กรณีสวรรคต ของเว็บไซต์ "ชมรมคนรักในหลวง" (กระทู้ที่ 1 ใน 3 กระทู้)
เว็บไซต์ "ชมรมคนรักในหลวง" ได้โพสต์บทความกรณีสวรรคต โดยขึ้นต้นก็ด่า "คนเลวทรามที่เป็นนักวิชาการได้พยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง" (ใครหว่า อิอิ) http://goo.gl/4ZAfo6
ประเด็นสำคัญของบทความนี้ มีอยู่ประเด็นเดียว ซึ่งผมจะอภิปรายในอีกกระทู้ถัดไป เฉพาะหน้า ขอพูดถึงข้อความทีเว็บไซต์ขึ้นเป็นภาพประกอบ ซึ่งเว็บไซต์หรือคนรักเจ้าจำนวนไม่น้อย เชื่อกันว่าเป็นคำของในหลวงองค์ปัจจุบัน กล่าวถึงในหลวงอานันท์ "....อดคิดถึงพี่ไม่ได้เลยแม้แต่ขณะเดียว ..."
แต่ไหนแต่ไร ผมรู้สึกชอบกลๆกับข้อความนี้ เพราะทั้งโดยคอมมอนด์เซ้นซ์ และโดยทีผมศึกษาอ่านพระราชดำรัสในหลวงองค์ปัจจุบันมานาน สำนวนของประโยคที่อ้างกันนี้ ซึงมีลักษณะ (ถ้าใช้ภาษาสมัยนี้) "ดราม่า" หรือ emotional มาก ไม่น่าจะเป็นอะไรที่ในหลวงจะพูดต่อหน้าคนอื่น หรือให้คนอื่นฟัง (หรือแม้แต่จะพูดกับพระญาติสนิท หรือบริพารใกล้ชิด ก็ไม่คล้ายอีก)
ผมเคยลองค้น จนในทีสุด ก็ไปเจอว่า ข้อความนี้ มีต้นกำเนิดทีน่าสงสัยมาก (dubious origin) คือยิ่งไม่น่าเชื่อว่า จะใช่ข้อความจริง (authentic)
สรุปสั้นๆ คือ มีคนใช้นามปากกาว่า "แหลมสน" เขียนบทความตีพิมพ์ใน นสพ.เกียรติศักดิ์ ในปี 2491 โดยบทความเป็นการสัมภาษณ์ "พระพินิจชนคดี" นายตำรวจที่ควบคุมคดีสวรรคตหลังรัฐประหาร 2490 ตัวบทความหาไม่ได้แล้ว แต่ดำริห์ ปัทมศิริ ได้นำมาตีพิมพ์ซ้ำในหนังสือ "ในหลวงอานันท์ฯกับปรีดี" ในปี 2493 (ซึงตอนหลังโดนปรีดีฟ้องแพ้คดีไป) ในบทความ พระพินิจฯ ได้อ้างว่า ในระหว่างที่เขาเข้าเฝ้าในหลวงทีสวิส เพื่อทูลถามเพิ่มเติมเรืองกรณีสวรรคต ในหลวงได้ทรงเอ่ยข้อความดังกล่าวออกมา (แล้วยังอ้างว่า ในหลวง พูดถึง "พี่นันท์ๆ" ตลอด - นี่ยิ่งเป็นอะไรที่ไม่น่าเป็นไปได้ .. ในหลวงจะใช้คำแบบนี้ต่อหน้าคนอื่น โดยเฉพาะ จนท.ที่ไปสอบสวนอย่างเป็นทางการทำไม? พระองค์น่าจะใช้คำอย่าง "ในหลวง" หรือ "ในหลวงในพระบรมโกศ" มากว่า (หมายถึงในหลวงอานันท์)
ผมเคยเขียนถึงข้อความนี้ ในบทความเกียวกับคำให้การของในหลวงเองในศาลอาญาคดีสวรรคต ปี 2493 ใครสนใจ อ่านได้ที่นี่ http://somsakwork.blogspot.com/2006/09/text-1-2-3.html
ส่วนที่ผมพูดถึงข้อความนี้ เป็นดังนี้ (หรือดูในภาพประกอบด้านขวา ตัวอาจจะเล็กเกินไป หรือมิฉะนั้น ก็แนะนำให้คลิ้กไปดูที่บทความของผมเลย)
.............
