทศ แล้วก็อ้างว่าเป็นเพราะฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล คสช ทำการล็อบบี้ จ้างล็อบบี้อิสต์ แล้วสำนักข่าวอิศราก็มีการไปสัมภาษณ์ ดูเหมือนจะปลัด กท. หรือ รมช กต อะไรนี่แหละ (ขออภัย ขี้เกียจไปค้นรายละเอียดอีกที ไม่ได้เก็บลิงค์ไว้ ใครขยันลองไปหาดู) ถามประมาณว่า ทำไม คสช ไม่จ้างล็อบบี้อิสต์บ้าง
คือจะบอกว่า เรื่องนี้ "มโน" ล้วนๆครับ ยืนยันได้ - ไม่มีอะไรที่เรียกว่าการ "ล็อบบี้" ในต่างประเทศอย่างที่ว่าหรอก อย่างมากที่สุด จะมีก็ประเภทมีคนไทยเจอ จนท ของรัฐในต่างประเทศบ้าง นานๆครั้ง ซึ่งก็เป็นอะไรที่ธรรมดานะ เหมือนหน่วยงานทุกประเทศแหละ ถ้าเขาอยากรู้เรื่องประเทศไหน เขาพอรู้ว่ามีคนประเทศนั้นที่พอเจอตัวได้บ้าง เขาก็ชวนคุย สอบถามข้อมูล แค่นั้น เกือบปีแล้ว ถ้ารวมๆกันหมดในที่ต่างๆ ก็นับได้นิดเดียว แล้วก็ระดับที่เจอก็ระดับล่างๆมาก อะไรแบบนั้น ซึ่งก็ไม่ได้มีมากมายอะไร
ที่ชื่อของ ฯพณฯ ประยุทธ ฉาวโฉ่ในต่างประเทศน่ะ มีสาเหตุง่ายๆเลยครับ
ความโง่ของ ฯพณฯ เองนั่นแหละ ที่พูดอะไรโง่ๆ ทำอะไรโง่ๆ เลวๆ (กดขี่ ปราบปราม) เป็นรายวัน
เอาตัวอย่างง่ายๆเลยที่ ฯพณฯ ยกมาเอง เรื่องที่ขู่จะประหารนักข่าวน่ะ
เรื่องแบบนี้ ไม่ต้องให้ใครไปล็อบบี้ต่างประเทศหรอกครับ แค่นักข่าวต่างประเทศในไทย เขาก็เห็น และเขาก็รายงานไป ทูตต่างประเทศในไทย เขาก็รายงานไปตามข่าวที่ออกมา
แล้วเรื่องใหญ่ที่ คสช เป็นโจรปล้นอำนาจมาอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปราบปรามจับกุมคนรายวัน (โดยเฉพาะ ๑๑๒) หรือล่าสุด ออกคำสั่งตาม ม.๔๔ - เรื่องพวกนี้ มันชัดเจนโจ่งแจ้ง ไม่ต้องคิดอะไรเลย คือใครๆในต่างประเทศเขาก็รู้ทั้งนั้นว่ามันผิด ไม่ต้องรอให้คุยกับคนไทยที่ไหนเลยด้วยซ้ำ
คนโง่นี่ ยังไงมันก็โง่จริงๆว่ะ พับผ่าสิ
...............
แม้แต่เรื่องคุณอัมสเตอร์ดัมนะ (ซึ่งในรายงานอิศรา พูดเป็นนัยพาดพิงถึง) เท่าที่ผมรู้มาแน่ๆเลย ทักษิณก็เลิกจ้างอัมสเตอร์ดัมไปหลัง รปห ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ "เกียร์ว่าง" ของเขา คุณอัมสเตอร์ดัม ดูเหมือนจะยังคอยเขียน หรือพูด เปิดโปง คสช อยู่ แต่ก็นานๆครั้ง ซึ่งเป็นอะไรที่เขาทำแบบ "โพร โบโน" (ศัพท์ในวงการกฎหมาย คือไม่ได้รับจ้าง ไม่ได้คิดเงิน) และไม่ได้มีการทำล็อบบี้อะไรทั้งนั้น
...............
อันนี้พูดก็พูดนะ ผมไม่เกี่ยวอะไรเลยกับ "เสรีไทย" แต่ถ้าโดยความเห็นส่วนตัวนะ ผมก็ว่า เขาทำ "ล็อบบี้" น้อยไปด้วยซ้ำ คือเรียกได้ว่าไม่มีเลยก็ได้ โดยเฉพาะในประเทศฝรั่งที่ใหญ่มากๆที่ไปอยู่กันหลายคนน่ะ ความจริง ถ้าเขาจะทำ ทั้งล็อบบี้และยิ่งกว่าล็อบบี้ (เช่นเคลื่อนไหวรณรงค์อะไรต่างๆ เป็นต้นในต่างประเทศ) ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องด้วยซ้ำนะ แต่เท่าที่ผมรู้มา ก็ไม่ได้มีการทำอะไร
สรุปแล้ว ภาพลักษณ์ฉาวโฉ่ในต่างประเทศของ คสช น่ะ เป็นผลมาจากความโง่ความเลวของประยุทธและ คสช ทำเองล้วนๆ
Read More »

Wednesday, March 18, 2015

เพราะทุกครั้ง พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย มอบ ("พระราชทาน")

ที่ ทหารทำรัฐประหารได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยไม่เคยถูกลงโทษ ก็เพราะทุกครั้ง พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย มอบ ("พระราชทาน") ความชอบธรรมให้กับการรัฐประหารเหล่านั้นทุกครั้งไป

และดังนั้น ความรับผิดชอบของการที่คณะรัฐประหารได้อำนาจอย่างผิดกฎหมายจึงอยู่ที่สถาบันกษัตริย์ด้วย
นี่ไมใช่ผมเสนอเองด้วยซ้ำ แต่คือนัยยะของ "ทฤษฎีบวรศักดิ์" ที่รู้จักกันดีในวงการกฎหมายมหาชน (แน่นอน บวรศักดิ์โง่เกินกว่าจะคิดถึงนัยยะนี้ และที่สำคัญ ในเมือเขาเสนอภายใต้ภาวะที่มี ๑๑๒ คุมอยู่ จึงไม่มีใครในประเทศไทยสามารถพูดถึงนัยยะนี้อย่างตรงๆออกมาได้)
คือบวรศักดิ์เสนอว่า ก่อนรัฐประหาร อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์และประชาชนร่วมกัน ไมใช่ของประชาชนเท่านั้น ตามระบอบประชาธิปไตยที่เข้าใจกันทางสากล บวรศักดิ์เขียนว่า (กฎหมายมหาชน เล่ม ๒ ฉบับพิมพ์ปี ๒๕๕๐ หน้า ๑๘๒-๑๘๓)
"...ในทางกฎหมาย เมื่อมีการรัฐประหารเลิกรัฐธรรมนูญ ก็ต้องถือว่าอำนาจอธิปไตยที่เคยพระราชทานให้ปวงชนนั้นกลับคืนมายังพระมหา กษัตริย์ผู้ทรงเป็นเจ้าของเดิมมาก่อน ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ .... [เมื่อเกิดรัฐประหาร] ระดับสูงสุดคือสถาบันพระมหากษัตริย์ยังดำรงอยู่ และยังทรงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่กลับคืนมาเป็นของพระองค์ด้วย .."
ดังนั้น โดยนัยยะของ "ทฤษฎี" ของบวรศักดิ์เอง การที่พระมหากษัตย์ลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งคณะรัฐประหารและให้อำนาจการปกครอง แก่ระบอบรัฐประหาร (ล่าสุดคือ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯตั้งประยุทธ เป็นหัวหน้า คสช เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และลงพระปรมาภิไธย ให้ธรรมนูญของ คสช เมื่อวันที่ ่๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗)
จึงเป็นการใช้อำนาจของพระองค์ล้วนๆ (ตามทฤษฎีบวรศักดิ์เอง - คือจะอ้างว่า มีหัวหน้า รปห ลงนามรับสนองก็ไม่ได้ เพราะตาม "ทฤษฎี" ของบวรศักดิ์ อำนาจอธิปไตยไม่ได้อยู่กับคณะรัฐประหาร เขาเขียนเองว่า "ส่วนคณะรัฐประหารไม่ใช่เจ้าของอำนาจอธิปไตย" ดังนั้น คณะรัฐประหารไม่มีอำนาจทางกฎหมายใดๆที่จะอ้างในการลงนามรับผิดชอบการตั้ง ระบอบการปกครองนี้ได้ เพราะอำนาจเป็นของกษัตริย์ล้วนๆ)
จึงต้องถือเป็นความรับผิดชอบของสถาบันกษัตริย์ ทีทุกวันนี้ คณะรัฐประหารอยู่ในอำนาจและอ้างความชอบธรรมในการใช้อำนาจอยู่ได้
Read More »

Thursday, February 26, 2015

หนังสือ ข้อเท็จจริงกรณีสวรรคต รัชกาลที่8 ฉบับสมบูรณ์ - สุพจน์ คนด่านตะกูล(ต้องห้าม)

หนังสือ ข้อเท็จจริงกรณีสวรรคต รัชกาลที่8 ฉบับสมบูรณ์ - สุพจน์ คนด่านตะกูล(ต้องห้าม)


