Wednesday, April 8, 2015

หนังสือ 8มีนาวันสตรีสากล-กลุ่มผู้หญิงธรรมศาสตร์ รามคำแหง จุฬาฯลฯ (เคยต้องห้ามหลังเหตุการณ์6ตุลา)

หนังสือ 8มีนาวันสตรีสากล-กลุ่มผู้หญิงธรรมศาสตร์ รามคำแหง จุฬาฯลฯ (เคยต้องห้ามหลังเหตุการณ์6ตุลา)


http://www.mediafire.com/…/หนังสือ_8มีนาวันสตรีสากล-กลุ่มผู…

ประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางชนชั้นครั้งยิ่งใหญ่ของกรรมกรหญิงทั่วโลกได้มา บรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง นั้นก็คือวันที่ 8 มีนาที่เรียกกันว่าวันสตรีสากล โดยเฉพาะกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า ที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ถูกนายทุนในระบบทุนนิยม กดขี่ขูดรีดทารุณ เห็นกำไรสำคัญกว่าชีวิตของความเป็นมนุษย์

กรรมกรหญิงและชายไม่ต่างอะไรกับทาส ทำงานวันละหลายชั่วโมงได้ค่าจ้างแรงงานเพียงน้อยนิด สภาพการทำงานในโรงงานเลวร้ายมีการเจ็บป่วยล้มตายไร้การเหลียวแล ทำให้กรรมกรทนไม่ได้กับระบบการกดขี่ขูดรีดจึงเกิดการลุกขึ้นสู้ โดยใช้วิธีการนัดหยุดงานและเดินขบวนในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 การต่อสู้ในครั้งนั้นได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากกรรมกรทั่วโลก สร้างความสั่นสะเทือนต่อทุนนิยมทั้งโลก และได้มีการเรียกร้องชั่วโมงการทำงานให้เหลือวันละ 8 ชั่วโมง พร้อมทั้งปรับปรุงสภาพการทำงานและสวัสดิการ รวมถึงสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยในการรวมตัว

วันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 มีผู้แทนสตรีจาก 18 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม สมัยที่ 2 ที่จัดขึ้นที่เมืองโคเปนเฮเกน เสนอให้มีการทำงาน 8 ชั่วโมง ศึกษา 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง ที่เรียกว่าระบบสามแปด ค่าจ้างแรงงานระหว่างชายกับหญิงต้องเท่าเทียมกัน มีการคุ้มครองสิทธิกรรมกรหญิงและเด็ก โดยเฉพาะนักต่อสู้สตรีที่สำคัญเธอชื่อ คลาร่า แซทกิน ซึ่งเป็นนักสังคมนิยมชาวเยอรมัน เธอเป็นผู้ยืนหยัดมาตลอดว่าการโค่นล้มทุนนิยมและการสร้างสังคมใหม่คือ สังคมนิยม จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดพลังแรงงานกรรมกรหญิงและชาย ถ้าพลังแรงงานกรรมกรหญิงยังถูกกดขี่ ขูดรีดอยู่ และไม่มีสิทธิใดๆ และเธอก็ได้เผยแพร่ความคิดสังคมนิยมไปทุกหนทุกแห่งทั่วโลก

ระบบทุนนิยม ชนชั้นปกครองชอบสอนให้ประชาชน ผู้ใช้แรงงานเคารพค่านิยมครอบครัวอนุรักษ์นิยม แต่ระบบทุนนิยมทำให้ผู้หญิงออกไปทำงานในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้หญิงมีพัฒนาการความคิดที่ก้าวหน้า และระบบทุนนิยมได้สร้างเงื่อนไขให้ผู้หญิงออกมาต่อสู้เพื่อการปลดแอกตน เองอยู่เสมอ
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ และองค์กรสมาชิกและพันมิตร ส่งเสริมให้ผู้หญิงออกไปทำงานและสร้างความมั่นใจในตนเอง และต้องการเห็นชายกับหญิงร่วมกันต่อสู้ในสหภาพแรงงานหรือขบวนการประชาธิปไตย เราสนับสนุนข้อเรียกร้องเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม เช่น สตรีมีสิทธิทำแท้งเมื่อไม่พร้อมมีบุตร ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน และสร้างรัฐสวัสดิการมาตรฐานเดียวตั้งแต่เกิดจนตาย








No comments:

Post a Comment