อีกครั้งหนึ่ง ทรงให้การต่อพระพินิจชนคดี ซึ่งรัฐบาลหลังการรัฐประหาร ๒๔๙๐ ตั้งให้เป็นนายตำรวจผู้รับผิดชอบคดี เราได้ทราบว่ามีการพระราชทานคำให้การครั้งนี้ จากบทความเรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าบินไปสืบกรณีสวรรคต ที่สวิตเซอร์แลนด์” ซึ่งเป็นบันทึกคำสัมภาษณ์พระพินิจชนคดี (โดยผู้ใช้นามว่า “แหลมสน”) ตีพิมพ์ใน เกียรติศักดิ์ ฉบับวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๑ พระพินิจชนคดีได้เล่าว่า หลังจากพิจารณาบันทึกคำให้การต่างๆใน “ศาลกลางเมือง” แล้ว เขาและคณะผู้รับผิดชอบคดีลงความเห็นว่า “ยากที่จะคลำหาเงื่อนงำคลี่คลายออกไปได้...จำเป็นจะต้อง...ขอพระราชทานการ สอบสวนพระราชกระแสร์เพิ่มเติมจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชชนนี ผู้ทรงใกล้ชิดกับเหตุการณ์ และบุคคลอื่นๆอีกหลายคนซึ่งล้วนแต่อยู่ในต่างประเทศทั้งนั้น” เขาจึงขอและได้รับอนุมัติจากรัฐบาลให้เดินทางไปยุโรป และได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานคำให้การจากทั้ง ๒ พระองค์ที่พระตำหนัก “วิลล่าวัฒนา” พระพินิจชนคดีได้บรรยายการเข้าเฝ้ารับพระราชทานคำให้การด้วยภาษาที่ค่อนข้าง melodramatic ดังนี้
::::::::::::::::
ข้าพเจ้าและคณะใช้เวลาขอพระราชทานการสอบสวนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งแรก ประมาณสองชั่วโมงเศษ ฉลองพระองค์ด้วยสักหลาดสีเกรย์ทั้งชุด ฉลองพระเนตรและพระเกษาซึ่งไม่ค่อยจะทรงพิถีพิถัน อย่างที่เคยประทับเคียงข้างกับในพระบรมโกษฐ์ ที่กรุงเทพฯทุกครั้งคราว อย่างไรก็อย่างนั้น แต่แววพระเนตรนั้นต่างหากที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าทรงเศร้าสลดอยู่ไม่วาย และโดยฉะเพาะก็บ่อยครั้ง เมื่อข้าพเจ้าขอพระราชทานกระแสร์รับสั่งถึงภาพเมื่อวันสวรรคต พระอสุชลคลออยู่ในพระเนตรตลอดเวลา ดำรัสตอบกับข้าพเจ้าทุกครั้งด้วยคำว่า “พี่นันท์- -“ อย่างนั้น และ “พี่นันท์- -“ อย่างนี้ แล้วก็บางทีดำรัสเพียงคำว่า “พี่” คำเดียว ก็ทรงสดุดหยุดลงคล้ายกับจะทรงรำลึกถึงภาพในอดีต เมื่อชำเลืองพระเนตรไปพบกับภาพในเรือบตลำน้อยในวังบางปะอิน ในพระบรมโกษฐ์ทรงกรรเชียงอยู่เอื่อยๆ สิ่งนี้แหละที่ทำให้ข้าพเจ้าทวีความลำบากใจยิ่งขึ้น มันเป็นการรบกวนต่อความรู้สึกในพระราชหฤทัยเหลือเกิน ข้าพเจ้าได้ขอรับพระราชทานอภัยในเหตุนี้ ทรงยิ้มระรื่น แต่เต็มไปด้วยความเยือกเย็น รับสั่งว่า
“อดคิดถึงพี่ไม่ได้เลยแม้แต่ขณะเดียว ฉันเคยคิดว่า ฉันจะไม่ห่างจากพี่ตลอดชีวิต แต่มันเป็นเคราะห์กรรม ไม่ได้คิดเลยว่าจะเป็นกษัตริย์ คิดแต่จะเป็นน้องของพี่เท่านั้น”