 เป็นหนังสือที่รวบรวมเอกสารลับและ ประกอบคำให้การของพยานทั้ง6ในวันเกิดเหตุ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน และคำวินิจฉัยทางการแพทย์ ซึ่งหาไม่ได้จากหนังสือเล่มใดที่เกี่ยวกับกรณีสวรรคต

http://www.mediafire.com/…/หนังสือ_ข้อเท็จจริงกรณีสวรรคต_-ส…

เนื่องจากรัชกาลที่ 7 ไม่มีพระอนุชา ไม่มีพระโอรสและธิดา ตามกฎมณเฑียรบาลการสืบราชสันตติวงศ์ จะต้องกระทำโดยการสืบเชื้อพระวงศ์จากวงในสุดออกมา ซึ่งท่านแรกคือ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ แต่เนื่องจากท่านมีแม่เป็นชาวรัสเซีย มีพระชายา(ภรรยา)เป็นชาวอังกฤษ เป็นการผิดกฎมณเฑียรบาล จึงไม่สามารถขึ้นมาเป็นกษัตริย์ได้ องค์ถัดมาคือ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช แต่เนื่องจากมีพระชายา(ภรรยา)เป็นชาวตะวันตก จึงไม่ได้รับเลือกอีกเช่นกัน
ตำแหน่งจึงตกมาอยู่กับพระองค์เจ้าอานันทมหิดลในที่สุดอันที่จริงพระองค์เจ้า อานันทมหิดล และพระองค์เจ้าภูมิพล มีพ่อคือกรมหลวงสงขลานครินทร์กับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ ซึ่งเป็นหญิงสามัญชน ลูกจีน ลูกที่เกิดมาจึงมีศักดิ์เป็นเพียงหม่อมเจ้าเท่านั้น แต่เนื่องจากกรมหลวงสงขลาฯเป็นบิดาทางการแพทย์ สร้างคุณงามความดีไว้มาก รัชกาลที่ 7 จึงโปรดเกล้าฯให้ลูกของกรมหลวงสงขลาเลื่อนฐานันดรศักดิ์เป็นพระองค์เจ้า เพื่อตอบแทนที่กรมหลวงสงขลาฯต้องสิ้นพระชนม์ในวัยหนุ่มฉกรรจ์ในการบุกเบิก การแพทย์ไทย เมื่อครั้งที่พระองค์เจ้าอานันทมหิดลเป็นกษัตริย์ พระองค์มีอายุเพียง 9 พรรษาเท่านั้นและกำลังศึกษาอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ รัชกาลที่ 8 เมื่อทรงพระเจริญวัยขึ้น ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมามาก โดยเฉพาะความรู้ทางด้านการปกครอง ถึงแม้พระองค์จะได้ชื่อว่ามีเชื้อสายกษัตริย์ แต่ก็มีพระราชประสงค์ให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีการปกครองตนเอง อีกทั้งได้รับอิทธิพลจากการสละราชบัลลังก์ของรัชกาลที่ 7 จึงมีพระราชดำริที่จะสละราชสมบัติและเลิกล้มระบบกษัตริย์ เพราะเห็นว่ายุคนี้การเป็นกษัตริย์นั้น เป็นการเอาเปรียบประชาชน และผู้ปกครองประเทศควรมาจากการเลือกตั้ง โดยพระองค์จะลงเล่นการเมืองในระบอบประชาธิปไตยด้วยตนเอง
เรื่องนี้อาจทำให้ราชวงศ์ไม่สบายพระทัยมาก ทำให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นได้ เหตุการณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ รัชกาลที่ 8 ทรงเห็นด้วยกับความคิดในการปรับปรุงประเทศของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเคยเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่ระยะหนึ่ง โดยเฉพาะเค้าโครงเศรษฐกิจของชาติที่มีเนื้อหาการจัดระบบสหกรณ์ และการปฏิรูปที่ดินอย่างขนานใหญ่ทั่วประเทศ และเรื่องนี้กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของพวกศักดินาอย่างรุนแรง เพราะพวกศักดินาเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ของประเทศไทย พวกศักดินาจึงใส่ร้ายหาว่า ดร.ปรีดี เป็นภัยต่อสถาบัน
เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์หนุ่มที่เลือดรักชาติแรงกล้าและเห็นใจ ประชาชนเป็นพื้น จึงทรงออกนั่งตุลาการด้วยตนเอง ทั้งยังออกเยี่ยมประชาชน อยู่เนืองๆ เช่น คนจีนที่สำเพ็ง ซึ่งปรากฏว่าชาวจีนถวายความนับถือและจงรักภักดีมาก การออกเยี่ยมตามที่ต่างๆทำให้พระองค์ได้สัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชนอย่างแท้จริง ทำให้ความคิดของพระองค์ ยิ่งขัดแย้งกับพวกศักดินามากขึ้นเป็นลำดับ
ราชวงศ์จึงมีความหวาดประหวั่นและยอมไม่ได้ที่พระองค์มีแนวโน้มว่าอาจจะลาออก หรือยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ อันหมายถึงเกียรติยศชื่อเสียงและผลประโยชน์จำนวนมหาศาล ที่จะดลบันดาลความสุขสบายแก่ตนเองและวงศ์ตระกูลไปตลอดชาติต้องอันตรธานใน พริบตา นอกจากนี้ยังมีข่าวลือความขัดแย้งอื่นๆ ข่าวลือเรื่องการคิดจะแต่งงานใหม่ของราชวงศ์ชั้นสูงที่เป็นหม้ายเมื่อยังสาว รวมถึงข่าวลือเรื่องชู้สาว จนนำไปสู่ความขัดแย้งภายในราชวงศ์ที่เริ่มประทุมากขึ้น และการชิงดีชิงเด่นเพื่ออำนาจและผลประโยชน์อันมหาศาลซึ่งเป็นปกตินิสัยของ พวกศักดินาที่มีมาโดยตลอดหลายชั่วอายุคน...
โดยปกติวิสัยของรัชกาลที่ 8 ชอบสะสมปืนมาก และมีปืนของรัชกาลที่ 8 อยู่กระบอกหนึ่งซึ่งไกปืนอ่อนมาก และราชวงศ์บางท่านชอบเอาปืนไปจี้คนนั้นคนนี้ บางครั้งเอาปืนมาจ่อรัชกาลที่ 8 ทำท่ายิงเล่นๆ จนผู้คนในวังเห็นเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว แต่แล้วสิ่งที่ไม่มีใครคาดฝันก็ได้เกิดขึ้น
เมื่อเวลา 8.30 น. ของวันที่ 9 มิถุนายน 2489...... เสียงปืนดังขึ้น 1 นัด จากห้องบรรทม ชั้นบนของพระที่นั่งบรมพิมาน ต่อจากนั้นอีกไม่กี่นาที นายชิต ยามมหาดเล็ก วิ่งหน้าตื่นไปทูลพระราชชนนีว่า “ ในหลวงทรงยิงพระองค์ ” การสิ้นพระชนม์ของรัชกาลที่ 8 นั้น ศาลอาญา ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา สรุปตรงกันว่า เกิดโดยการลอบปลงพระชนม์ มิใช่การปลงพระชนม์เอง เพราะว่าแผลที่ทำให้พระองค์สวรรคตอยู่ที่หน้าผาก กระสุนทะลุออกทางท้ายทอย ซึ่งแสดงว่าไม่ใช่การฆ่าตัวตาย เพราะผู้ที่อัตวินิบาตกรรม ส่วนมากจะยิงขมับและหัวใจเท่านั้น นอกจากนี้ นายแพทย์ใช้ ยูนิพันธ์ ยังให้ความเห็นว่า แผลของพระองค์เกิดจากการอัตวินิบาตกรรมไม่ได้ เพราะวิถีกระสุนเฉียงลง ผู้ที่ยิงตนเอง ต้องยกด้ามปืน หันปากกระบอกปืนลง เป็นของทำได้ยาก
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่น่าสังเกตดังนี้
1. ผู้ที่ฆ่า คงมิใช่บุคคลอื่นที่อยู่นอกพระที่นั่งบรมพิมาน เพราะว่าได้มีการจัดทหาร ตำรวจวัง ล้อมรอบพระที่นั่งอย่างเข้มงวด รัชกาลที่ 8 สิ้นพระชนม์ในเวลา 9โมงเศษ ซึ่งในเวลานั้นจะมีผู้คนพลุกพล่านบนพระที่นั่ง
แล้วหลังจากที่ถูกยิงแล้ว คณะแพทย์ส่วนใหญ่ได้ตรวจพระศพ และวินิจฉัยว่าแผลที่เกิดจากการยิงห่างจากหน้าผากไม่เกิน 5 ซม. แสดงว่าผู้ที่ยิงต้องเอาปืนกระชับยิงลงไปที่หน้าผาก ทั้งนี้เมื่อตรวจมุ้งของรัชกาลที่ 8 แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีรอยทะลุ แสดงว่าผู้ร้ายต้องเลิกมุ้งออก แล้วจึงเอาปืนจ่อยิงในหลวง โดยที่ “ผู้ที่ยิงต้องเป็นคนรูปร่างสูง แขนยาว” จึงจะทำได้สะดวก เพราะจากขอบเตียงถึงบาดแผลมีระยะห่างกันถึง 66 ซม. ถ้ารูปร่างเล็กแขนสั้นจะทำไม่ได้ จะเห็นว่าถ้าผู้ร้ายเป็นบุคคลอื่น ซึ่งไม่สนิทสนมกับรัชกาลที่ 8 มากๆแล้ว จะกระทำการดังกล่าวไม่ได้เลย เพราะเป็นการเสี่ยงภัยและไม่มีทางสำเร็จ เพราะพระองค์นอนตั้งแต่เวลา3ทุ่มของคืนวันที่ 8 มิ.ย. จนตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าตรู่ของวันที่ 9 มิ.ย. และเข้านอนถึงสองระยะย่อมหลับไม่สนิท เพราะปกติในหลวงไม่เคยตื่นสายกว่า 8.30 น. เลย ดังนั้นถ้ามีคนเลิกมุ้งย่อมมีเสียง เพราะมุ้งมีเหล็กทับอยู่ ทำให้พระองค์ต้องรู้ตัวก่อนที่ผู้ร้ายจะทำการได้
นอกจากนี้ถ้ามีผู้ร้ายภายนอกแอบเข้าไปในห้องบรรทม ก็ต้องเข้าไปในเวลากลางคืนและยิงในเวลานั้นเลย เพราะปลอดคน ทั้งหนีสะดวก มิใช่รอจนเวลาเช้าจึงยิง อันจะทำให้ต้องแอบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลานาน ซึ่งเป็นการเสี่ยงภัยมากกว่า และหากมีผู้ร้ายซ่อนตัวอยู่จริง ย่อมไม่อาจรอดสายตาพระชนนี และมหาดเล็กที่เข้าไปถวายน้ำมันละหุ่งให้รัชกาลที่ 8 ได้
2. ตามธรรมดานั้น ปรากฏในประวัติศาสตร์เสมอมาว่า มีการปลงพระชนม์เพื่อชิงราชสมบัติ ประโยชน์จากการตายของรัชกาลที่ 8 ผู้ที่น่าสงสัยที่สุดก็คือ ผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากกรณีสวรรคต ทั้งในด้านลาภยศและทรัพย์ศฤงคาร
3. คำให้การ มีพิรุธมากเพราะ-ทุกคนที่อยู่ในพระที่นั่งได้ยินเสียงปืนดังสนั่น ทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีแต่พระอนุชา (รัชกาลที่9) และพระชนนีเท่านั้นที่ไม่ได้ยินเสียงปืน
-พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ (ภายหลังได้เป็นท้าวอินทรสุริยา) นักเรียนพยาบาลรุ่นเดียวกับพระชนนี ให้การว่า ตนอยู่ในห้องพระอนุชา (รัชกาลที่ 9 ) 20 นาที ก่อนมีเสียงปืน และไม่พบพระอนุชา(รัชกาลที่9) ในห้องนั้นเลย
-พระอนุชา(รัชกาลที่ 9)บอกให้กรมขุนชัยนาทฯ ฟังว่า ขณะที่ผู้ร้ายยิงปืนนั้น ตนเองอยู่ในห้องของตน ขัดแย้งกับคำให้การของพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ ซึ่งอยู่ในห้องของพระองค์ในขณะนั้น
- นายเวศน์ สุนทรวัฒน์ มหาดเล็กหน้าห้องพระอนุชา (รัชกาลที่ 9)ให้การว่า แม้ห้องนอนของพระอนุชา มีประตูติดกับห้องเครื่องเล่น แต่ประตูนี้ปิดตายตลอดเวลา ถ้าพระอนุชา ต้องการจะเข้าห้องเครื่องเล่น จะต้องเข้าทางประตูด้านหน้าของห้องเครื่อง มิใช่เข้าทางประตูด้านหลังซึ่งติดต่อกับห้องของพระอนุชา
