#กูปลูกปัญญา + #กูกัดไม่ปล่อย
เรื่อง 30 บาท รักษาทุกโรค
1. เปิดเรื่อง จากบทความของ The Guardian ที่ อมรรตยา เสน ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่ได้ยกย่อง "โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค" ของประเทศไทย
2. ความเป็นมาของ 30 บาท รู้ไว้ใช่ว่า
3. ย้อนกลับมาดูในไทย เรื่องการรักษาพยาบาล สมัยก่อนปี 2544
4. ทหารเอาไปโชว์
5. ย้อนไปเมื่อเริ่มต้นนโยบาย ในปี 2544 ใครบ้าง ที่ต่อต้าน ค้าน โจมตี นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค
ในอนาคต จะกล่าวถึงความพยายามในการล้มและแทรกแซง
ใครที่อ่านจบ ขอให้แชร์ออกไปมากๆ แทนการกดไลค์
- - - - - - - - - -
1. อมรรตยา เสน ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์
ยกย่อง "โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค" ของประเทศไทยว่า
เป็นนโยบายสาธารณสุขที่โลกควรเอาเป็นแม่แบบ
-
http://www.theguardian.com/…/-sp-universal-healthcare-the-a…
-
อมรรตยะ ได้ยกย่องนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ว่าเป็นนโยบายสาธารณสุขที่โลกควรเอาเป็นแม่แบบ และได้กล่าวชื่นชม ให้เป็นตัวอย่างของโลก ที่ให้หลักประกันสุขภาพกับประชาชน โดยชี้ให้เห็นความสำคัญของการมีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อีกทั้งยังยกให้ประเทศไทยเป็นประเทศตัวอย่าง ที่นโยบายทางการเมืองสามารถผลักดันให้มีหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชน จนทำให้ไทยอัตราการตายลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด
-
ผลจากโครงการดังกล่าว ทำให้อัตราการตายของเด็กแรกเกิดลดต่ำลงจนเหลือเพียง 11 ใน 1,000 คน อายุขัยโดยเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 74 ปี ตัวเลขสำคัญของอัตราการตายของเด็กแรกเกิดที่ลดลงนี้ ได้กระจายไปทั้งในกลุ่มคน ยากจน และคนรวย ถือเป็นดัชนีของการให้หลักประกันสุขภาพที่ลดช่องว่างในสังคม และเป็นนโยบายที่สร้างความเท่าเทียมกันในสังคมด้านการแพทย์
อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
- - - - - - - - - -
2. ความเป็นมาของ 30 บาท รู้ไว้ใช่ว่า
บางกลุ่มคนก็เริ่ม "ดัดจริต" ออกมาแก้ต่างว่า คนที่คิดนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคไม่ใช่ทักษิณ บางตัวก็บอกว่าเป็นของ "ชวน หลีกภัย" บางคนก็บอกว่าทักษิณไปลอก "นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์" มาเป็นของตนเอง
-
ความจริงก็คือ นโยบายนี้ เป็นแนวคิดในการจัดระบบประกันสุขภาพ แบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ที่คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์และแพทย์ในทีมร่วมกันคิด นายแพทย์สงวน เป็นคนที่มีจรรยาบรรณ ผลักดันเรื่องหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน จนได้รับการขนานนามว่า "รัฐบุรุษแห่งวงการสาธารณสุขไทย" อย่าเอาไอ้คณบดีแพทยศาสตร์ศิริราช (ศ.นพ.อุดม นามสกุล "คนจนเป็นภาระ") กับ ปลัดสาธารณสุข (นกหวีดทองคำ) คนปัจจุบัน มาเทียบเลย มันต่างกันเยอะ
-
หมอสงวน " เคย " เอาเรื่องหลักประกันสุขภาพ ไปเสนอให้แก่ " รัฐบาล ที่มีนายกชื่อ นายชวน หลีกภัย " ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ เขาดูถูก ดูแคลนนโยบายนี้มาแต่ต้น นายชวน ได้บอกกับ หมอสงวนว่า "ทำไม่ได้จริงหรอก ใช้งบสูงเกินไป จะทำให้รัฐขาดทุน " เรื่องดังกล่าวก็ตกไป
-
พอช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ตอนนั้น " ไทยรักไทย " ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังหาเสียงอยู่ หมอสงวน ก็เอานโยบายนี้นี่แหละมาเสนอให้กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
-
เมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ฟังการนำเสนอจากหมอสงวนจนจบ ... ด้วยความทักษิณ เป็นคนบ้านนอกมาก่อน ครั้งหนึ่ง กูได้เคยฟังจากปากของท่านนายกทักษิณตอนท่านกล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับอนาคตประเทศ ไทยตอนปี 44 หรือ 45 นี่แหละ มีตอนหนึ่ง ที่พูดถึงเรื่อง 30 บาท และกูจำได้ติดหูมาจนทุกวันนี้ ทักษิณพูดว่า
-
"ผมเคยเป็นคนบ้านนอก ผมก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร ผมเคยเห็นชาวบ้านที่ต้องเงินเอาไปแอบ ไปซ่อนไว้เผื่อไว้รักษาตัวเองตอนเจ็บป่วย ผมเคยเห็นคนต้องขายนา ขายบ้าน ขายวัวควาย หรือเห็นแม้กระทั่งคนที่หมดตัว จากการรักษาพยาบาล พอคุณหมอสงวนนำโครงการนี้มาเสนอผม ผมรู้เลยว่า นี่คือการสร้างความมั่นคงในด้านสุขภาพของคนไทย เพราะหลักการของมันคือการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ลองคิดดูว่าคนไทยไม่ได้ป่วยพร้อมกันทีเดียว 60 ล้านคน ดังนั้นโครงการนี้ถ้าทำไปผมมั่นใจว่าจะดูแลคนไทยได้
-
การจะสร้างความมั่นคงแก่ประชาชนทำได้ง่ายๆ คือ ' ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ' นี่แหละ โครงการนี้ ที่จะลดรายจ่ายให้ประชาชนได้ทันที เพราะเมื่อประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง เข้าถึงการรักษา เขาก็จะหมดห่วง มีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดีหมดกังวล ก็จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนมีสุขภาพดี หมดห่วง สร้างรายได้เพิ่มขึ้น รัฐก็มีรายได้มากขึ้น คือสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น นี่คือความสำคัญของโครงการ 30 รักษาทุกโรค ที่ให้ประโยชน์ทั้งต่อประชาชนและรัฐ"
-
เมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เห็นด้วย และบอกว่านโยบายนี้ " ทำได้ " โดยนำมาประกาศเป็นนโยบายหาเสียง และเป็นนโยบายที่ประกาศในรัฐสภา จากนั้นก็ให้โอกาสหมอสงวน ได้เข้ามาบริหารจัดการ ในตำแหน่ง เลขาธิการ " สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ " หรือ สปสช. ร่วมกับคณะ (หนึ่งในคณะที่กูจำได้คือ อดีต ผอ.สำนักนโยบายและแผนของสปสช. คือ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข) แล้วมาจนถึงวันนี้ก็ทำได้จริงๆ อย่างที่พูด เรียกได้ว่าเป็นผลงานเด่นของรัฐบาลไทยรักไทย เลยทีเดียว เพราะสามารถนำนโยบายที่หลายคนคิดว่าไม่น่าจะทำได้ แต่ "ทักษิณ" ให้โอกาสทำ และทำได้เสียด้วย
-
ทั้งนี้ คุณหมอสงวนเขาก็ไม่ได้ซีเรียสหรือออกมาดีดดิ้นว่า ทักษิณขโมยผลงานแต่อย่างใด คนที่ดีดดิ้น จะเป็นจะตาย ก็เห็นจะมีแต่ประชาธิปัตย์ เพราะถือว่าแพ้อย่างย่อยยับจากนโยบายนี้ และด้วยความร่วมมือของคณะรัฐประหาร ทั้ง คมช. และ คสช. ที่พยายามจะแทรกแทรงการบริหารจัดการของ สปสช. เพื่อดึงงบประมาณกลับไปสู่กระทรวงสาธารณสุข จะได้ "แดก" กันง่ายๆ อย่างที่เคยทำกันมา (ดีดดิ้นอย่างไร อ่านให้จบจนถึงตอนท้าย)
-
ปัจจุบันคุณหมอสงวน เสียชีวิตไปแล้ว ในปี พ.ศ.2551 ด้วยวัย 55 ปี
เป็นบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่น่าชื่นชมคนหนึ่งของไทยเลยทีเดียว
- - - - - - - - - -
3. ย้อนกลับมาดูในไทย เรื่องการรักษาพยาบาล สมัยก่อนปี 2544 กันบ้าง
ในยุคก่อนปี 2544 การรักษาพยาบาลผู้ป่วย แยกเป็นสองแบบ คือ
-
1) คนไข้มีฐานะที่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองได้
-
2) คนไข้อนาถาหรือผู้ป่วยรายได้น้อยที่ต้องได้รับการสงเคราะห์จากรัฐ
-
การปฏิบัติต่อคนไข้ในการรักษาพยาบาลบางครั้ง (จริงๆ คือส่วนใหญ่) ก็ปฏิบัติไม่เหมือนกัน เพราะได้แยกชนชั้นของผู้ป่วยไว้อย่างชัดเจนในเบื้องแรก ประเภทหนึ่งมาเพื่อสร้างรายได้ แต่อีกฝ่ายมาเป็นภาระ ก็คงจะเป็นธรรมดา ที่การปฏิบัติย่อมไม่เหมือนกัน
-
จากสภาวะการแบ่งชนชั้นของผู้ป่วย ในลักษณะดังกล่าวนี้เอง จึงมีผู้ป่วยมากมายหลายคนต้องเสียชีวิตไป เพียงเพราะความจนของเขา และชาวบ้านบางส่วนไม่กล้ามาหาหมอที่โรงพยาบาล เพราะกลัวว่าจะไม่มีเงินจ่าย บางคนถึงกับต้องขายวัว ขายควาย ขายไร่ขายนามา เพื่อจ่ายค่ารักษาพยาบาล เพราะไม่มีใครอยากเป็นคนไข้อนาถา ถูกมองเหยียดจากผู้ให้บริการว่าเป็นภาระ
-
ในยุคก่อนปี 2544 มีเหตุการณ์ที่เกิดบ่อยๆ ในสังคม นั่นก็คือ "ภาวะล้มละลายจากการเจ็บป่วย" พอหายป่วยแต่ต้องมาตายทั้งเป็นเพราะหมดตัว หมดเครื่องมือทำกิน ไปกู้หนี้ยืมสินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากตัวเองไม่มีเงิน มีภาพที่เกิดขึ้นจนชินตา ก็คือ ภาพพี่น้องคนไทยที่กำเงินมาโรงพยาบาลด้วยมือที่ชุ่มเหงื่อ เพราะเงินที่กำอยู่เป็นเงินที่ไปกู้เขามา คนที่หมดหนทางจริงๆ จึงจะมาโรงพยาบาลด้วยความหดหู่ เพราะต้องถือบัตรผู้มีรายได้น้อย มาขอทานการรักษาพยาบาล เหมือนกับไม่มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ทั้งๆ ที่เงินที่โรงพยาบาลเอาไปสงเคราะห์เขา ก็เป็นเงินจากภาษีของเขานั่นแหละ
-
แต่เพราะ " ความไม่รู้ " เลยกลายเป็นว่า การสงเคราะห์ ในการรักษานั้นได้สร้างนักบุญในความรู้สึกของชาวบ้านขึ้นมา ทำให้บางอาชีพ ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งบุญคุณ ทั้งที่แท้แล้ว มันคือหน้าที่ ... เพราะใครที่เลือกจะทำอาชีพนี้ย่อมเป็นหน้าที่ ... แต่การทำหน้าที่ได้ดี หรือไม่ดี นั่นต่างหาก คือ ความแตกต่าง
-
เพราะภาพความหดหู่ และความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ต่อเพื่อนร่วมชาติ จึงทำให้มีแพทย์กลุ่มหนึ่ง มีความคิดที่จะวางระบบการจัดการ การรักษาพยาบาล โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการรักษา ด้วยแนวคิดการ "เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข" ซึ่งเป็นแนวคิดการประกันสุขภาพของประชาชนทุกคนในประเทศ
-
ผู้ที่นำแนวคิดนี้นำเสนอต่อพรรคการเมือง รณรงค์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ คือ คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์
-
ดังคำกล่าวของ หมอสงวนที่ว่า
-
"ผมเชื่อว่า คงเป็นความต้องการของหลายๆ คนที่เคยสัมผัสพบเห็น บางทีเราดูหนัง เห็นคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย เมื่อถึงเวลา ต้องรักษาพยาบาล ต้องขายที่นา ขายวัวควาย บางคน อาจไม่รู้หรอกว่า คนบ้านนอก เจอสภาพอย่างนั้นจริงๆ ถึงเราจะมีโครงการ ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในอดีต แต่ชาวบ้านที่ไปใช้บริการ ยังมีความรู้สึกไม่มั่นใจ หรือไม่มีศักดิ์ศรี ไม่กล้าพูด เพราะถ้าเป็นไปได้ เขาจะพยายามหาเงินทองมารักษา ถ้าหาไม่ได้ พอเรารักษาเสร็จ เคยมีชาวบ้าน เอาแมงกีนูนมาให้กิน เป็นการตอบแทน"
-
ด้วยความที่หมอ สงวน ไปเป็นแพทย์ในชนบทอีสาน ได้เห็นความทุกข์ยากของประชาชนผู้เจ็บป่วย และเห็นความหดหู่ไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนป่วยอนาถาที่มาโรงพยาบาล เขาจึงนำเสนอโครงการประกันสุขภาพต่อพรรคการเมือง
-
พรรคชนชั้นกลางอย่างประชาธิปัตย์ ซึ่งมีแต่ผู้ลากมากดี จึงปฏิเสธโครงการนี้ไป แต่อีกพรรคหนึ่ง ซึ่งมีหัวหน้าพรรค เคยเป็นเด็กที่โตมากับความบ้านนอก เขาเข้าใจความลำบากนั้นเป็นอย่างดี และเขาจึงให้โอกาสหมอสงวน ให้นโยบายนี้ได้เป็นจริง จนทุกวันนี้ คนคนนั้นคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
- - - - - - - - - -
4. ทหารเอาไปโชว์