ข้าพเจ้าได้กราบถวายบังคมทูลซักไซร้ต่อไปในหลายประเด็น ทรงตอบคำถามข้าพเจ้าอย่างเปิดเผยในทุกประเด็นเช่นเดียวกัน การขอพระราชทานสอบสวนในวันแรกนี้ ข้าพเจ้าได้ผ่อนในประเด็นซึ่งไม่รุนแรง และกะทบพระราชหฤทัยนัก เพราะถ้าจะรวบรัดให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวก็จะเป็นการกะทบกระเทือนต่อ พระองค์มากไป ความเศร้าสลดต่อพี่ผู้ร่วมสายโลหิต แม้จะห่างไกลผ่านพ้นมาเกือบสองปีเต็มแล้วก็ยังเป็นความเศร้าที่ข้าพเจ้าเอง ก็พลอยสั่นสะเทือนไปด้วย ข้าพเจ้ากราบถวายบังคมลากลับโฮเต็ลในวันนี้เมื่อได้เวลาพอสมควร รับสั่งถามถึงความสดวกสบายแก่ข้าพเจ้าและคณะ ข้าพเจ้ากราบทูลว่าสดวกเรียบร้อยทุกประการ .................
ข้าพเจ้าใช้เวลาเวียนถวายการสอบสวนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชชนนีประมาณ ๔ ครั้ง จึงเสร็จสิ้น การสอบสวนซึ่งนับว่าครบทุกประเด็นที่คณะกรรมการต้องการ นับเป็นการคลี่คลายมูลเหตุสวรรคตอันมหึมา
:::::::::::::::::::::
จากประวัติการทำคดีสวรรคตของพระพินิจชนคดีซึ่งมีทั้งการข่มขู่พยาน และการสร้างพยานเท็จ ทำให้เราควรต้องอ่านทุกอย่างที่เขาเขียนเกี่ยวกับคดีนี้ รวมทั้งรายละเอียดเรื่องการเข้าเฝ้านี้ อย่างไม่น่าเชื่อถือเสมอ จนกว่าจะมีหลักฐานอื่นมายืนยัน น่าเสียดายว่า หลักฐานเกี่ยวกับการสอบปากคำในหลวงในปี ๒๔๙๑ นี้ เช่นเดียวกับการสอบปากคำโดยตำรวจในปี ๒๔๘๙ ข้างต้น น่าจะสูญหายไปหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่าแม้สิ่งที่พระพินิจฯเขียนข้างต้น จะไม่ควรเชื่อถือนัก แต่เฉพาะข้อความที่พระพินิจฯอ้างว่าในหลวงองค์ปัจจุบันทรงรับสั่ง (“อดคิดถึงพี่ไม่ได้เลยแม้แต่ขณะเดียว...ไม่ได้คิดเลยว่าจะเป็นกษัตริย์ คิดแต่จะเป็นน้องของพี่เท่านั้น”) ดูเหมือนจะมีการนำมาอ้างอิงกันต่อๆมา ในลักษณะที่เป็นพระราชดำรัสที่แท้จริง (authentic)
กรณีสวรรคต ของเว็บไซต์ "ชมรมคนรักในหลวง" (กระทู้ที่ 2 ใน 3 กระทู้)
เว็บไซต์ "ชมรมคนรักในหลวง" ได้โพสต์บทความกรณีสวรรคต โดยขึ้นต้นก็ด่า "คนเลวทรามที่เป็นนักวิชาการได้พยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง" (ใครหว่า อิอิ) http://goo.gl/4ZAfo6
ประเด็นสำคัญของบทความนี้ มีอยู่ประเด็นเดียว ซึ่งผมจะอภิปรายในอีกกระทู้ถัดไป เฉพาะหน้า ขอพูดถึงข้อความทีเว็บไซต์ขึ้นเป็นภาพประกอบ ซึ่งเว็บไซต์หรือคนรักเจ้าจำนวนไม่น้อย เชื่อกันว่าเป็นคำของในหลวงองค์ปัจจุบัน กล่าวถึงในหลวงอานันท์ "....อดคิดถึงพี่ไม่ได้เลยแม้แต่ขณะเดียว ..."