การที่พระอนุชา (รัชกาลที่ 9) ให้การว่าตนเข้าๆ ออกๆ ระหว่างห้องเครื่องเล่นกับห้องนอนตนเองนั้นน่าจะเป็นพิรุธ โดยปกติเมื่อ กินข้าวเช้าอิ่ม ท่านอาจจะเดินไปถึงหน้าห้องบรรทมของในหลวง(รัชกาลที่ 8) ก่อนเสียงปืนไม่นานนักและเข้าไปในห้องนั้น โดยที่นายชิตและบุศย์มิได้ห้ามปราม เพราะตามคำให้การของพระพี่เลี้ยงเนื่องนั้น ปรากฏว่าพี่น้องคู่นี้นั้น ถ้าผู้ใดตื่นก่อน มักจะเข้าไปยั่วเย้าอีกคนหนึ่งให้ตื่น ฉะนั้นนายชิตและบุศย์ ย่อมไม่สงสัยว่าเหตุใดพระอนุชาจึงเข้าไปในห้องในหลวง
ปัญหาสุดท้ายก็คือ จะเป็นเรื่องอุบัติเหตุได้หรือไม่ ไม่น่าจะเป็นอุบัติเหตุ เพราะถ้าเป็นการเอาปืนล้อกันเล่น ก็ไม่น่าจะถึงกับเอาปืนจ่อกระชับเข้าไปที่หน้าผากเป็นอันขาด ( ตามการตรวจแผลของนายแพทย์สุด แสงวิเชียร ) เพราะน่าจะย่อมรู้เหมือนกับคนอื่นทั่วไปว่า ปืนกระบอกนั้นไกอ่อน ถ้ากระชับปืนเข้าที่หน้าผากขนาดนั้น ย่อมเป็นการเสี่ยงภัยจนเกินไป สำหรับคำให้การของนายฉลาด เทียมงามสัจ ที่เฝ้าเครื่องเสวยอยู่มุขหน้านั้น เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการโกหกของตนเอง นายฉลาดยอมรับในศาลว่า ตั้งแต่ถูกเรียกตัวไปสอบสวน ก็ได้เบี้ยเลี้ยงจากสันติบาลวันละ 3 บาท นอกจากนี้หลังจากที่ถูกปลดจากสำนักราชวัง ฐานหย่อนความสามารถเมื่อเดือน ม.ค. 2491 ก็ยังได้รับการบรรจุเข้าทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความสนับสนุนของพนักงานสอบสวน ข้อที่ชี้ชัดได้ว่านายฉลาดโกหกก็คือ การที่นายฉลาด บอกว่าไม่เห็นผู้ร้ายวิ่งออกจากห้องบรรทมเลย นี่เป็นการโกหกชัดๆ เพราะเมื่อมีการปลงพระชนม์เกิดขึ้นแล้ว ผู้ร้ายที่ไหนจะยอมอยู่เป็นเหยื่อในห้องบรรทม จะต้องวิ่งหนีออกจากห้องนั้น
ส่วนนายชิตกับนายบุศย์นั้น ตกอยู่ในฐานะน้ำท่วมปาก พูดมากไม่ได้ เพราะการฟ้องร้องคดีสวรรคตนี้เกิดขึ้นหลังจากที่พวกทหารก่อรัฐประหารล้มล้าง รัฐบาลเลือกตั้ง ผลจากรัฐประหารทำให้พระพินิจชนคดี ซึ่งเป็นพวกของฝ่ายศักดินาได้เป็นอธิบดีกรมตำรวจ และดำเนินการสอบสวน นายชิตเองถูกฉีดยาให้เคลิบเคลิ้ม ถูกขู่เข็ญสารพัด ทั้งคู่รู้ดีว่า พวกศักดินาและพระพินิจฯ จะต้องเล่นงานพวกนายปรีดี พนมยงค์ให้ได้ โดยใช้กรณีสวรรคตเป็นเครื่องมือ ฉะนั้นถึงตนพูดความจริง ก็ไม่มีประโยชน์ ซ้ำจะเป็นอันตรายถึงครอบครัว จึงยอมสงบปาก หวังที่จะได้รับความเมตตาของศาล และอย่างน้อยที่สุด ทั้งคู่น่าจะได้รับคำรับรองจากศักดินาว่า ถ้าศาลตัดสินประหารชีวิต น่าจะได้รับการอภัยโทษ แต่เป็นที่น่าเสียใจที่ นายชิตและนายบุศย์ไม่ได้รับความปรานีแต่อย่างใด หลังจากที่เขาถูกตัดสินประหารชีวิต แม้จะถวายฎีกา ก็ไม่ได้รับการพิจารณา
จอมพล ป. เล่าว่าตนเอง ได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึง 3 ครั้ง แต่ท่าน ( รัชกาลที่ 9 ) ไม่ทรงโปรด อย่างไรก็ดี พวกศักดินาก็ฉลาดพอที่จะส่งเงินอุดหนุนจุนเจือ ครอบครัวผู้ถูกประหารชีวิตเสมอมา เพื่อป้องกันมิให้ครอบครัวผู้สิ้นชีวิตโวยวาย ซึ่งเรื่องนี้ นายปรีดี พนมยงค์ได้เปิดโปงไว้ในคำฟ้องคดีที่นายชาลี เอี่ยมกระสินธ์ หมิ่นประมาทนายปรีดีว่าครอบครัวผู้ตายได้รับการช่วยเหลือทางการเงินจากพระ ราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งพวกศักดินาก็ไม่กล้าโต้ตอบแต่อย่างใด
4. อำนาจมืดอันเกิดจากการรัฐประหารด้วยปืนของผิน ชุณหะวัณ แผ่ซ่านไปทั่ว มีความพยายามที่จะปกป้องพวกเดียวกัน และโยนบาปไปให้พวกของนายปรีดี พนมยงศ์ โดยการใช้วิธีการทุกอย่าง เช่น
-มีการสร้างพยานเท็จว่า ดร.ปรีดีและพวก ปรึกษากันว่าจะฆ่ารัชกาลที่ 8 ที่บ้านพระยาศรยุทธเสนี โดยมีนายตี๋ ศรีสุวรรณ เป็นผู้ล่วงรู้ความลับนี้
ในภายหลัง นายตี๋ ศรีสุวรรณ ยอมรับกับท่านปัญญานันทะ ภิกขุว่าตนให้การเท็จ นอกจากนี้ยังมีนายวงศ์ เชาวนะกวี ให้การว่าได้ยินนายปรีดีพูดกับตนว่า ต่อไปนี้นายปรีดีจะไม่ป้องกันราชบัลลังก์ ทั้งๆที่นายวงศ์มิใช่ผู้ที่สนิทชิดเชื้อกับนายปรีดี พอที่นายปรีดีจะพูดความลับ อันเป็นความเป็นความตายด้วย
-มีการทำลายหลักฐานต่างๆที่จะผูกมัดฆาตกร ในภายหลัง เช่น การสั่งให้พระพี่เลี้ยงเนื่อง ทำความสะอาดพระศพ แล้วยังให้หมอนิตย์ เวชวิศิษฐ์ เย็บบาดแผล เท่ากับเป็นการทำลายหลักฐาน นอกจากนี้ยังมีการผลัดเสื้อผ้าพระศพ โดยเฉพาะหมอนนั้นถูกนำไปฝัง หลังรัชกาลที่ 8 สวรรคตไปแล้ว 10 วัน ซึ่งพระยาชาติเดชอุดม เลขาธิการพระราชวังให้การว่าจะทำเช่นนี้ได้ต้องมี ผู้ใหญ่สั่ง มีการเคลื่อนย้ายพระศพรัชกาลที่ 8 ออกไปและมีผู้ยกเอาพระศพไปไว้
บนเก้าอี้โซฟาแทน การแตะต้องพระบรมศพนั้น มิใช่ว่าจะกระทำได้ง่ายๆ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้านายผู้ใหญ่ก่อนเท่านั้น
เมื่อรัฐบาลพลเรือนชุดก่อนที่จะถูกรัฐประหาร จะชันสูตรพระศพรัชกาลที่ 8 กลับถูกคัดค้านจาก กรมขุนชัยนาทและพระชนนีจนกระทำไม่ได้ แม้แต่ศาลฎีกา ก็พยายามช่วยเหลือผู้ต้องสงสัย
และโยนความผิดให้ผู้อื่น ดังจะเห็นได้ว่า
-มีเพียงสองคนเท่านั้นในคดีนี้ ที่ไม่ได้รับการตรวจพิสูจน์เขม่าปืนที่มือ เมื่อปรากฏว่ามีนายตำรวจคนหนึ่งเสนอให้ทำการพิสูจน์ด้วย ผลต่อมาปรากฏว่านายตำรวจผู้นั้นถูกสั่งปลดออกจากราชการ (พระอนุชาหรือรัชกาลที่ 9 และพระชนนีที่ไม่ได้รับการตรวจพิสูจน์เขม่าปืนที่มือ)
-ศาลหลีกเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามประมวลวิธีความอาญาซึ่งกำหนดว่า การซักค้านพยาน อันจะเกิดความเสียหายต่อจำเลย ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย ศาลกลับเดินเผชิญสืบผู้ต้องสงสัยบางรายที่สวิสเซอร์แลนด์ (พระอนุชาหรือรัชกาลที่ 9 และพระชนนี) ในวันที่ 12 และ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 โดยไม่ยอมให้จำเลยและทนายไปซักค้านด้วย แม้ผู้ต้องสงสัย ให้การสับสน ทนายจำเลยก็ซักค้านไม่ได้
นอกจากนี้ศาลฎีกายังหลีกเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามประมวลวิธีความอาญา เพราะว่าตามปกตินั้น คดีสำคัญๆจะต้องนำไปให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาวินิจฉัย แต่คดีสวรรคตเป็นคดีที่สำคัญกว่าคดีทั้งปวงในประวัติศาสตร์ ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกากลับไม่ได้วินิจฉัย มีเพียงผู้พิพากษา 5 คนเท่านั้น ที่เป็นผู้ตัดสินคดี ที่คณะศาลฎีกาไม่ยอมเอาคดีนำขึ้นสู่ที่ประชุมใหญ่ ก็เพราะไม่อยากให้มีผู้ที่จับได้ไล่ทัน และทำการคัดค้านนั่นเอง
- เพื่อให้ความผิดพ้นจากตัวผู้ต้องสงสัยบางราย ศาลฎีกาถึงกับประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์อย่าง นายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งคนผู้นี้ ศาลฎีกาไม่สามารถกล่าวออกมาได้ว่า เกี่ยวข้องกับคดีสวรรคตอย่างไร นอกจากอ้างซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า มีความใกล้ชิดกับนายปรีดี กระทั่งฆาตกรศาลก็วินิจฉัยไม่ได้ว่าใครเป็นผู้กระทำ ศาลกลับให้ฆ่านายเฉลียวเพียงเพราะนายเฉลียวใกล้ชิดกับนายปรีดี
เมื่อการสะสางคดีนี้จบลง โดยการมีแพะรับบาป ต้องคำพิพากษาประหารชีวิต 3 คนคือ นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศริน นายเฉลียว ปทุมรส ผู้ต้องสงสัยก็ได้หลบไปอยู่ต่างประเทศชั่วคราวระยะหนึ่งจึงกลับ เพื่อเป็นการหนีเสียงครหานินทาของประชาชน ก่อนที่คนทั้ง 3 จะถูกประหารชีวิต คนหนึ่งได้ขอพบเผ่า ศรียานนท์เป็นการส่วนตัว เผ่าก็คงจะบอกความลับนี้แก่ แปลก(จอมพลป.พิบูลสงคราม)และประภาส จารุเสถียร
การกำจัดรัชกาลที่ 8 นั้น นับว่าเป็นการยิงทีเดียวได้นก 2 ตัว คือ นอกจากจัดการกับรัชกาลที่ 8 ได้แล้ว ยังได้กำจัด ดร.ปรีดีซึ่งเป็นต้นตอทำลายผลประโยชน์ของพวกกลุ่มศักดินาอีกด้วย ปรีดีต้องลี้ภัยทางการเมืองไป ตั้งแต่ปี และได้ถึงแก่กรรมในต่างประเทศในที่สุด ส่วนเมียของ ร.ท.สิทธิชัย ชัยสิทธิเวชผู้ถูกระบุว่าเป็นมือปืน แล้วหนีตาม ดร.ปรีดีไปอยู่เมืองนอก ชื่อชะอุ่ม กลับได้รับตำแหน่งหัวหน้าแม่ครัวในวังสวนจิตรลดา ลูกทุกคนได้รับการส่งเสียให้เงินทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ และตัว ร.ท.สิทธิชัยเองก็กลับมาอยู่อาศัยที่ลาดพร้าว ซอย 101อย่างสุขสบาย โดยที่เจ้าตัวไม่ต้องทำมาหากินแต่อย่างใด หากเขาเป็นฆาตกรจริง ทำไมจึงยังทรงไว้วางพระทัยในตัวแม่ครัวปัจจุบัน และเหตุใดจึงไม่ให้มีการลงโทษตามตัวบทกฎหมาย เช่นเดียวกับที่เคยเล่นงานนายชิตและนายบุศย์ หลักฐานจากผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สวรรคตที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ได้ชี้อย่างเด่นชัดว่า ใครคือผู้ต้องสงสัยที่สุดกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ....