ข่าวเมื่อไม่นานมานี้ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557
คสช. ก็นำเอาโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ไปเสนอที่เวทีสหประชาชาติ (UN)
-
เมื่อวันที่ 24 กันยายน นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์หลังเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 69 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
-
นายสหศักดิ์กล่าวว่า การอภิปรายของไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนหลังปี 2015 รวมถึง ภารกิจหลายประการที่ชาติสมาชิก จะต้องทำให้สำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ อาทิ การกำจัดความยากจน ให้การศึกษา สาธารณสุข ที่ไทยประสบความสำเร็จในการให้คนเข้าถึงการรักษาโรค หรือ " โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค "
-
ข่าวประกอบ
1) http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1411704847
2) http://news.voicetv.co.th/thailand/119052.html
- - - - - - - - - -
5. ย้อนไปเมื่อเริ่มต้นนโยบาย ในปี 2544 ใครบ้าง ที่ต่อต้าน ค้าน โจมตี นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค
-
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 มีการเปิดประชุมสภา และมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงแนวคิดของโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค โดยผู้ที่โจมตีโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค หลักๆ มี 2 คน คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายชวน หลีกภัย (หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น)
-
เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2544 กรุงเทพธุรกิจรายงานข่าว ว่า
-
ประชาธิปัตย์ โวยลั่น " อุทัย พิมพ์ใจชน " ตัดเกมสภา ปิดไมค์ " อภิสิทธิ์ " ที่กำลังถล่มนโยบายหลักของรัฐบาล อ้างหมดเวลาอภิปราย หลังจากที่ดาวรุ่งจากพรรคประชาธิปัตย์ ชำแหละนโยบาย "การตลาดนำการเมือง" ของพรรคไทยรักไทย พร้อมจี้ให้ยอมรับว่า มีบางนโยบายทำไม่ได้อย่างที่หาเสียง
-
ในการแถลงนโยบายต่อสภาของรัฐบาลวันที่ 2 วานนี้ พรรคไทยรักไทย ได้เผยไม้เด็ดในการจัดการกับฝ่ายค้านที่จะอภิปรายโจมตีรัฐบาล โดยนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา จากพรรคไทยรักไทย ได้จัดการการอภิปรายของฝ่ายค้านได้อย่างชะงัด ด้วยการปิดไมโครโฟนทันทีที่ครบกำหนดเวลา และสั่งปิดการอภิปรายตามกำหนด
-
ในการอภิปรายนโยบายรัฐบาล เมื่อวานนี้ บรรยากาศในช่วงเช้าไม่คึกคักเท่าใดนัก กระทั่งเวลาประมาณ 20.40 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นกล่าวอภิปราย โดยเริ่มต้นที่ประเด็นการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี จากนั้น มาถึง นโยบายกองทุนหมู่บ้าน ... "นโยบาย 30 บาทรักษาได้ทุกโรค" ... รวมทั้งการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
-
ทั้งนี้ การอภิปรายของนายอภิสิทธิ์ ได้ตั้งข้อสังเกตในการใช้จ่ายเงิน และที่มาของโครงการเหล่านั้น ที่อาจจะไม่เกิดขึ้นได้จริง หรือหากเกิดขึ้นได้ก็อาจจะเกิดผลกระทบต่อการใช้งบประมาณของรัฐบาล
-
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ ได้อภิปรายถึงการตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อ ให้เกิดรายได้ พร้อมกับวิจารณ์อย่างรุนแรง
-
นายอุทัย ซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้เตือนนายอภิสิทธิ์ ว่าหมดเวลาแล้ว แต่นายอภิสิทธิ์ ได้ขอต่ออีก 1 นาที ซึ่งนายอุทัย ก็ยินยอมให้อภิปรายต่อ
-
นายอภิสิทธิ์ จึงได้ตั้งข้อสังเกตต่อไป ว่า เอเอ็มซีแห่งชาติ นั้น เป็นการเน้นการรวมศูนย์การแก้ไขปัญหา ซึ่งสวนทางหลักการกระจายอำนาจ และความหลากหลายในการแก้ไขปัญหา เพราะแทนที่จะให้เจ้าหนี้กับลูกหนี้ตกลงกันเองก็จะกลายเป็นโครงสร้างกลางของ ภาครัฐมาจัดการ ซึ่งโครงสร้างที่ผูกขาดมากขึ้นเช่นนี้เป็นการสร้างขุมทรัพย์ของผู้ที่เกี่ยว ข้อง ถ้าได้ผู้มีอำนาจเหมือนนายทุนที่ต้องการผูกขาดก็อันตราย เพราะจะทำให้มีการคอรัปชั่นมากขึ้น
-
เมื่ออภิปรายมาถึงตรงนี้ นายอภิสิทธิ์ ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการคอรัปชั่น ไปยังนายปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รมว.มหาดไทย แต่ยังไม่ทันจะกล่าวอะไรต่อไปอีก นายอุทัย ได้ปิดไมโครโฟนของนายอภิสิทธิ์ โดยให้เหตุผลว่า หมดเวลาแล้ว
-
นายอภิสิทธิ์ ได้ขอต่อรองว่า จะขอสรุปโดยจะใช้เวลาอีกเพียงครึ่งนาทีเท่านั้น แต่นายอุทัย ก็ไม่ยินยอม นายอภิสิทธิ์ จึงกล่าวโดยไม่ใช้ไมโครโฟนอีกครู่หนึ่ง จึงยอมนั่งลง
-
หลังจากนั้น นายอุทัย ได้ให้ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมช.สาธารณสุข ชี้แจงนโยบาย 30 บาทรักษาได้ทุกโรค โดย น.พ.สุรพงษ์ ใช้เวลาชี้แจงประมาณ 30 นาที อธิบายถึงความจำเป็นในการทำโครงการนี้ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดว่า จะนำเงินงบประมาณจากที่ใดมาสนับสนุนโครงการตามที่ นายอภิสิทธิ์ ตั้งข้อสังเกต
-
เมื่อ น.พ.สุรพงษ์ อภิปรายจบแล้ว นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขอใช้สิทธิพาดพิง ชี้แจงการอภิปราย อีกประมาณ 2 นาที
-
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อนายชวน อภิปรายจบ
นายอุทัย ได้สั่งปิดการอภิปรายทันที
ทำให้นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์
ซึ่งมีคิวอภิปรายคนต่อไป ลุกขึ้นประท้วงนายอุทัย ว่า
ปล่อยให้ น.พ.สุรพงษ์ ชี้แจงจบแล้ว แต่ไม่ให้เขาพูดต่อ ได้อย่างไร