แต่ไหนแต่ไร ผมรู้สึกชอบกลๆกับข้อความนี้ เพราะทั้งโดยคอมมอนด์เซ้นซ์ และโดยทีผมศึกษาอ่านพระราชดำรัสในหลวงองค์ปัจจุบันมานาน สำนวนของประโยคที่อ้างกันนี้ ซึงมีลักษณะ (ถ้าใช้ภาษาสมัยนี้) "ดราม่า" หรือ emotional มาก ไม่น่าจะเป็นอะไรที่ในหลวงจะพูดต่อหน้าคนอื่น หรือให้คนอื่นฟัง (หรือแม้แต่จะพูดกับพระญาติสนิท หรือบริพารใกล้ชิด ก็ไม่คล้ายอีก)
ผมเคยลองค้น จนในทีสุด ก็ไปเจอว่า ข้อความนี้ มีต้นกำเนิดทีน่าสงสัยมาก (dubious origin) คือยิ่งไม่น่าเชื่อว่า จะใช่ข้อความจริง (authentic)
สรุปสั้นๆ คือ มีคนใช้นามปากกาว่า "แหลมสน" เขียนบทความตีพิมพ์ใน นสพ.เกียรติศักดิ์ ในปี 2491 โดยบทความเป็นการสัมภาษณ์ "พระพินิจชนคดี" นายตำรวจที่ควบคุมคดีสวรรคตหลังรัฐประหาร 2490 ตัวบทความหาไม่ได้แล้ว แต่ดำริห์ ปัทมศิริ ได้นำมาตีพิมพ์ซ้ำในหนังสือ "ในหลวงอานันท์ฯกับปรีดี" ในปี 2493 (ซึงตอนหลังโดนปรีดีฟ้องแพ้คดีไป) ในบทความ พระพินิจฯ ได้อ้างว่า ในระหว่างที่เขาเข้าเฝ้าในหลวงทีสวิส เพื่อทูลถามเพิ่มเติมเรืองกรณีสวรรคต ในหลวงได้ทรงเอ่ยข้อความดังกล่าวออกมา (แล้วยังอ้างว่า ในหลวง พูดถึง "พี่นันท์ๆ" ตลอด - นี่ยิ่งเป็นอะไรที่ไม่น่าเป็นไปได้ .. ในหลวงจะใช้คำแบบนี้ต่อหน้าคนอื่น โดยเฉพาะ จนท.ที่ไปสอบสวนอย่างเป็นทางการทำไม? พระองค์น่าจะใช้คำอย่าง "ในหลวง" หรือ "ในหลวงในพระบรมโกศ" มากว่า (หมายถึงในหลวงอานันท์)
ผมเคยเขียนถึงข้อความนี้ ในบทความเกียวกับคำให้การของในหลวงเองในศาลอาญาคดีสวรรคต ปี 2493 ใครสนใจ อ่านได้ที่นี่ http://somsakwork.blogspot.com/2006/09/text-1-2-3.html
ส่วนที่ผมพูดถึงข้อความนี้ เป็นดังนี้ (หรือดูในภาพประกอบด้านขวา ตัวอาจจะเล็กเกินไป หรือมิฉะนั้น ก็แนะนำให้คลิ้กไปดูที่บทความของผมเลย)
.............