Read More »

หนังสือ การเมืองในอนุสวรีย์ท้าวสุรนารี-สายพิณ แก้วงามประเสริฐ (ต้องห้าม)

หนังสือ การเมืองในอนุสวรีย์ท้าวสุรนารี-สายพิณ แก้วงามประเสริฐ (ต้องห้าม)


วิทยานิพนธ์ "ภาพลักษณ์ท้าวสุรนารีในประวัตติศาสตร์ไทย"เป็นงานวิจัยที่ได้รับรางวัล วิทยานิพนธ์ดีเด่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2536 และต่อมาในปี พ.ศ. 2539 สำนักพิมพ์มติชนก็ได้นำมาปรับปรุงและเรียบเรียง แล้วตีพิมพ์ออกจำหน่ายในชื่อของ "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" งานชิ้นนี้ของ สายพิน แก้วประเสริฐ
ได้ตั้งคำถามที่สำคัญยิ่ง ต่อความเชื่อถึงการมีอยู่ของ ท้าวสุรนารีว่า เป็นความจริงมากน้อยเพียงใด ด้วยคำถามใหม่ๆ เช่น ทำไมจึงต้องเร่งสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นในปี พ.ศ. 2477, ทำไมต้องเร่งเปิดอนุสาวรีย์ทั้งที่ยังเป็นเพียงรูปปูนปลาสเตอร์แล้วทาสีทอง ทับเท่านั้น, เหตุใดจึงต้องเปลี่ยนท่าทางของท้าวสุรนารี
จากคำถามเหล่านี้ สายพินได้เริ่มค้นหาคำตอบด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์จนพบว่า วีรกรรมของท้าวสุรนารีถูกนำมาใช้เพื่อเป็นเป้าประสงค์ทางการเมือง ในทศวรรษ 2470 และนั่นคือที่มาที่ทำให้ท้าวสุรนารีเป็นสามัญชนคนแรกที่ทางการสร้าง อนุสาวรีย์ให้
การตีพิมพ์หนังสือดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสต่อต้านจากชาวโคราชเป็นจำนวนมาก เนื่องจากงานดังกล่าวเป็นการตั้งคำถามที่สั่นคลอนความเชื่อของชาวจังหวัด นครราชสีมาเป็นอย่างยิ่ง จนก่อให้เกิดการประท้วงที่ส่งผลให้ทางสำนักพิมพ์มติชน ต้องตัดสินใจเก็บหนังสือดังกล่าวออกจากตลาดไปในที่สุด ในขณะที่ผู้เขียนซึ่งเป็นครู ก็ถูกย้ายจากโรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา อำเภอปักธงชัย จ. นครราชสีมาด้วยเช่นกัน
ที่น่าสังเกตุคือ งานชิ้นดังกล่าวนี้เมื่อขณะที่ยังเป็นวิทยานิพนธ์อยู่ในมหาวิทยาลัยนั้น ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่เมื่อกลายเป็นหนังสือเล่มที่วางขายในท้องตลาดกลับก่อให้เกิดความขัดแย้ง รุนแรง สิ่งที่น่าตั้งคำถามคือ สาเหตุเป็นเพราะหนังสือเล่มนี้อยู่ผิดที่ผิดทาง หรือเป็นเพราะอยู่ในสังคมที่ไม่ยอมรับความเชื่อที่แตกต่าง และพร้อมที่จะจัดการกับความเชื่อที่แตกต่างด้วยกำลังกันแน่

https://www.mediafire.com/…/การเมืองในท้าวสุรนารี-สายพิน_แก…





Read More »

หนังสือ วีรสตรีจีนปฏิวัติ-หลิวกูหลาน(ต้องห้าม)

หนังสือ วีรสตรีจีนปฏิวัติ-หลิวกูหลาน(ต้องห้าม)