-
"ประธานกลัวว่าผมจะพูดอะไรหรือครับ" นายพิเชษฐ กล่าว
พร้อมกับยืนประท้วงต่อ จนนายอุทัย สั่งให้นั่งลง
โดยระบุว่า หากไม่นั่ง ก็จะไม่พูดด้วย
- - - - - - - - - -
(ที่มาของโฆษณายาแก้ริดสีดวง ยุค 15-20 ปีก่อน
ที่บอกว่า ทำไมคุณถึงไม่นั่ง เพราะลมมันเย็น - กูเพิ่มเอง)
- - - - - - - - - -
จากนั้น นายอุทัย ได้ชี้แจงว่า ไม่ได้กลัวอะไร พร้อมกับอ้างว่า ได้ตกลงกันก่อนหน้านี้แล้วว่า จะใช้เวลาประชุมกันถึงเวลา 21.30 น.เมื่อกล่าวจบ นายอุทัย ก็กล่าวว่า ขอปิดการประชุมพร้อมกับลุกออกจากบัลลังก์ทันที โดยไม่ฟังเสียง นายพิเชษฐ ที่พยายามประท้วงอยู่ด้านล่าง
- - - - - - - - - -
นายอภิสิทธิ์ ยืนยันว่า นโยบายหลายอย่างของรัฐบาลคลาดเคลื่อน ไปจากนโยบายที่พรรคไทยรักไทยประกาศไว้
-
นอกจากนี้ นโยบายเร่งด่วนที่มาจากวาระแห่งชาตินั้น แม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ยังยอมรับเป็นผู้นำไปบรรจุไว้ในร่างนโยบายด้วยตัวเองในวันสุดท้าย ก่อนที่จะแถลงต่อรัฐสภา ทำให้เชื่อว่าที่ไม่บรรจุไว้ตอนแรก เพราะรัฐมนตรีหลายคนก็ไม่มั่นใจว่าสามารถทำได้จริง
-
ซัดใช้การตลาดนำการเมืองหาเสียง
-
เขาขนานนามแนวทางของพรรคไทยรักไทยที่ใช้ในการหาเสียง ว่า เป็นนโยบายการตลาดนำการเมือง ซึ่งแม้จะตรงกับความต้องการของประชาชน แต่สภาพความเป็นจริงของประเทศไม่สามารถตอบสนองได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อประชาชนตัดสินใจเลือกมาแล้วรัฐบาลก็ไม่มีทางเลือก จะต้องเดินหน้าต่อไปเท่านั้น
-
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลต้องหยุดใช้การตลาดนำการเมือง เพราะไม่จำเป็นอีกต่อไปที่ต้องหาเสียง แต่รัฐบาลมีพันธะที่จะต้องนำนโยบายที่หาเสียงไว้มาปฏิบัติให้ดีที่สุด ซึ่งสังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดใจกว้าง อะไรที่เคยพูดเกินเลยไปถ้าอธิบายแล้วสังคมก็จะให้โอกาส แต่ต้องเริ่มจากการพูดความจริง ซึ่งตนหวังว่ารัฐบาลจะใช้เวทีนี้พูดความจริง แต่ผิดหวัง เพราะรัฐบาลยังใช้หลักพูดจาเอาใจเพื่อประคับประคองสถานการณ์ไปแบบวันต่อวัน
-
"ผมยกตัวอย่างเช่น กองทุนหมู่บ้าน ซึ่งความเข้าใจของคนทั้งประเทศไม่ตรงกับที่ท่านอธิบาย ความคาดหวังเขา คือ มีเงิน 1 ล้านบาทไปหมู่บ้าน แล้วเขาจะใช้จ่ายอะไรเป็นเรื่องของเขา เขาอาจคิดคำนวณไปแล้วว่าแต่ละครัวเรือนได้เท่าไหร่ เพราะสอดคล้องกับที่ท่านบอกว่านโยบายนี้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ถ้าท่านบอกว่าไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น เป็นกองทุนพัฒนาอาชีพ ต้องให้เสนอโครงการมาให้พิจารณา การกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่เป็นจริง เพราะกว่าจะได้ใช้เงินก็ไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
-
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นโยบายพักหนี้เกษตรกรนั้น ยอมรับว่า ตอนหาเสียงมีคำว่ารายย่อยจริง แต่เป็นการมาเติมเฉพาะช่วงท้ายของการหาเสียงเท่านั้น
-
30 บาท รักษาทุกโรค ยังพูดความจริงไม่หมด
จุดที่ นายอภิสิทธิ์ เน้นในการอภิปรายครั้งนี้ คือ โครงการรักษาทุกโรค 30 บาทของกระทรวงสาธารณสุข
-
เขากล่าวว่า นโยบายนี้ของพรรคไทยรักไทยโดนใจประชาชน เพราะเป็นการสร้างความหวัง ว่าประชาชนทุกคนจะอยู่ใต้ระบบการรักษาพยาบาลระบบเดียวกัน ไม่มีใครมีสิทธิเหนือใคร ทุกคนใช้บัตรประชาชนเดินเข้าโรงพยาบาล ก็สามารถรับการรักษาภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
-
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นโยบายนี้ รัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณเพิ่มอย่างแน่นอน โดยยกตัวอย่างการศึกษาว่า หากดำเนินการตามที่รัฐบาลประกาศ จะต้องใช้งบประมาณเพิ่มไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งเรื่องนี้ต้องบอกให้ประชาชนรับทราบ
-
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ตอนที่ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมช.สาธารณสุข คิดและทำนโยบายนี้ มีรายละเอียดเป็นหลักฐาน ว่า ผู้เข้าโครงการต้องจ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท แต่วันนี้ไม่มี ข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนไปเป็นอย่างไร เงินจะลอยมาได้เองเป็นไปไม่ได้
-
"การศึกษายังลงรายละเอียดว่าแม้เก็บภาษีท้องถิ่นเพิ่มแล้ว ยังต้องเอาเงินจากรัฐบาลกลาง อีกประมาณ 1 หมื่นล้านบาทต่อปี อันนี้ต้องบอกประชาชน"
-
เขายังกล่าวอีกว่า รัฐบาลต้องบอกด้วยว่า การดำเนินการ ต้องเลือกวิธีไหน ใช้การประกันสุขภาพให้เงินสมทบแต่ยกเว้นคนมีรายได้น้อยก็บอก หรือบอกว่าเลิกคิด แล้วเอาระบบสวัสดิการทั้งประเทศซึ่งทำได้ แต่ถ้าไปตรวจสอบทั่วโลกมีทางเลือกเกิดขึ้น คือ ต้องใช้เงินภาษีมากกว่าปัจจุบันมาก ต้องขึ้นภาษีเป็นร้อยละ 50-60 หรือบางประเทศถึงร้อยละ 80 ซึ่งต้องไปถามนักธุรกิจว่าพร้อมจ่ายหรือไม่ หรือมิเช่นนั้นก็ต้องให้โรงพยาบาลบริการไปเองตามงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบนี้ในประเทศอังกฤษคือ การรักษาบางโรค เช่น ผ่าตัดต้องรอคิวกันเป็นปี"
- - - - - - - - - -
ในลำดับถัดๆไป เดี๋ยวจะเขียนอธิบายว่า มีความพยายามในการล้มและแทรกแซง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อย่างไร มาเผยแพร่ ให้ประชาชน รู้เท่าทัน พรรคประชาธิปัตย์ และอำมาตย์ชั่ว
-
-
สำหรับท่านที่อ่านมา "โดยละเอียด" ทั้งหมด
กูขอสรุปให้ว่า โครงการนี้ เป็นอย่างไร ดังนี้
"หมอสงวนคิด ทักษิณให้ทำ คนระยำค้าน ทหารเอาไปโชว์"