อีกครั้งหนึ่ง ทรงให้การต่อพระพินิจชนคดี ซึ่งรัฐบาลหลังการรัฐประหาร ๒๔๙๐ ตั้งให้เป็นนายตำรวจผู้รับผิดชอบคดี เราได้ทราบว่ามีการพระราชทานคำให้การครั้งนี้ จากบทความเรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าบินไปสืบกรณีสวรรคต ที่สวิตเซอร์แลนด์” ซึ่งเป็นบันทึกคำสัมภาษณ์พระพินิจชนคดี (โดยผู้ใช้นามว่า “แหลมสน”) ตีพิมพ์ใน เกียรติศักดิ์ ฉบับวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๑ พระพินิจชนคดีได้เล่าว่า หลังจากพิจารณาบันทึกคำให้การต่างๆใน “ศาลกลางเมือง” แล้ว เขาและคณะผู้รับผิดชอบคดีลงความเห็นว่า “ยากที่จะคลำหาเงื่อนงำคลี่คลายออกไปได้...จำเป็นจะต้อง...ขอพระราชทานการ สอบสวนพระราชกระแสร์เพิ่มเติมจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชชนนี ผู้ทรงใกล้ชิดกับเหตุการณ์ และบุคคลอื่นๆอีกหลายคนซึ่งล้วนแต่อยู่ในต่างประเทศทั้งนั้น” เขาจึงขอและได้รับอนุมัติจากรัฐบาลให้เดินทางไปยุโรป และได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานคำให้การจากทั้ง ๒ พระองค์ที่พระตำหนัก “วิลล่าวัฒนา” พระพินิจชนคดีได้บรรยายการเข้าเฝ้ารับพระราชทานคำให้การด้วยภาษาที่ค่อนข้าง melodramatic ดังนี้
::::::::::::::::
ข้าพเจ้าและคณะใช้เวลาขอพระราชทานการสอบสวนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งแรก ประมาณสองชั่วโมงเศษ ฉลองพระองค์ด้วยสักหลาดสีเกรย์ทั้งชุด ฉลองพระเนตรและพระเกษาซึ่งไม่ค่อยจะทรงพิถีพิถัน อย่างที่เคยประทับเคียงข้างกับในพระบรมโกษฐ์ ที่กรุงเทพฯทุกครั้งคราว อย่างไรก็อย่างนั้น แต่แววพระเนตรนั้นต่างหากที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าทรงเศร้าสลดอยู่ไม่วาย และโดยฉะเพาะก็บ่อยครั้ง เมื่อข้าพเจ้าขอพระราชทานกระแสร์รับสั่งถึงภาพเมื่อวันสวรรคต พระอสุชลคลออยู่ในพระเนตรตลอดเวลา ดำรัสตอบกับข้าพเจ้าทุกครั้งด้วยคำว่า “พี่นันท์- -“ อย่างนั้น และ “พี่นันท์- -“ อย่างนี้ แล้วก็บางทีดำรัสเพียงคำว่า “พี่” คำเดียว ก็ทรงสดุดหยุดลงคล้ายกับจะทรงรำลึกถึงภาพในอดีต เมื่อชำเลืองพระเนตรไปพบกับภาพในเรือบตลำน้อยในวังบางปะอิน ในพระบรมโกษฐ์ทรงกรรเชียงอยู่เอื่อยๆ สิ่งนี้แหละที่ทำให้ข้าพเจ้าทวีความลำบากใจยิ่งขึ้น มันเป็นการรบกวนต่อความรู้สึกในพระราชหฤทัยเหลือเกิน ข้าพเจ้าได้ขอรับพระราชทานอภัยในเหตุนี้ ทรงยิ้มระรื่น แต่เต็มไปด้วยความเยือกเย็น รับสั่งว่า