"เพื่อลัทธิความเชื่อถือของพวกเขา พวกเขายอมสละสิ่งอื่นๆทั้งหมด ใช้เนื้อและกระดูกต้านปลายหอกของศัครูจนทู่ ใช้เลือดสาดเปลวเพลิงจนดับ ภายใต้แสงสลัวจากคมดาบนั้น สามารถมองเห็นความสว่างรางๆจากขอบฟ้าสาง นั่นคือ แสงอาทิตย์อุทัยแห่งศวรรษใหม่นั่นเอง"
++++เป้าหมายของการปฏิวัติมันคือ การเปลี่ยนแปลงโชคชะตา คนหนุ่มสาวสละชีพเพื่อให้คนที่ยังอยู่มีชีวิตที่ดีขึ้น แม้ว่าผู้ทำการปฏิวัติจะไม่อยู่ได้เห็นมันก็ตาม+++++

Read More »

หนังสือ นิพนธ์ปรัชญา4บท - เหมาเจ๋อตุง (ต้องห้ามน่าอ่าน)

หนังสือ นิพนธ์ปรัชญา4บท - เหมาเจ๋อตุง (ต้องห้ามน่าอ่าน)

 

เป็นผลงานชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของวงการหนังสือปรัชญาและมีค่าควรแก่การศึกษา แม้ว่าในรูปธรรมในหนังสือจะเป็นประเทศจีน แต่เราก็สามารถนำมาปรับใช้กับสังคมไทยได้ แม้ว่าปัจจุบันไทยจะไม่ได้เป็นประเทศสังคมนิยมก็ตาม และคงจะมีประโยชน์แก่ผู้ใฝ่หาความรู้ความก้าวหน้าทางปรัชญาอยู่บ้าง
...................................................
ว่าด้วยการปฏิบัติ
ว่าด้วยความขัดแย้ง
ความคิดของคนเรามาจากไหน?
วิธีแก้ไขความขัดแย้งนหมู่ประชาชน
http://www.mediafire.com/…/หนังสือ_นิพนธ์ปรัชญา4บท-เหมาเจ๋อ…
Read More »

หนังสือ โลกคอมมิวนิสย์-สุพจน์ ด่านตะกูล(ต้องห้ามที่แนะนำว่าควรศึกษา)

หนังสือ โลกคอมมิวนิสย์-สุพจน์ ด่านตะกูล(ต้องห้ามที่แนะนำว่าควรศึกษา)

 

ความกลัวคอมมิวนิสย์นั้นได้มีมาตั้งแต่สมัยที่คาร์ลมาร์กซ์ยังมีชีวิตอยู่ และแม้ก่อนหน้านั้น ในจดหมายที่เองเกลส์มีไปถึงมาร์กซ์ก็พูดถึงเรื่องนี้ว่า ที่เยอรมันพวกศักดินาเรียกพวกที่คัดค้านระบบเจ้าศักดินาว่าเป็นพวกคอมมิ วนิสย์ สารวัตรตำรวจก็เป็นคอมมิวนิสย์ คนให้กู้เงินก็เป็นคอมมิวนิสย์ ใครๆที่คัดค้านระบบการปกครองเยอรมันสมัยนั้นก็ถูกเรียกว่าเป็นคอมมิวนิสย์ หมด ก็เช่นเดียวกับในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย ที่ชนชั้นปกครองประเทศนั้นๆ มักจะกล่าวหาผู้ที่คัดค้านรัฐบาล,ศักดินา และยืนอยู่ข้างประชาชนว่าเป็นคอมมิวนิสต์
การกล่าวหาใครต่อใครอย่างพล่อยๆว่าเป็นคอมมิวนิสต์เช่นนี้ แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้กล่าวนั้นๆว่าไม่รู้เรื่องคอมมิวนิสย์แม้แต่น้อย
เพราะการกล่าวหาว่าใครเป็นคอมมิวนิสย์นั้น ในทางกลับกันก็เท่ากับเป็นการประกาศเกียรติคุณของผู้ถูกกล่าวหานั้นๆว่า เป็นผู้ที่ถึงแล้วซึ่งคุณธรรมอันสูงส่ง เพราะคอมมิวนิสย์โดยแท้จริงนั้นรักมนุษยชาติ,รักสันติ,รักความเป็นธรรมและ ไม่เบียดเบียนต่อกัน
ท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พรมยงค์ ไๆด้กล่าวไว้อย่างถูกต้องในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยฉบับบวัน ที่26กันยายน2518มีความตอนหนึ่งว่า "ผมปราถนาอยู่อย่างหนึ่งว่า ใครที่อยากเป็นคอมมิวนิสต์ก็ขอให้ศึกษาของเขาจริงๆ ใครที่อยากต่อต้านคอมมิวนิสต์ก็ค้องศึกษาของเขาด้วย ต้องศึกษาให้รู้เสียก่อน เพราะการกล่าวหาว่าคนนั้นคนนี้เป็นคอมมิวนิสย์ ก็เท่ากับว่าหาคนให้คอมมิวนิสย์ คอมมิวนิสต์อยู่เฉยๆก็ได้พวก"
ถึงอย่างไรก็ดี ในการพิจารณา โลกคอมมิวนิสต์ ก็จงพิจารณาด้วยดวงจิตที่ปราศจากโมหคติ และปราศจากทั้งศรัทธานุสติด้วย แต่จงพิจารณาด้วยสติแห่งกาลามสูตร 






Read More »

หนังสือ"ความเป็นมาขอคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" -จิตร ภูมิศักดิ์(ต้องห้าม)

หนังสือ"ความเป็นมาขอคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" -จิตร ภูมิศักดิ์(ต้องห้าม)

หนึ่งในหนังสือหายาก โดยนักคิดผู้เป็นอัฉริยะที่สุดคนหนึ่งที่สังคมไทยเคยมีมา จิตร ภูมิศักดิ์ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มสุดท้ายที่จิตรได้แต่งขึ้นไว้ขณะถูกจำ คุกลาดยาว ต้นฉบับรอดการการทำลายในยุคตุลา-ตุลาด้วยการเก็บฝังดิน แม้ยังเขียนไม่เสร็จสิ้นดี แต่ได้รับการกล่าวขานไว้ว่า เป็นหนึ่งในหนังสือ 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน
สารบัญ
คำนำ
ภาคที่ 1 พื้นฐานทางนิรุกติศาสตร์และประวัติศาสตร์
บทที่ 1 ร่องรอยของ "สยาม" ในปัจจุบัน
บทที่ 2 ชานและชาม
บทที่ 3 ชานและสยาม
บทที่ 4 ร่องรอยของสยามในจารึกพะม่า
บทที่ 5 สฺยามฺ ในจารึกจามปา
บทที่ 6 สฺยํ ในจารึกเขมร
บทที่ 7 สฺยํ และ เสียม
บทที่ 8 จะตามหา สฺยํกุกฺ อย่างไร
บทที่ 9 ชาวเสียมแห่งลุ่มแม่น้ำกก แหล่งอารยธรรมไทยสมัยก่อนยุคสุโขทัย
บทที่ 10 นี่เสียมกุก!
บทที่ 11 สฺยํ ในจารึกสมัยก่อนนครหลวง
บทที่ 12 สยามและอัสสัม
บทที่ 13 โกสามพี และ ลาวเฉียง
บทที่ 14 สยามในความรับรู้ของจีน
บทที่ 15 ที่มาของสยาม สมมุติฐานทางนิรุกติศาสตร์และทางสังคม
บทที่ 16 ที่มาและความหมายของสยามตามความเห็นในอดีต
บทที่ 17 สยาม - ความเป็นมาในภาษาไทย

ภาคที่ 2 ชื่อชนชาติและฐานะทางสังคม
บทที่ 1 ลักษณะสองด้านของชื่อชนชาติ
บทที่ 2 มิลักขะ - กิราต - นิษาท - ทาส และนาคผู้ยืนหยัดประกาศความเป็นคน
บทที่ 3 วิญญาณมนุษย์
บทที่ 4 ความสัมพันธ์ทางสังคมกับชื่อชนชาติ
บทที่ 5 ข่า และปรัชญาแห่งความเป็นทาส
บทที่ 6 ลาวเทิง - ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้
บทที่ 7 ไท-ไต ชื่อที่ยืนยันความเป็นคน
บทที่ 8 ไท-ไต และคนเมือง ปฏิกริยาตอบโต้ของชาติไต
บทที่ 9 วิวัฒนาการของคำว่า ไท และ ลาว
บทที่ 10 ทางโน้มแห่งความหมายของคำ "สยาม"
ภาคผนวก ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม
http://www.mediafire.com/…/หนังสือ_ความเป็นมาของคำสยาม_ไทย_…
Read More »

หนังสือ โฉมหน้าจีนใหม่-องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ต้องห้าม)

หนังสือ โฉมหน้าจีนใหม่-องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ต้องห้าม)

เล่มนี้ในอดีตผู้มีอำนาจในบ้านเมืองสมัยหนึ่งเคยประกาศเป็นหนังสือต้องห้าม แต่ปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ได้กลายเป็นหนังสือดี100 เล่ม ที่คนไทยต้องอ่าน

http://www.mediafire.com/…/45kqc…/หนังสือ_โฉมหน้าจีนใหม่.pdf

Read More »

*Anti WAKE UP ALL THAIS ประจำวันที่ 25-02-58 เมื่อสามสถาบันของชาติเกิดวิกฤติ มันจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง

Read More »

Saturday, February 21, 2015

*Anti WAKE UP ALL THAIS ประจำวันที่ 18-02-58 เปรมยึดซากลุงสมชาย-พระบรมรอเวลาล้างแค้นเปรม

Read More »

*Anti WAKE UP ALL THAIS ประจำวันที่ 11-02-58 2 ภาพใหญ่ทางการเมือง

Read More »

**Anti WAKE UP ALL THAIS ประจำวันที่ 4-02-58 ทางบังคับไทยต้องเดินไปสู่สถานการณ์แตกหัก

Read More »

Friday, January 16, 2015

วิกฤตการเมืองไทย วันที่ 6 มกราคม 2558 คนไทยจะได้เสรีภาพเมื่อทุนใหม่ถูกทำลาย จึงเปลี่ยนใจกลับมาสู้ กับคุณแอนตี้ คุณยุทธ และคุณมนตรี