เรื่อง 30 บาท รักษาทุกโรค
1. เปิดเรื่อง จากบทความของ The Guardian ที่ อมรรตยา เสน ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่ได้ยกย่อง "โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค" ของประเทศไทย
2. ความเป็นมาของ 30 บาท รู้ไว้ใช่ว่า
3. ย้อนกลับมาดูในไทย เรื่องการรักษาพยาบาล สมัยก่อนปี 2544
4. ทหารเอาไปโชว์
5. ย้อนไปเมื่อเริ่มต้นนโยบาย ในปี 2544 ใครบ้าง ที่ต่อต้าน ค้าน โจมตี นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค
ในอนาคต จะกล่าวถึงความพยายามในการล้มและแทรกแซง
ใครที่อ่านจบ ขอให้แชร์ออกไปมากๆ แทนการกดไลค์
- - - - - - - - - -
1. อมรรตยา เสน ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์
ยกย่อง "โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค" ของประเทศไทยว่า
เป็นนโยบายสาธารณสุขที่โลกควรเอาเป็นแม่แบบ
-
http://www.theguardian.com/…/-sp-universal-healthcare-the-a…
-
อมรรตยะ ได้ยกย่องนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ว่าเป็นนโยบายสาธารณสุขที่โลกควรเอาเป็นแม่แบบ และได้กล่าวชื่นชม ให้เป็นตัวอย่างของโลก ที่ให้หลักประกันสุขภาพกับประชาชน โดยชี้ให้เห็นความสำคัญของการมีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อีกทั้งยังยกให้ประเทศไทยเป็นประเทศตัวอย่าง ที่นโยบายทางการเมืองสามารถผลักดันให้มีหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชน จนทำให้ไทยอัตราการตายลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด
-
ผลจากโครงการดังกล่าว ทำให้อัตราการตายของเด็กแรกเกิดลดต่ำลงจนเหลือเพียง 11 ใน 1,000 คน อายุขัยโดยเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 74 ปี ตัวเลขสำคัญของอัตราการตายของเด็กแรกเกิดที่ลดลงนี้ ได้กระจายไปทั้งในกลุ่มคน ยากจน และคนรวย ถือเป็นดัชนีของการให้หลักประกันสุขภาพที่ลดช่องว่างในสังคม และเป็นนโยบายที่สร้างความเท่าเทียมกันในสังคมด้านการแพทย์
อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
- - - - - - - - - -
2. ความเป็นมาของ 30 บาท รู้ไว้ใช่ว่า
บางกลุ่มคนก็เริ่ม "ดัดจริต" ออกมาแก้ต่างว่า คนที่คิดนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคไม่ใช่ทักษิณ บางตัวก็บอกว่าเป็นของ "ชวน หลีกภัย" บางคนก็บอกว่าทักษิณไปลอก "นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์" มาเป็นของตนเอง
-
ความจริงก็คือ นโยบายนี้ เป็นแนวคิดในการจัดระบบประกันสุขภาพ แบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ที่คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์และแพทย์ในทีมร่วมกันคิด นายแพทย์สงวน เป็นคนที่มีจรรยาบรรณ ผลักดันเรื่องหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน จนได้รับการขนานนามว่า "รัฐบุรุษแห่งวงการสาธารณสุขไทย" อย่าเอาไอ้คณบดีแพทยศาสตร์ศิริราช (ศ.นพ.อุดม นามสกุล "คนจนเป็นภาระ") กับ ปลัดสาธารณสุข (นกหวีดทองคำ) คนปัจจุบัน มาเทียบเลย มันต่างกันเยอะ
-
หมอสงวน " เคย " เอาเรื่องหลักประกันสุขภาพ ไปเสนอให้แก่ " รัฐบาล ที่มีนายกชื่อ นายชวน หลีกภัย " ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ เขาดูถูก ดูแคลนนโยบายนี้มาแต่ต้น นายชวน ได้บอกกับ หมอสงวนว่า "ทำไม่ได้จริงหรอก ใช้งบสูงเกินไป จะทำให้รัฐขาดทุน " เรื่องดังกล่าวก็ตกไป
-
พอช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ตอนนั้น " ไทยรักไทย " ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังหาเสียงอยู่ หมอสงวน ก็เอานโยบายนี้นี่แหละมาเสนอให้กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
-
เมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ฟังการนำเสนอจากหมอสงวนจนจบ ... ด้วยความทักษิณ เป็นคนบ้านนอกมาก่อน ครั้งหนึ่ง กูได้เคยฟังจากปากของท่านนายกทักษิณตอนท่านกล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับอนาคตประเทศ ไทยตอนปี 44 หรือ 45 นี่แหละ มีตอนหนึ่ง ที่พูดถึงเรื่อง 30 บาท และกูจำได้ติดหูมาจนทุกวันนี้ ทักษิณพูดว่า
-
"ผมเคยเป็นคนบ้านนอก ผมก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร ผมเคยเห็นชาวบ้านที่ต้องเงินเอาไปแอบ ไปซ่อนไว้เผื่อไว้รักษาตัวเองตอนเจ็บป่วย ผมเคยเห็นคนต้องขายนา ขายบ้าน ขายวัวควาย หรือเห็นแม้กระทั่งคนที่หมดตัว จากการรักษาพยาบาล พอคุณหมอสงวนนำโครงการนี้มาเสนอผม ผมรู้เลยว่า นี่คือการสร้างความมั่นคงในด้านสุขภาพของคนไทย เพราะหลักการของมันคือการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ลองคิดดูว่าคนไทยไม่ได้ป่วยพร้อมกันทีเดียว 60 ล้านคน ดังนั้นโครงการนี้ถ้าทำไปผมมั่นใจว่าจะดูแลคนไทยได้
-
การจะสร้างความมั่นคงแก่ประชาชนทำได้ง่ายๆ คือ ' ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ' นี่แหละ โครงการนี้ ที่จะลดรายจ่ายให้ประชาชนได้ทันที เพราะเมื่อประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง เข้าถึงการรักษา เขาก็จะหมดห่วง มีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดีหมดกังวล ก็จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนมีสุขภาพดี หมดห่วง สร้างรายได้เพิ่มขึ้น รัฐก็มีรายได้มากขึ้น คือสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น นี่คือความสำคัญของโครงการ 30 รักษาทุกโรค ที่ให้ประโยชน์ทั้งต่อประชาชนและรัฐ"
-
เมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เห็นด้วย และบอกว่านโยบายนี้ " ทำได้ " โดยนำมาประกาศเป็นนโยบายหาเสียง และเป็นนโยบายที่ประกาศในรัฐสภา จากนั้นก็ให้โอกาสหมอสงวน ได้เข้ามาบริหารจัดการ ในตำแหน่ง เลขาธิการ " สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ " หรือ สปสช. ร่วมกับคณะ (หนึ่งในคณะที่กูจำได้คือ อดีต ผอ.สำนักนโยบายและแผนของสปสช. คือ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข) แล้วมาจนถึงวันนี้ก็ทำได้จริงๆ อย่างที่พูด เรียกได้ว่าเป็นผลงานเด่นของรัฐบาลไทยรักไทย เลยทีเดียว เพราะสามารถนำนโยบายที่หลายคนคิดว่าไม่น่าจะทำได้ แต่ "ทักษิณ" ให้โอกาสทำ และทำได้เสียด้วย
-
ทั้งนี้ คุณหมอสงวนเขาก็ไม่ได้ซีเรียสหรือออกมาดีดดิ้นว่า ทักษิณขโมยผลงานแต่อย่างใด คนที่ดีดดิ้น จะเป็นจะตาย ก็เห็นจะมีแต่ประชาธิปัตย์ เพราะถือว่าแพ้อย่างย่อยยับจากนโยบายนี้ และด้วยความร่วมมือของคณะรัฐประหาร ทั้ง คมช. และ คสช. ที่พยายามจะแทรกแทรงการบริหารจัดการของ สปสช. เพื่อดึงงบประมาณกลับไปสู่กระทรวงสาธารณสุข จะได้ "แดก" กันง่ายๆ อย่างที่เคยทำกันมา (ดีดดิ้นอย่างไร อ่านให้จบจนถึงตอนท้าย)
-
ปัจจุบันคุณหมอสงวน เสียชีวิตไปแล้ว ในปี พ.ศ.2551 ด้วยวัย 55 ปี
เป็นบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่น่าชื่นชมคนหนึ่งของไทยเลยทีเดียว
- - - - - - - - - -
3. ย้อนกลับมาดูในไทย เรื่องการรักษาพยาบาล สมัยก่อนปี 2544 กันบ้าง
ในยุคก่อนปี 2544 การรักษาพยาบาลผู้ป่วย แยกเป็นสองแบบ คือ
-
1) คนไข้มีฐานะที่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองได้
-
2) คนไข้อนาถาหรือผู้ป่วยรายได้น้อยที่ต้องได้รับการสงเคราะห์จากรัฐ
-
การปฏิบัติต่อคนไข้ในการรักษาพยาบาลบางครั้ง (จริงๆ คือส่วนใหญ่) ก็ปฏิบัติไม่เหมือนกัน เพราะได้แยกชนชั้นของผู้ป่วยไว้อย่างชัดเจนในเบื้องแรก ประเภทหนึ่งมาเพื่อสร้างรายได้ แต่อีกฝ่ายมาเป็นภาระ ก็คงจะเป็นธรรมดา ที่การปฏิบัติย่อมไม่เหมือนกัน
-
จากสภาวะการแบ่งชนชั้นของผู้ป่วย ในลักษณะดังกล่าวนี้เอง จึงมีผู้ป่วยมากมายหลายคนต้องเสียชีวิตไป เพียงเพราะความจนของเขา และชาวบ้านบางส่วนไม่กล้ามาหาหมอที่โรงพยาบาล เพราะกลัวว่าจะไม่มีเงินจ่าย บางคนถึงกับต้องขายวัว ขายควาย ขายไร่ขายนามา เพื่อจ่ายค่ารักษาพยาบาล เพราะไม่มีใครอยากเป็นคนไข้อนาถา ถูกมองเหยียดจากผู้ให้บริการว่าเป็นภาระ
-
ในยุคก่อนปี 2544 มีเหตุการณ์ที่เกิดบ่อยๆ ในสังคม นั่นก็คือ "ภาวะล้มละลายจากการเจ็บป่วย" พอหายป่วยแต่ต้องมาตายทั้งเป็นเพราะหมดตัว หมดเครื่องมือทำกิน ไปกู้หนี้ยืมสินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากตัวเองไม่มีเงิน มีภาพที่เกิดขึ้นจนชินตา ก็คือ ภาพพี่น้องคนไทยที่กำเงินมาโรงพยาบาลด้วยมือที่ชุ่มเหงื่อ เพราะเงินที่กำอยู่เป็นเงินที่ไปกู้เขามา คนที่หมดหนทางจริงๆ จึงจะมาโรงพยาบาลด้วยความหดหู่ เพราะต้องถือบัตรผู้มีรายได้น้อย มาขอทานการรักษาพยาบาล เหมือนกับไม่มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ทั้งๆ ที่เงินที่โรงพยาบาลเอาไปสงเคราะห์เขา ก็เป็นเงินจากภาษีของเขานั่นแหละ
-
แต่เพราะ " ความไม่รู้ " เลยกลายเป็นว่า การสงเคราะห์ ในการรักษานั้นได้สร้างนักบุญในความรู้สึกของชาวบ้านขึ้นมา ทำให้บางอาชีพ ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งบุญคุณ ทั้งที่แท้แล้ว มันคือหน้าที่ ... เพราะใครที่เลือกจะทำอาชีพนี้ย่อมเป็นหน้าที่ ... แต่การทำหน้าที่ได้ดี หรือไม่ดี นั่นต่างหาก คือ ความแตกต่าง
-
เพราะภาพความหดหู่ และความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ต่อเพื่อนร่วมชาติ จึงทำให้มีแพทย์กลุ่มหนึ่ง มีความคิดที่จะวางระบบการจัดการ การรักษาพยาบาล โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการรักษา ด้วยแนวคิดการ "เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข" ซึ่งเป็นแนวคิดการประกันสุขภาพของประชาชนทุกคนในประเทศ
-
ผู้ที่นำแนวคิดนี้นำเสนอต่อพรรคการเมือง รณรงค์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ คือ คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์
-
ดังคำกล่าวของ หมอสงวนที่ว่า
-
"ผมเชื่อว่า คงเป็นความต้องการของหลายๆ คนที่เคยสัมผัสพบเห็น บางทีเราดูหนัง เห็นคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย เมื่อถึงเวลา ต้องรักษาพยาบาล ต้องขายที่นา ขายวัวควาย บางคน อาจไม่รู้หรอกว่า คนบ้านนอก เจอสภาพอย่างนั้นจริงๆ ถึงเราจะมีโครงการ ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในอดีต แต่ชาวบ้านที่ไปใช้บริการ ยังมีความรู้สึกไม่มั่นใจ หรือไม่มีศักดิ์ศรี ไม่กล้าพูด เพราะถ้าเป็นไปได้ เขาจะพยายามหาเงินทองมารักษา ถ้าหาไม่ได้ พอเรารักษาเสร็จ เคยมีชาวบ้าน เอาแมงกีนูนมาให้กิน เป็นการตอบแทน"
-
ด้วยความที่หมอ สงวน ไปเป็นแพทย์ในชนบทอีสาน ได้เห็นความทุกข์ยากของประชาชนผู้เจ็บป่วย และเห็นความหดหู่ไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนป่วยอนาถาที่มาโรงพยาบาล เขาจึงนำเสนอโครงการประกันสุขภาพต่อพรรคการเมือง
-
พรรคชนชั้นกลางอย่างประชาธิปัตย์ ซึ่งมีแต่ผู้ลากมากดี จึงปฏิเสธโครงการนี้ไป แต่อีกพรรคหนึ่ง ซึ่งมีหัวหน้าพรรค เคยเป็นเด็กที่โตมากับความบ้านนอก เขาเข้าใจความลำบากนั้นเป็นอย่างดี และเขาจึงให้โอกาสหมอสงวน ให้นโยบายนี้ได้เป็นจริง จนทุกวันนี้ คนคนนั้นคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
- - - - - - - - - -
4. ทหารเอาไปโชว์
ข่าวเมื่อไม่นานมานี้ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557