“อดคิดถึงพี่ไม่ได้เลยแม้แต่ขณะเดียว ฉันเคยคิดว่า ฉันจะไม่ห่างจากพี่ตลอดชีวิต แต่มันเป็นเคราะห์กรรม ไม่ได้คิดเลยว่าจะเป็นกษัตริย์ คิดแต่จะเป็นน้องของพี่เท่านั้น”
ข้าพเจ้าได้กราบถวายบังคมทูลซักไซร้ต่อไปในหลายประเด็น ทรงตอบคำถามข้าพเจ้าอย่างเปิดเผยในทุกประเด็นเช่นเดียวกัน การขอพระราชทานสอบสวนในวันแรกนี้ ข้าพเจ้าได้ผ่อนในประเด็นซึ่งไม่รุนแรง และกะทบพระราชหฤทัยนัก เพราะถ้าจะรวบรัดให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวก็จะเป็นการกะทบกระเทือนต่อ พระองค์มากไป ความเศร้าสลดต่อพี่ผู้ร่วมสายโลหิต แม้จะห่างไกลผ่านพ้นมาเกือบสองปีเต็มแล้วก็ยังเป็นความเศร้าที่ข้าพเจ้าเอง ก็พลอยสั่นสะเทือนไปด้วย ข้าพเจ้ากราบถวายบังคมลากลับโฮเต็ลในวันนี้เมื่อได้เวลาพอสมควร รับสั่งถามถึงความสดวกสบายแก่ข้าพเจ้าและคณะ ข้าพเจ้ากราบทูลว่าสดวกเรียบร้อยทุกประการ .................
ข้าพเจ้าใช้เวลาเวียนถวายการสอบสวนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชชนนีประมาณ ๔ ครั้ง จึงเสร็จสิ้น การสอบสวนซึ่งนับว่าครบทุกประเด็นที่คณะกรรมการต้องการ นับเป็นการคลี่คลายมูลเหตุสวรรคตอันมหึมา
:::::::::::::::::::::
จากประวัติการทำคดีสวรรคตของพระพินิจชนคดีซึ่งมีทั้งการข่มขู่พยาน และการสร้างพยานเท็จ ทำให้เราควรต้องอ่านทุกอย่างที่เขาเขียนเกี่ยวกับคดีนี้ รวมทั้งรายละเอียดเรื่องการเข้าเฝ้านี้ อย่างไม่น่าเชื่อถือเสมอ จนกว่าจะมีหลักฐานอื่นมายืนยัน น่าเสียดายว่า หลักฐานเกี่ยวกับการสอบปากคำในหลวงในปี ๒๔๙๑ นี้ เช่นเดียวกับการสอบปากคำโดยตำรวจในปี ๒๔๘๙ ข้างต้น น่าจะสูญหายไปหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่าแม้สิ่งที่พระพินิจฯเขียนข้างต้น จะไม่ควรเชื่อถือนัก แต่เฉพาะข้อความที่พระพินิจฯอ้างว่าในหลวงองค์ปัจจุบันทรงรับสั่ง (“อดคิดถึงพี่ไม่ได้เลยแม้แต่ขณะเดียว...ไม่ได้คิดเลยว่าจะเป็นกษัตริย์ คิดแต่จะเป็นน้องของพี่เท่านั้น”) ดูเหมือนจะมีการนำมาอ้างอิงกันต่อๆมา ในลักษณะที่เป็นพระราชดำรัสที่แท้จริง (authentic)
กรณีสวรรคต ของเว็บไซต์ "ชมรมคนรักในหลวง" (กระทู้ที่ 2 ใน 3 กระทู้)
No comments:
Post a Comment