วิกฤตการเมืองไทย วันที่ 6 มกราคม 2558 คนไทยจะได้เสรีภาพเมื่อทุนใหม่ถูกทำลาย จึงเปลี่ยนใจกลับมาสู้
กับคุณแอนตี้ คุณยุทธ และคุณมนตรี


http://www.mediafire.com/…/9ile92c1zefjf…/rec0105-182334.mp3

Read More »

*Anti WAKE UP ALL THAIS ประจำวันที่ 14-01-58 ยิ่งลักษณ์จะไม่รอด & ทหารจะสืบทอดอำนาจต่อจากสถาบันกะสัตว์

*Anti WAKE UP ALL THAIS ประจำวันที่ 14-01-58 ยิ่งลักษณ์จะไม่รอด & ทหารจะสืบทอดอำนาจต่อจากสถาบันกะสัตว์


https://www.mediafire.com/?agb3tcgda11f0tv


http://www.4shared.com/…/Anti_WAKE_UP_ALL_THAIS__14-01-.html?

http://www.2shared.com/…/Anti_WAKE_UP_ALL_THAIS__14-01-.html

Read More »

Thursday, January 15, 2015

เรื่อง 30 บาท รักษาทุกโรค

‪#‎กูปลูกปัญญา‬ + ‪#‎กูกัดไม่ปล่อย‬
 
เรื่อง 30 บาท รักษาทุกโรค

1. เปิดเรื่อง จากบทความของ The Guardian ที่ อมรรตยา เสน ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่ได้ยกย่อง "โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค" ของประเทศไทย

2. ความเป็นมาของ 30 บาท รู้ไว้ใช่ว่า

3. ย้อนกลับมาดูในไทย เรื่องการรักษาพยาบาล สมัยก่อนปี 2544

4. ทหารเอาไปโชว์

5. ย้อนไปเมื่อเริ่มต้นนโยบาย ในปี 2544 ใครบ้าง ที่ต่อต้าน ค้าน โจมตี นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค

ในอนาคต จะกล่าวถึงความพยายามในการล้มและแทรกแซง
ใครที่อ่านจบ ขอให้แชร์ออกไปมากๆ แทนการกดไลค์
- - - - - - - - - -
1. อมรรตยา เสน ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์
ยกย่อง "โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค" ของประเทศไทยว่า
เป็นนโยบายสาธารณสุขที่โลกควรเอาเป็นแม่แบบ
-
http://www.theguardian.com/…/-sp-universal-healthcare-the-a…
-
อมรรตยะ ได้ยกย่องนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ว่าเป็นนโยบายสาธารณสุขที่โลกควรเอาเป็นแม่แบบ และได้กล่าวชื่นชม ให้เป็นตัวอย่างของโลก ที่ให้หลักประกันสุขภาพกับประชาชน โดยชี้ให้เห็นความสำคัญของการมีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อีกทั้งยังยกให้ประเทศไทยเป็นประเทศตัวอย่าง ที่นโยบายทางการเมืองสามารถผลักดันให้มีหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชน จนทำให้ไทยอัตราการตายลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด
-
ผลจากโครงการดังกล่าว ทำให้อัตราการตายของเด็กแรกเกิดลดต่ำลงจนเหลือเพียง 11 ใน 1,000 คน อายุขัยโดยเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 74 ปี ตัวเลขสำคัญของอัตราการตายของเด็กแรกเกิดที่ลดลงนี้ ได้กระจายไปทั้งในกลุ่มคน ยากจน และคนรวย ถือเป็นดัชนีของการให้หลักประกันสุขภาพที่ลดช่องว่างในสังคม และเป็นนโยบายที่สร้างความเท่าเทียมกันในสังคมด้านการแพทย์
อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
- - - - - - - - - -
2. ความเป็นมาของ 30 บาท รู้ไว้ใช่ว่า
บางกลุ่มคนก็เริ่ม "ดัดจริต" ออกมาแก้ต่างว่า คนที่คิดนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคไม่ใช่ทักษิณ บางตัวก็บอกว่าเป็นของ "ชวน หลีกภัย" บางคนก็บอกว่าทักษิณไปลอก "นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์" มาเป็นของตนเอง
-
ความจริงก็คือ นโยบายนี้ เป็นแนวคิดในการจัดระบบประกันสุขภาพ แบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ที่คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์และแพทย์ในทีมร่วมกันคิด นายแพทย์สงวน เป็นคนที่มีจรรยาบรรณ ผลักดันเรื่องหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน จนได้รับการขนานนามว่า "รัฐบุรุษแห่งวงการสาธารณสุขไทย" อย่าเอาไอ้คณบดีแพทยศาสตร์ศิริราช (ศ.นพ.อุดม นามสกุล "คนจนเป็นภาระ") กับ ปลัดสาธารณสุข (นกหวีดทองคำ) คนปัจจุบัน มาเทียบเลย มันต่างกันเยอะ
-
หมอสงวน " เคย " เอาเรื่องหลักประกันสุขภาพ ไปเสนอให้แก่ " รัฐบาล ที่มีนายกชื่อ นายชวน หลีกภัย " ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ เขาดูถูก ดูแคลนนโยบายนี้มาแต่ต้น นายชวน ได้บอกกับ หมอสงวนว่า "ทำไม่ได้จริงหรอก ใช้งบสูงเกินไป จะทำให้รัฐขาดทุน " เรื่องดังกล่าวก็ตกไป
-
พอช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ตอนนั้น " ไทยรักไทย " ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังหาเสียงอยู่ หมอสงวน ก็เอานโยบายนี้นี่แหละมาเสนอให้กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
-
เมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ฟังการนำเสนอจากหมอสงวนจนจบ ... ด้วยความทักษิณ เป็นคนบ้านนอกมาก่อน ครั้งหนึ่ง กูได้เคยฟังจากปากของท่านนายกทักษิณตอนท่านกล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับอนาคตประเทศ ไทยตอนปี 44 หรือ 45 นี่แหละ มีตอนหนึ่ง ที่พูดถึงเรื่อง 30 บาท และกูจำได้ติดหูมาจนทุกวันนี้ ทักษิณพูดว่า
-
"ผมเคยเป็นคนบ้านนอก ผมก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร ผมเคยเห็นชาวบ้านที่ต้องเงินเอาไปแอบ ไปซ่อนไว้เผื่อไว้รักษาตัวเองตอนเจ็บป่วย ผมเคยเห็นคนต้องขายนา ขายบ้าน ขายวัวควาย หรือเห็นแม้กระทั่งคนที่หมดตัว จากการรักษาพยาบาล พอคุณหมอสงวนนำโครงการนี้มาเสนอผม ผมรู้เลยว่า นี่คือการสร้างความมั่นคงในด้านสุขภาพของคนไทย เพราะหลักการของมันคือการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ลองคิดดูว่าคนไทยไม่ได้ป่วยพร้อมกันทีเดียว 60 ล้านคน ดังนั้นโครงการนี้ถ้าทำไปผมมั่นใจว่าจะดูแลคนไทยได้
-
การจะสร้างความมั่นคงแก่ประชาชนทำได้ง่ายๆ คือ ' ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ' นี่แหละ โครงการนี้ ที่จะลดรายจ่ายให้ประชาชนได้ทันที เพราะเมื่อประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง เข้าถึงการรักษา เขาก็จะหมดห่วง มีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดีหมดกังวล ก็จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนมีสุขภาพดี หมดห่วง สร้างรายได้เพิ่มขึ้น รัฐก็มีรายได้มากขึ้น คือสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น นี่คือความสำคัญของโครงการ 30 รักษาทุกโรค ที่ให้ประโยชน์ทั้งต่อประชาชนและรัฐ"
-
เมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เห็นด้วย และบอกว่านโยบายนี้ " ทำได้ " โดยนำมาประกาศเป็นนโยบายหาเสียง และเป็นนโยบายที่ประกาศในรัฐสภา จากนั้นก็ให้โอกาสหมอสงวน ได้เข้ามาบริหารจัดการ ในตำแหน่ง เลขาธิการ " สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ " หรือ สปสช. ร่วมกับคณะ (หนึ่งในคณะที่กูจำได้คือ อดีต ผอ.สำนักนโยบายและแผนของสปสช. คือ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข) แล้วมาจนถึงวันนี้ก็ทำได้จริงๆ อย่างที่พูด เรียกได้ว่าเป็นผลงานเด่นของรัฐบาลไทยรักไทย เลยทีเดียว เพราะสามารถนำนโยบายที่หลายคนคิดว่าไม่น่าจะทำได้ แต่ "ทักษิณ" ให้โอกาสทำ และทำได้เสียด้วย
-
ทั้งนี้ คุณหมอสงวนเขาก็ไม่ได้ซีเรียสหรือออกมาดีดดิ้นว่า ทักษิณขโมยผลงานแต่อย่างใด คนที่ดีดดิ้น จะเป็นจะตาย ก็เห็นจะมีแต่ประชาธิปัตย์ เพราะถือว่าแพ้อย่างย่อยยับจากนโยบายนี้ และด้วยความร่วมมือของคณะรัฐประหาร ทั้ง คมช. และ คสช. ที่พยายามจะแทรกแทรงการบริหารจัดการของ สปสช. เพื่อดึงงบประมาณกลับไปสู่กระทรวงสาธารณสุข จะได้ "แดก" กันง่ายๆ อย่างที่เคยทำกันมา (ดีดดิ้นอย่างไร อ่านให้จบจนถึงตอนท้าย)
-
ปัจจุบันคุณหมอสงวน เสียชีวิตไปแล้ว ในปี พ.ศ.2551 ด้วยวัย 55 ปี
เป็นบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่น่าชื่นชมคนหนึ่งของไทยเลยทีเดียว
- - - - - - - - - -
3. ย้อนกลับมาดูในไทย เรื่องการรักษาพยาบาล สมัยก่อนปี 2544 กันบ้าง
ในยุคก่อนปี 2544 การรักษาพยาบาลผู้ป่วย แยกเป็นสองแบบ คือ
-
1) คนไข้มีฐานะที่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองได้
-
2) คนไข้อนาถาหรือผู้ป่วยรายได้น้อยที่ต้องได้รับการสงเคราะห์จากรัฐ
-
การปฏิบัติต่อคนไข้ในการรักษาพยาบาลบางครั้ง (จริงๆ คือส่วนใหญ่) ก็ปฏิบัติไม่เหมือนกัน เพราะได้แยกชนชั้นของผู้ป่วยไว้อย่างชัดเจนในเบื้องแรก ประเภทหนึ่งมาเพื่อสร้างรายได้ แต่อีกฝ่ายมาเป็นภาระ ก็คงจะเป็นธรรมดา ที่การปฏิบัติย่อมไม่เหมือนกัน
-
จากสภาวะการแบ่งชนชั้นของผู้ป่วย ในลักษณะดังกล่าวนี้เอง จึงมีผู้ป่วยมากมายหลายคนต้องเสียชีวิตไป เพียงเพราะความจนของเขา และชาวบ้านบางส่วนไม่กล้ามาหาหมอที่โรงพยาบาล เพราะกลัวว่าจะไม่มีเงินจ่าย บางคนถึงกับต้องขายวัว ขายควาย ขายไร่ขายนามา เพื่อจ่ายค่ารักษาพยาบาล เพราะไม่มีใครอยากเป็นคนไข้อนาถา ถูกมองเหยียดจากผู้ให้บริการว่าเป็นภาระ
-
ในยุคก่อนปี 2544 มีเหตุการณ์ที่เกิดบ่อยๆ ในสังคม นั่นก็คือ "ภาวะล้มละลายจากการเจ็บป่วย" พอหายป่วยแต่ต้องมาตายทั้งเป็นเพราะหมดตัว หมดเครื่องมือทำกิน ไปกู้หนี้ยืมสินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากตัวเองไม่มีเงิน มีภาพที่เกิดขึ้นจนชินตา ก็คือ ภาพพี่น้องคนไทยที่กำเงินมาโรงพยาบาลด้วยมือที่ชุ่มเหงื่อ เพราะเงินที่กำอยู่เป็นเงินที่ไปกู้เขามา คนที่หมดหนทางจริงๆ จึงจะมาโรงพยาบาลด้วยความหดหู่ เพราะต้องถือบัตรผู้มีรายได้น้อย มาขอทานการรักษาพยาบาล เหมือนกับไม่มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ทั้งๆ ที่เงินที่โรงพยาบาลเอาไปสงเคราะห์เขา ก็เป็นเงินจากภาษีของเขานั่นแหละ
-
แต่เพราะ " ความไม่รู้ " เลยกลายเป็นว่า การสงเคราะห์ ในการรักษานั้นได้สร้างนักบุญในความรู้สึกของชาวบ้านขึ้นมา ทำให้บางอาชีพ ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งบุญคุณ ทั้งที่แท้แล้ว มันคือหน้าที่ ... เพราะใครที่เลือกจะทำอาชีพนี้ย่อมเป็นหน้าที่ ... แต่การทำหน้าที่ได้ดี หรือไม่ดี นั่นต่างหาก คือ ความแตกต่าง
-
เพราะภาพความหดหู่ และความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ต่อเพื่อนร่วมชาติ จึงทำให้มีแพทย์กลุ่มหนึ่ง มีความคิดที่จะวางระบบการจัดการ การรักษาพยาบาล โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการรักษา ด้วยแนวคิดการ "เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข" ซึ่งเป็นแนวคิดการประกันสุขภาพของประชาชนทุกคนในประเทศ
-
ผู้ที่นำแนวคิดนี้นำเสนอต่อพรรคการเมือง รณรงค์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ คือ คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์
-
ดังคำกล่าวของ หมอสงวนที่ว่า
-
"ผมเชื่อว่า คงเป็นความต้องการของหลายๆ คนที่เคยสัมผัสพบเห็น บางทีเราดูหนัง เห็นคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย เมื่อถึงเวลา ต้องรักษาพยาบาล ต้องขายที่นา ขายวัวควาย บางคน อาจไม่รู้หรอกว่า คนบ้านนอก เจอสภาพอย่างนั้นจริงๆ ถึงเราจะมีโครงการ ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในอดีต แต่ชาวบ้านที่ไปใช้บริการ ยังมีความรู้สึกไม่มั่นใจ หรือไม่มีศักดิ์ศรี ไม่กล้าพูด เพราะถ้าเป็นไปได้ เขาจะพยายามหาเงินทองมารักษา ถ้าหาไม่ได้ พอเรารักษาเสร็จ เคยมีชาวบ้าน เอาแมงกีนูนมาให้กิน เป็นการตอบแทน"
-
ด้วยความที่หมอ สงวน ไปเป็นแพทย์ในชนบทอีสาน ได้เห็นความทุกข์ยากของประชาชนผู้เจ็บป่วย และเห็นความหดหู่ไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนป่วยอนาถาที่มาโรงพยาบาล เขาจึงนำเสนอโครงการประกันสุขภาพต่อพรรคการเมือง
-
พรรคชนชั้นกลางอย่างประชาธิปัตย์ ซึ่งมีแต่ผู้ลากมากดี จึงปฏิเสธโครงการนี้ไป แต่อีกพรรคหนึ่ง ซึ่งมีหัวหน้าพรรค เคยเป็นเด็กที่โตมากับความบ้านนอก เขาเข้าใจความลำบากนั้นเป็นอย่างดี และเขาจึงให้โอกาสหมอสงวน ให้นโยบายนี้ได้เป็นจริง จนทุกวันนี้ คนคนนั้นคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
- - - - - - - - - -
4. ทหารเอาไปโชว์
ข่าวเมื่อไม่นานมานี้ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557
คสช. ก็นำเอาโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ไปเสนอที่เวทีสหประชาชาติ (UN)
-
เมื่อวันที่ 24 กันยายน นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์หลังเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 69 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