คสช. ก็นำเอาโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ไปเสนอที่เวทีสหประชาชาติ (UN)
-
เมื่อวันที่ 24 กันยายน นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์หลังเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 69 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
-
นายสหศักดิ์กล่าวว่า การอภิปรายของไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนหลังปี 2015 รวมถึง ภารกิจหลายประการที่ชาติสมาชิก จะต้องทำให้สำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ อาทิ การกำจัดความยากจน ให้การศึกษา สาธารณสุข ที่ไทยประสบความสำเร็จในการให้คนเข้าถึงการรักษาโรค หรือ " โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค "
-
ข่าวประกอบ
1) http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1411704847
2) http://news.voicetv.co.th/thailand/119052.html
- - - - - - - - - -
5. ย้อนไปเมื่อเริ่มต้นนโยบาย ในปี 2544 ใครบ้าง ที่ต่อต้าน ค้าน โจมตี นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค
-
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 มีการเปิดประชุมสภา และมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงแนวคิดของโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค โดยผู้ที่โจมตีโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค หลักๆ มี 2 คน คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายชวน หลีกภัย (หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น)
-
เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2544 กรุงเทพธุรกิจรายงานข่าว ว่า
-
ประชาธิปัตย์ โวยลั่น " อุทัย พิมพ์ใจชน " ตัดเกมสภา ปิดไมค์ " อภิสิทธิ์ " ที่กำลังถล่มนโยบายหลักของรัฐบาล อ้างหมดเวลาอภิปราย หลังจากที่ดาวรุ่งจากพรรคประชาธิปัตย์ ชำแหละนโยบาย "การตลาดนำการเมือง" ของพรรคไทยรักไทย พร้อมจี้ให้ยอมรับว่า มีบางนโยบายทำไม่ได้อย่างที่หาเสียง
-
ในการแถลงนโยบายต่อสภาของรัฐบาลวันที่ 2 วานนี้ พรรคไทยรักไทย ได้เผยไม้เด็ดในการจัดการกับฝ่ายค้านที่จะอภิปรายโจมตีรัฐบาล โดยนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา จากพรรคไทยรักไทย ได้จัดการการอภิปรายของฝ่ายค้านได้อย่างชะงัด ด้วยการปิดไมโครโฟนทันทีที่ครบกำหนดเวลา และสั่งปิดการอภิปรายตามกำหนด
-
ในการอภิปรายนโยบายรัฐบาล เมื่อวานนี้ บรรยากาศในช่วงเช้าไม่คึกคักเท่าใดนัก กระทั่งเวลาประมาณ 20.40 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นกล่าวอภิปราย โดยเริ่มต้นที่ประเด็นการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี จากนั้น มาถึง นโยบายกองทุนหมู่บ้าน ... "นโยบาย 30 บาทรักษาได้ทุกโรค" ... รวมทั้งการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
-
ทั้งนี้ การอภิปรายของนายอภิสิทธิ์ ได้ตั้งข้อสังเกตในการใช้จ่ายเงิน และที่มาของโครงการเหล่านั้น ที่อาจจะไม่เกิดขึ้นได้จริง หรือหากเกิดขึ้นได้ก็อาจจะเกิดผลกระทบต่อการใช้งบประมาณของรัฐบาล
-
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ ได้อภิปรายถึงการตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อ ให้เกิดรายได้ พร้อมกับวิจารณ์อย่างรุนแรง
-
นายอุทัย ซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้เตือนนายอภิสิทธิ์ ว่าหมดเวลาแล้ว แต่นายอภิสิทธิ์ ได้ขอต่ออีก 1 นาที ซึ่งนายอุทัย ก็ยินยอมให้อภิปรายต่อ
-
นายอภิสิทธิ์ จึงได้ตั้งข้อสังเกตต่อไป ว่า เอเอ็มซีแห่งชาติ นั้น เป็นการเน้นการรวมศูนย์การแก้ไขปัญหา ซึ่งสวนทางหลักการกระจายอำนาจ และความหลากหลายในการแก้ไขปัญหา เพราะแทนที่จะให้เจ้าหนี้กับลูกหนี้ตกลงกันเองก็จะกลายเป็นโครงสร้างกลางของ ภาครัฐมาจัดการ ซึ่งโครงสร้างที่ผูกขาดมากขึ้นเช่นนี้เป็นการสร้างขุมทรัพย์ของผู้ที่เกี่ยว ข้อง ถ้าได้ผู้มีอำนาจเหมือนนายทุนที่ต้องการผูกขาดก็อันตราย เพราะจะทำให้มีการคอรัปชั่นมากขึ้น
-
เมื่ออภิปรายมาถึงตรงนี้ นายอภิสิทธิ์ ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการคอรัปชั่น ไปยังนายปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รมว.มหาดไทย แต่ยังไม่ทันจะกล่าวอะไรต่อไปอีก นายอุทัย ได้ปิดไมโครโฟนของนายอภิสิทธิ์ โดยให้เหตุผลว่า หมดเวลาแล้ว
-
นายอภิสิทธิ์ ได้ขอต่อรองว่า จะขอสรุปโดยจะใช้เวลาอีกเพียงครึ่งนาทีเท่านั้น แต่นายอุทัย ก็ไม่ยินยอม นายอภิสิทธิ์ จึงกล่าวโดยไม่ใช้ไมโครโฟนอีกครู่หนึ่ง จึงยอมนั่งลง
-
หลังจากนั้น นายอุทัย ได้ให้ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมช.สาธารณสุข ชี้แจงนโยบาย 30 บาทรักษาได้ทุกโรค โดย น.พ.สุรพงษ์ ใช้เวลาชี้แจงประมาณ 30 นาที อธิบายถึงความจำเป็นในการทำโครงการนี้ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดว่า จะนำเงินงบประมาณจากที่ใดมาสนับสนุนโครงการตามที่ นายอภิสิทธิ์ ตั้งข้อสังเกต
-
เมื่อ น.พ.สุรพงษ์ อภิปรายจบแล้ว นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขอใช้สิทธิพาดพิง ชี้แจงการอภิปราย อีกประมาณ 2 นาที
-
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อนายชวน อภิปรายจบ
นายอุทัย ได้สั่งปิดการอภิปรายทันที
ทำให้นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์
ซึ่งมีคิวอภิปรายคนต่อไป ลุกขึ้นประท้วงนายอุทัย ว่า
ปล่อยให้ น.พ.สุรพงษ์ ชี้แจงจบแล้ว แต่ไม่ให้เขาพูดต่อ ได้อย่างไร
-
