Wednesday, April 8, 2015

หนังสือ หนุ่มหน่ายคัมภีร์ - สุจิตต์ วงศ์เทศ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

หนังสือ หนุ่มหน่ายคัมภีร์ - สุจิตต์ วงศ์เทศ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

"หนุ่มหน่ายคัมภีร์" เป็นหนังสือเล่มแรกๆของไทยที่ออกมาวิพากษ์ระบบโซตัส (Sotus)ผ่านอารมณ์ขำขัน ไม่เครียดมากแต่บาดลึกถึงปัญหาการปลูกฝังอำนาจนิยมในสังคมไทย

---------------------------------------------------------------------------------
"เขาบอกให้สามัคคีกันไว้ อย่าแตกแยกกัน แม้ว่าจะอยู่คนละคณะ แต่ก็สังกัดในสถาบันเดียวกัน ต้องทำความรู้จักกันไว้ จะตกถิ่นฐานใดไม่ขัดแคลน เราต้องช่วยพวกเราก่อน--อ้าว ไหงงั้น ไหนว่าเรียนไปช่วยประเทศชาติ กลายเป็นเรียนไปช่วยพวกเดียวกันเองซะแล้ว"

ที่ยกมาข้างต้นคือข้อความจาก หนุ่มหน่ายคัมภีร์ ของสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่เขียนไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ข้อความนั้นคือคำรำพึงของนายทองปน บางระจัน ตัวเอก ในช่วงต้นๆ เรื่อง ทองปนรู้สึกสับสนเมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัย และถูกบังคับให้ฟังรุ่นพี่ปราศรัย

เรื่องราวจะเข้มข้นขึ้นอีก เมื่อการรับน้องใหม่ดำเนินไปบนความไร้เหตุผลและสาระ นิยายขนาดสั้นของสุจิตต์ วงษ์เทศ เล่มนี้ เสียดสีและประชดประชันวัฒนธรรม seniority ไว้ได้อย่างเจ็บแสบและเต็มไปด้วยอารมณ์ขัน

โดยเฉพาะประเด็นที่ยกมาข้างต้นนั้นสำคัญมาก เพราะลึกๆ แล้วการรับน้อง เป็นเรื่องของโครงสร้างทางสังคมที่เน้นลำดับชั้น โดยเน้นย้ำว่าความอาวุโสย่อมสูงส่งในตัวเองเสมอ โดยไม่ต้องมีเหตุผลอื่นใดมารองรับอีก

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เขียนคำนำเสนอไว้ในการพิมพ์ครั้งที่สอง 2517 ความตอนหนึ่งว่าถึงวิธีการรับน้องใหม่ไว้ด้วยว่า

นักเรียนนอกของไทยที่ไปร่ำเรียนมา ไม่ได้กลับมาด้วยวิชาความรู้อย่างเดียว แต่ได้พกพาระเบียบแบบแผนประเพณีอะไรต่อมิอะไรเอามาเผยแพร่ต่อในเมืองไทยด้วย ดังนั้น วิธีการรับน้องใหม่ การแบ่งสีของกลุ่ม การซ่อม หรือการล้อเล่นที่พิสดาร จึงเริ่มแผ่ขยายทั่วไปในสถาบันการศึกษาของเมืองไทย
ตัวอย่างของการที่ประเพณีประเภทนี้แผ่ขยายเข้ามาในเมืองไทย จะเห็นได้ชัดกรณีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ ประเพณีการคลุกโคลนปีนเสา ประเพณีนี้อาจจะเห็นได้ชัดในอดีตอันแสนไกลของมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ สหรัฐอเมริกา ภาพเก่าๆ เกี่ยวกับอดีตของคอร์แนลล์มักจะมีรูปการปีนเสาทรมานแบบนี้ แต่นั่นก็ได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว

ถ้าจะว่าไปแล้ว หนุ่มหน่ายคัมภีร์ ที่สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนขึ้นเป็นนวนิยายอันเกี่ยวข้องกับความเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เขาเข้าเรียนในยุคนั้น ตั้งแต่วันแรกที่เข้าเรียนก็พบกับระบบรับน้องใหม่
สุจิตต์หยิบยกปรากฏการณ์บวกกับความคิดเห็นของตัวเองในขณะนั้นถึงการต่อต้าน การต้อนรับน้องใหม่ และความคิดเห็นของเพื่อนนิสิตนักศึกษายุคนั้นเข้าไปอย่างมีนัยสำคัญต่อ เนื่องถึงยุคนี้ ผนวกกับอารมณ์ขันของเจ้าตัวที่มีมาโดยตลอดในงานเขียน เช่น ขึ้นต้นเรื่องไปได้ไม่เท่าไหร่ก็ว่าด้วยเรื่องตื่นนอน

ไม่นานนักก็ได้ยินเสียงหวูดจากกรมอู่ทหารเรือดังมาวังเวง คล้ายกับจะเตือนคนที่นอนตื่นสายว่า ตื่นเสียทีซิโว้ย- -มึงจะนอนกินบ้านกินเมืองหรือไง? บางทีกูก็นอนตะโกนตอบอยู่ในใจว่า เออซี่วะ- -ถ้ากูกินได้กูจะกินให้เรียบวุธเชียวมึงเอ๋ย และหลายครั้งหลายที กูก็มักจะได้ยินเสียงมิตรสหายทักว่า งั้นมึงก็ต้องกินคนด้วย กูก็ตอบว่า เออ-กินมึงด้วย เพื่อนไม่ยอมแพ้ มันแถลงถามว่า มึงจะกินกูทั้งตัวหรือ มึงกินหมดหรือ? กูก็ตอบด้วยความรำคาญที่มันไม่ยอมแพ้ว่า กินแม่งตั้งแต่ตีนถึงหัวแหละ แล้วเพื่อนหัวเราะก๊ากย้อนกูอย่างเจ็บแสบว่า อ้อ-งั้นมึงก๊อต้องกินหำกูด้วยซี่นะ

นวนิยายเรื่อง หนุ่มหน่ายคัมภีร์ สำหรับนิสิตนักศึกษารุ่นนี้ โดยเฉพาะเฟรชชี่ทั้งหลายน่าอ่านจะได้รู้ว่ายุคสมัยนั้น เมื่อกว่า 40 ปี เป็นอย่างไร แล้วขณะนี้วันนี้เป็นอย่างไร

ส่วนผู้ที่ร่วมสมัยในวัยนั้นกับผู้ที่ผ่านการรับน้องใหม่มาแล้วก็น่าอ่าน ทบทวนความทรงจำว่าวันนั้น ขณะนั้น เราทำอะไรบ้าง คิดเหมือนผู้เขียน หรือคิดแตกต่างกันอย่างไร

http://www.mediafire.com/…/หนังสือ_หนุ่มหน่ายคำภีรีย์-สุจิต…

No comments:

Post a Comment