-
นายสหศักดิ์กล่าวว่า การอภิปรายของไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนหลังปี 2015 รวมถึง ภารกิจหลายประการที่ชาติสมาชิก จะต้องทำให้สำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ อาทิ การกำจัดความยากจน ให้การศึกษา สาธารณสุข ที่ไทยประสบความสำเร็จในการให้คนเข้าถึงการรักษาโรค หรือ " โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค "
-
ข่าวประกอบ
1) http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1411704847
2) http://news.voicetv.co.th/thailand/119052.html
- - - - - - - - - -
5. ย้อนไปเมื่อเริ่มต้นนโยบาย ในปี 2544 ใครบ้าง ที่ต่อต้าน ค้าน โจมตี นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค
-
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 มีการเปิดประชุมสภา และมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงแนวคิดของโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค โดยผู้ที่โจมตีโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค หลักๆ มี 2 คน คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายชวน หลีกภัย (หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น)
-
เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2544 กรุงเทพธุรกิจรายงานข่าว ว่า
-
ประชาธิปัตย์ โวยลั่น " อุทัย พิมพ์ใจชน " ตัดเกมสภา ปิดไมค์ " อภิสิทธิ์ " ที่กำลังถล่มนโยบายหลักของรัฐบาล อ้างหมดเวลาอภิปราย หลังจากที่ดาวรุ่งจากพรรคประชาธิปัตย์ ชำแหละนโยบาย "การตลาดนำการเมือง" ของพรรคไทยรักไทย พร้อมจี้ให้ยอมรับว่า มีบางนโยบายทำไม่ได้อย่างที่หาเสียง
-
ในการแถลงนโยบายต่อสภาของรัฐบาลวันที่ 2 วานนี้ พรรคไทยรักไทย ได้เผยไม้เด็ดในการจัดการกับฝ่ายค้านที่จะอภิปรายโจมตีรัฐบาล โดยนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา จากพรรคไทยรักไทย ได้จัดการการอภิปรายของฝ่ายค้านได้อย่างชะงัด ด้วยการปิดไมโครโฟนทันทีที่ครบกำหนดเวลา และสั่งปิดการอภิปรายตามกำหนด
-
ในการอภิปรายนโยบายรัฐบาล เมื่อวานนี้ บรรยากาศในช่วงเช้าไม่คึกคักเท่าใดนัก กระทั่งเวลาประมาณ 20.40 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นกล่าวอภิปราย โดยเริ่มต้นที่ประเด็นการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี จากนั้น มาถึง นโยบายกองทุนหมู่บ้าน ... "นโยบาย 30 บาทรักษาได้ทุกโรค" ... รวมทั้งการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
-
ทั้งนี้ การอภิปรายของนายอภิสิทธิ์ ได้ตั้งข้อสังเกตในการใช้จ่ายเงิน และที่มาของโครงการเหล่านั้น ที่อาจจะไม่เกิดขึ้นได้จริง หรือหากเกิดขึ้นได้ก็อาจจะเกิดผลกระทบต่อการใช้งบประมาณของรัฐบาล
-
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ ได้อภิปรายถึงการตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อ ให้เกิดรายได้ พร้อมกับวิจารณ์อย่างรุนแรง
-
นายอุทัย ซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้เตือนนายอภิสิทธิ์ ว่าหมดเวลาแล้ว แต่นายอภิสิทธิ์ ได้ขอต่ออีก 1 นาที ซึ่งนายอุทัย ก็ยินยอมให้อภิปรายต่อ
-
นายอภิสิทธิ์ จึงได้ตั้งข้อสังเกตต่อไป ว่า เอเอ็มซีแห่งชาติ นั้น เป็นการเน้นการรวมศูนย์การแก้ไขปัญหา ซึ่งสวนทางหลักการกระจายอำนาจ และความหลากหลายในการแก้ไขปัญหา เพราะแทนที่จะให้เจ้าหนี้กับลูกหนี้ตกลงกันเองก็จะกลายเป็นโครงสร้างกลางของ ภาครัฐมาจัดการ ซึ่งโครงสร้างที่ผูกขาดมากขึ้นเช่นนี้เป็นการสร้างขุมทรัพย์ของผู้ที่เกี่ยว ข้อง ถ้าได้ผู้มีอำนาจเหมือนนายทุนที่ต้องการผูกขาดก็อันตราย เพราะจะทำให้มีการคอรัปชั่นมากขึ้น
-
เมื่ออภิปรายมาถึงตรงนี้ นายอภิสิทธิ์ ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการคอรัปชั่น ไปยังนายปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รมว.มหาดไทย แต่ยังไม่ทันจะกล่าวอะไรต่อไปอีก นายอุทัย ได้ปิดไมโครโฟนของนายอภิสิทธิ์ โดยให้เหตุผลว่า หมดเวลาแล้ว
-
นายอภิสิทธิ์ ได้ขอต่อรองว่า จะขอสรุปโดยจะใช้เวลาอีกเพียงครึ่งนาทีเท่านั้น แต่นายอุทัย ก็ไม่ยินยอม นายอภิสิทธิ์ จึงกล่าวโดยไม่ใช้ไมโครโฟนอีกครู่หนึ่ง จึงยอมนั่งลง
-
หลังจากนั้น นายอุทัย ได้ให้ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมช.สาธารณสุข ชี้แจงนโยบาย 30 บาทรักษาได้ทุกโรค โดย น.พ.สุรพงษ์ ใช้เวลาชี้แจงประมาณ 30 นาที อธิบายถึงความจำเป็นในการทำโครงการนี้ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดว่า จะนำเงินงบประมาณจากที่ใดมาสนับสนุนโครงการตามที่ นายอภิสิทธิ์ ตั้งข้อสังเกต
-
เมื่อ น.พ.สุรพงษ์ อภิปรายจบแล้ว นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขอใช้สิทธิพาดพิง ชี้แจงการอภิปราย อีกประมาณ 2 นาที
-
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อนายชวน อภิปรายจบ
นายอุทัย ได้สั่งปิดการอภิปรายทันที
ทำให้นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์
ซึ่งมีคิวอภิปรายคนต่อไป ลุกขึ้นประท้วงนายอุทัย ว่า
ปล่อยให้ น.พ.สุรพงษ์ ชี้แจงจบแล้ว แต่ไม่ให้เขาพูดต่อ ได้อย่างไร
-
"ประธานกลัวว่าผมจะพูดอะไรหรือครับ" นายพิเชษฐ กล่าว
พร้อมกับยืนประท้วงต่อ จนนายอุทัย สั่งให้นั่งลง
โดยระบุว่า หากไม่นั่ง ก็จะไม่พูดด้วย
- - - - - - - - - -
(ที่มาของโฆษณายาแก้ริดสีดวง ยุค 15-20 ปีก่อน
ที่บอกว่า ทำไมคุณถึงไม่นั่ง เพราะลมมันเย็น - กูเพิ่มเอง)
- - - - - - - - - -
จากนั้น นายอุทัย ได้ชี้แจงว่า ไม่ได้กลัวอะไร พร้อมกับอ้างว่า ได้ตกลงกันก่อนหน้านี้แล้วว่า จะใช้เวลาประชุมกันถึงเวลา 21.30 น.เมื่อกล่าวจบ นายอุทัย ก็กล่าวว่า ขอปิดการประชุมพร้อมกับลุกออกจากบัลลังก์ทันที โดยไม่ฟังเสียง นายพิเชษฐ ที่พยายามประท้วงอยู่ด้านล่าง
- - - - - - - - - -
นายอภิสิทธิ์ ยืนยันว่า นโยบายหลายอย่างของรัฐบาลคลาดเคลื่อน ไปจากนโยบายที่พรรคไทยรักไทยประกาศไว้
-
นอกจากนี้ นโยบายเร่งด่วนที่มาจากวาระแห่งชาตินั้น แม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ยังยอมรับเป็นผู้นำไปบรรจุไว้ในร่างนโยบายด้วยตัวเองในวันสุดท้าย ก่อนที่จะแถลงต่อรัฐสภา ทำให้เชื่อว่าที่ไม่บรรจุไว้ตอนแรก เพราะรัฐมนตรีหลายคนก็ไม่มั่นใจว่าสามารถทำได้จริง
-
ซัดใช้การตลาดนำการเมืองหาเสียง
-
เขาขนานนามแนวทางของพรรคไทยรักไทยที่ใช้ในการหาเสียง ว่า เป็นนโยบายการตลาดนำการเมือง ซึ่งแม้จะตรงกับความต้องการของประชาชน แต่สภาพความเป็นจริงของประเทศไม่สามารถตอบสนองได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อประชาชนตัดสินใจเลือกมาแล้วรัฐบาลก็ไม่มีทางเลือก จะต้องเดินหน้าต่อไปเท่านั้น
-
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลต้องหยุดใช้การตลาดนำการเมือง เพราะไม่จำเป็นอีกต่อไปที่ต้องหาเสียง แต่รัฐบาลมีพันธะที่จะต้องนำนโยบายที่หาเสียงไว้มาปฏิบัติให้ดีที่สุด ซึ่งสังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดใจกว้าง อะไรที่เคยพูดเกินเลยไปถ้าอธิบายแล้วสังคมก็จะให้โอกาส แต่ต้องเริ่มจากการพูดความจริง ซึ่งตนหวังว่ารัฐบาลจะใช้เวทีนี้พูดความจริง แต่ผิดหวัง เพราะรัฐบาลยังใช้หลักพูดจาเอาใจเพื่อประคับประคองสถานการณ์ไปแบบวันต่อวัน
-
"ผมยกตัวอย่างเช่น กองทุนหมู่บ้าน ซึ่งความเข้าใจของคนทั้งประเทศไม่ตรงกับที่ท่านอธิบาย ความคาดหวังเขา คือ มีเงิน 1 ล้านบาทไปหมู่บ้าน แล้วเขาจะใช้จ่ายอะไรเป็นเรื่องของเขา เขาอาจคิดคำนวณไปแล้วว่าแต่ละครัวเรือนได้เท่าไหร่ เพราะสอดคล้องกับที่ท่านบอกว่านโยบายนี้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ถ้าท่านบอกว่าไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น เป็นกองทุนพัฒนาอาชีพ ต้องให้เสนอโครงการมาให้พิจารณา การกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่เป็นจริง เพราะกว่าจะได้ใช้เงินก็ไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
-
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นโยบายพักหนี้เกษตรกรนั้น ยอมรับว่า ตอนหาเสียงมีคำว่ารายย่อยจริง แต่เป็นการมาเติมเฉพาะช่วงท้ายของการหาเสียงเท่านั้น
-
30 บาท รักษาทุกโรค ยังพูดความจริงไม่หมด
จุดที่ นายอภิสิทธิ์ เน้นในการอภิปรายครั้งนี้ คือ โครงการรักษาทุกโรค 30 บาทของกระทรวงสาธารณสุข
-
เขากล่าวว่า นโยบายนี้ของพรรคไทยรักไทยโดนใจประชาชน เพราะเป็นการสร้างความหวัง ว่าประชาชนทุกคนจะอยู่ใต้ระบบการรักษาพยาบาลระบบเดียวกัน ไม่มีใครมีสิทธิเหนือใคร ทุกคนใช้บัตรประชาชนเดินเข้าโรงพยาบาล ก็สามารถรับการรักษาภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
-
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นโยบายนี้ รัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณเพิ่มอย่างแน่นอน โดยยกตัวอย่างการศึกษาว่า หากดำเนินการตามที่รัฐบาลประกาศ จะต้องใช้งบประมาณเพิ่มไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งเรื่องนี้ต้องบอกให้ประชาชนรับทราบ
-
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ตอนที่ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมช.สาธารณสุข คิดและทำนโยบายนี้ มีรายละเอียดเป็นหลักฐาน ว่า ผู้เข้าโครงการต้องจ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท แต่วันนี้ไม่มี ข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนไปเป็นอย่างไร เงินจะลอยมาได้เองเป็นไปไม่ได้
-
"การศึกษายังลงรายละเอียดว่าแม้เก็บภาษีท้องถิ่นเพิ่มแล้ว ยังต้องเอาเงินจากรัฐบาลกลาง อีกประมาณ 1 หมื่นล้านบาทต่อปี อันนี้ต้องบอกประชาชน"
-
เขายังกล่าวอีกว่า รัฐบาลต้องบอกด้วยว่า การดำเนินการ ต้องเลือกวิธีไหน ใช้การประกันสุขภาพให้เงินสมทบแต่ยกเว้นคนมีรายได้น้อยก็บอก หรือบอกว่าเลิกคิด แล้วเอาระบบสวัสดิการทั้งประเทศซึ่งทำได้ แต่ถ้าไปตรวจสอบทั่วโลกมีทางเลือกเกิดขึ้น คือ ต้องใช้เงินภาษีมากกว่าปัจจุบันมาก ต้องขึ้นภาษีเป็นร้อยละ 50-60 หรือบางประเทศถึงร้อยละ 80 ซึ่งต้องไปถามนักธุรกิจว่าพร้อมจ่ายหรือไม่ หรือมิเช่นนั้นก็ต้องให้โรงพยาบาลบริการไปเองตามงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบนี้ในประเทศอังกฤษคือ การรักษาบางโรค เช่น ผ่าตัดต้องรอคิวกันเป็นปี"
- - - - - - - - - -
ในลำดับถัดๆไป เดี๋ยวจะเขียนอธิบายว่า มีความพยายามในการล้มและแทรกแซง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อย่างไร มาเผยแพร่ ให้ประชาชน รู้เท่าทัน พรรคประชาธิปัตย์ และอำมาตย์ชั่ว
-
-
สำหรับท่านที่อ่านมา "โดยละเอียด" ทั้งหมด
กูขอสรุปให้ว่า โครงการนี้ เป็นอย่างไร ดังนี้
"หมอสงวนคิด ทักษิณให้ทำ คนระยำค้าน ทหารเอาไปโชว์"

Read More »