"ประธานกลัวว่าผมจะพูดอะไรหรือครับ" นายพิเชษฐ กล่าว
พร้อมกับยืนประท้วงต่อ จนนายอุทัย สั่งให้นั่งลง
โดยระบุว่า หากไม่นั่ง ก็จะไม่พูดด้วย
- - - - - - - - - -
(ที่มาของโฆษณายาแก้ริดสีดวง ยุค 15-20 ปีก่อน
ที่บอกว่า ทำไมคุณถึงไม่นั่ง เพราะลมมันเย็น - กูเพิ่มเอง)
- - - - - - - - - -
จากนั้น นายอุทัย ได้ชี้แจงว่า ไม่ได้กลัวอะไร พร้อมกับอ้างว่า ได้ตกลงกันก่อนหน้านี้แล้วว่า จะใช้เวลาประชุมกันถึงเวลา 21.30 น.เมื่อกล่าวจบ นายอุทัย ก็กล่าวว่า ขอปิดการประชุมพร้อมกับลุกออกจากบัลลังก์ทันที โดยไม่ฟังเสียง นายพิเชษฐ ที่พยายามประท้วงอยู่ด้านล่าง
- - - - - - - - - -
นายอภิสิทธิ์ ยืนยันว่า นโยบายหลายอย่างของรัฐบาลคลาดเคลื่อน ไปจากนโยบายที่พรรคไทยรักไทยประกาศไว้
-
นอกจากนี้ นโยบายเร่งด่วนที่มาจากวาระแห่งชาตินั้น แม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ยังยอมรับเป็นผู้นำไปบรรจุไว้ในร่างนโยบายด้วยตัวเองในวันสุดท้าย ก่อนที่จะแถลงต่อรัฐสภา ทำให้เชื่อว่าที่ไม่บรรจุไว้ตอนแรก เพราะรัฐมนตรีหลายคนก็ไม่มั่นใจว่าสามารถทำได้จริง
-
ซัดใช้การตลาดนำการเมืองหาเสียง
-
เขาขนานนามแนวทางของพรรคไทยรักไทยที่ใช้ในการหาเสียง ว่า เป็นนโยบายการตลาดนำการเมือง ซึ่งแม้จะตรงกับความต้องการของประชาชน แต่สภาพความเป็นจริงของประเทศไม่สามารถตอบสนองได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อประชาชนตัดสินใจเลือกมาแล้วรัฐบาลก็ไม่มีทางเลือก จะต้องเดินหน้าต่อไปเท่านั้น
-
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลต้องหยุดใช้การตลาดนำการเมือง เพราะไม่จำเป็นอีกต่อไปที่ต้องหาเสียง แต่รัฐบาลมีพันธะที่จะต้องนำนโยบายที่หาเสียงไว้มาปฏิบัติให้ดีที่สุด ซึ่งสังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดใจกว้าง อะไรที่เคยพูดเกินเลยไปถ้าอธิบายแล้วสังคมก็จะให้โอกาส แต่ต้องเริ่มจากการพูดความจริง ซึ่งตนหวังว่ารัฐบาลจะใช้เวทีนี้พูดความจริง แต่ผิดหวัง เพราะรัฐบาลยังใช้หลักพูดจาเอาใจเพื่อประคับประคองสถานการณ์ไปแบบวันต่อวัน
-
"ผมยกตัวอย่างเช่น กองทุนหมู่บ้าน ซึ่งความเข้าใจของคนทั้งประเทศไม่ตรงกับที่ท่านอธิบาย ความคาดหวังเขา คือ มีเงิน 1 ล้านบาทไปหมู่บ้าน แล้วเขาจะใช้จ่ายอะไรเป็นเรื่องของเขา เขาอาจคิดคำนวณไปแล้วว่าแต่ละครัวเรือนได้เท่าไหร่ เพราะสอดคล้องกับที่ท่านบอกว่านโยบายนี้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ถ้าท่านบอกว่าไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น เป็นกองทุนพัฒนาอาชีพ ต้องให้เสนอโครงการมาให้พิจารณา การกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่เป็นจริง เพราะกว่าจะได้ใช้เงินก็ไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
-
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นโยบายพักหนี้เกษตรกรนั้น ยอมรับว่า ตอนหาเสียงมีคำว่ารายย่อยจริง แต่เป็นการมาเติมเฉพาะช่วงท้ายของการหาเสียงเท่านั้น
-
30 บาท รักษาทุกโรค ยังพูดความจริงไม่หมด
จุดที่ นายอภิสิทธิ์ เน้นในการอภิปรายครั้งนี้ คือ โครงการรักษาทุกโรค 30 บาทของกระทรวงสาธารณสุข
-
เขากล่าวว่า นโยบายนี้ของพรรคไทยรักไทยโดนใจประชาชน เพราะเป็นการสร้างความหวัง ว่าประชาชนทุกคนจะอยู่ใต้ระบบการรักษาพยาบาลระบบเดียวกัน ไม่มีใครมีสิทธิเหนือใคร ทุกคนใช้บัตรประชาชนเดินเข้าโรงพยาบาล ก็สามารถรับการรักษาภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
-
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นโยบายนี้ รัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณเพิ่มอย่างแน่นอน โดยยกตัวอย่างการศึกษาว่า หากดำเนินการตามที่รัฐบาลประกาศ จะต้องใช้งบประมาณเพิ่มไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งเรื่องนี้ต้องบอกให้ประชาชนรับทราบ
-
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ตอนที่ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมช.สาธารณสุข คิดและทำนโยบายนี้ มีรายละเอียดเป็นหลักฐาน ว่า ผู้เข้าโครงการต้องจ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท แต่วันนี้ไม่มี ข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนไปเป็นอย่างไร เงินจะลอยมาได้เองเป็นไปไม่ได้
-
"การศึกษายังลงรายละเอียดว่าแม้เก็บภาษีท้องถิ่นเพิ่มแล้ว ยังต้องเอาเงินจากรัฐบาลกลาง อีกประมาณ 1 หมื่นล้านบาทต่อปี อันนี้ต้องบอกประชาชน"
-
เขายังกล่าวอีกว่า รัฐบาลต้องบอกด้วยว่า การดำเนินการ ต้องเลือกวิธีไหน ใช้การประกันสุขภาพให้เงินสมทบแต่ยกเว้นคนมีรายได้น้อยก็บอก หรือบอกว่าเลิกคิด แล้วเอาระบบสวัสดิการทั้งประเทศซึ่งทำได้ แต่ถ้าไปตรวจสอบทั่วโลกมีทางเลือกเกิดขึ้น คือ ต้องใช้เงินภาษีมากกว่าปัจจุบันมาก ต้องขึ้นภาษีเป็นร้อยละ 50-60 หรือบางประเทศถึงร้อยละ 80 ซึ่งต้องไปถามนักธุรกิจว่าพร้อมจ่ายหรือไม่ หรือมิเช่นนั้นก็ต้องให้โรงพยาบาลบริการไปเองตามงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบนี้ในประเทศอังกฤษคือ การรักษาบางโรค เช่น ผ่าตัดต้องรอคิวกันเป็นปี"
- - - - - - - - - -
ในลำดับถัดๆไป เดี๋ยวจะเขียนอธิบายว่า มีความพยายามในการล้มและแทรกแซง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อย่างไร มาเผยแพร่ ให้ประชาชน รู้เท่าทัน พรรคประชาธิปัตย์ และอำมาตย์ชั่ว
-
-
สำหรับท่านที่อ่านมา "โดยละเอียด" ทั้งหมด
กูขอสรุปให้ว่า โครงการนี้ เป็นอย่างไร ดังนี้
"หมอสงวนคิด ทักษิณให้ทำ คนระยำค้าน ทหารเอาไปโชว์"
No comments:
Post a Comment