ความบาดหมางระหว่างราชสำนักอังกฤษกับราชสำนักไทยอันเนื่องมาจากกรณีสวรรคตในหลวงอานันท์ (3):
คำแปลฉบับเต็ม บันทึกการสนทนาระหว่างลอร์ดหลุยส์ เม้าท์แบตเตน กับพระองค์เจ้าธานีนิวัติ เกี่ยวกับกรณีสวรรคต (หน้า 2 ใน 3 หน้า)
.....................
อ่านตอนที่ 1 ของซีรีส์นี้ ทีนี่ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=760034464049835
อ่านตอนที่ 2 ของซีรีส์นี้ ที่เป็นคำแปล บทสนทนา หน้า 1 ใน 3 หน้า ที่นี่ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=760053174047964
.....................
[คำแปล - ต่อ]
โดยที่พระองค์สามารถให้เหตุผลได้ว่าที่ไม่ทรงสารภาพตั้งแต่ตอนเกิดเหตุการณ์ เพราะตอนนั้นทรงกำลังโศกเศร้าอย่างสุดซึ้งที่ได้ปลงพระชนม์บุคคลที่ทรงรัก มากที่สุดในโลกโดยไม่ตั้งใจ จนพระองค์ยอมถูกจูงใจให้ไม่สารภาพ เพราะกลัวว่าประชาชนของพระองค์อาจจะไม่สามารถรับมือกับการตกใจอย่างสุดขีด ติดกันถึงสองเรื่องได้ ข้าพเจ้าเสนอว่าบัดนี้พระมหากษัตริย์สยามสมควรอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กับประชาชนของพระองค์ ถ้าหากพระองค์คือผู้ทรงรับผิดชอบอย่างเป็นอุบัติเหตุต่อการสิ้นพระชนม์ของ พระเชษฐาดังที่กล่าวมานี้จริงๆ
7. พระองค์เจ้าธานีนิวัติกล่าวว่า ถ้าสิ่งที่ข้าพเจ้าเสนอเป็นความจริง เขาก็มั่นใจว่าข้อเสนอของข้าพเจ้าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและสมควรทำตาม แต่ข้อเท็จจริงคือ การสอบสวนที่ทำกันขึ้นได้ตัดพระมหากษัตริย์สยามออกจากความต้องสงสัยโดยสิ้น เชิง เพราะพระองค์มีข้อแก้ต่างแน่นหนาชนิดหุ้มเกราะเหล็กว่าไม่อยู่ในที่เกิดเหตุ [had a cast-iron alibi] ขณะที่ปืนลั่น พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันทรงอยู่ในห้องบรรทมของพระองค์ ที่ไม่ได้อยู่ติดกับห้องบรรทมของพระมหากษัตริย์ในพระบรมโกษฐ์ เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ได้เห็นพระมหาษัตริย์องค์ปัจจุบันปรากฏพระองค์ ออกมาจากห้องบรรทมของพระองค์ แล้วเสด็จไปที่ห้องบรรทมของพระเชษฐาหลังจากกระสุนปืนลั่นแล้ว ประเด็นที่ว่าพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันเกี่ยวข้องกับการสวรรคตจึงไม่มี
8. ข้าพเจ้าจึงถามพระองค์เจ้าธานีว่า ถ้าความจริงเป็นเช่นนั้น เหตุใดความเป็นผู้บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันดัง กล่าวจึงไม่เคยได้รับการอธิบายออกไปต่อสาธารณะ [publicized] พระองค์เจ้าธานีตอบว่า เขาคิดว่าที่เป็นเช่นนั้นคงเนื่องจากว่า เพื่อไม่ให้เกิดการกระตุ้นเตือนให้ใครแม้แต่จะจินตนาการขึ้นมาว่ากรณีพระมหา กษัตริย์ปลงพระชนม์พระเชษฐา เป็นความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง
9. ข้าพเจ้าชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์ได้มาถึงจุดที่ผู้รู้จักคิด [thinking people] จำนวนหนึ่งยากจะได้ข้อสรุปอย่างอื่นนอกจากว่าอุบัติเหตุ [โดยพระอนุชา] ดังกล่าว เป็นไปได้มากที่สุด เพราะถ้าปลงพระชนม์พระองค์เองเป็นไปไม่ได้ ส่วนเรื่องลอบปลงพระชนม์ ใครล่ะจะเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์ไปได้? แล้วไหนล่ะแรงจูงใจของการลอบปลงพระชนม์?
10. พระองค์เจ้าธานีนิวัติได้บอกข้าพเจ้าว่า เชื่อกันว่า นายทหารเรือหนุ่มคนหนึ่งซึ่งเป็นพรรคพวกและเพื่อนใกล้ชิดกับนายปรีดี พนมยงค์ อดีตผู้สำเร็จราชการและรัฐบุรุษอาวุโส คือผู้ลอบปลงพระชนม์ พระองค์เองไม่เคยเลยแม้แต่น้อยที่จะคิดว่าปรีดีมีส่วนรู้เห็นในการวางแผนลอบ ปลงพระชนม์ แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาพรรคพวกของปรีดี รู้ว่าปรีดีมีความไม่พอใจในพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกษฐ์ เพราะแม้ว่าเขาจะเป็นผู้เชิญพระองค์ให้เสด็จกลับประเทศเอง แต่เมื่อกลับมาแล้ว พระองค์กลับไม่ให้ความร่วมมือกับเขา อันที่จริง เป็นที่ลือกันว่าพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกษฐ์ได้ประสบชะตากรรมแบบเดียวกับ ทอมัส เบ็คเก็ท – คือผู้ลอบปลงพระชนม์พระองค์ทำการลอบปลงพระชนม์โดยหวังว่าจะทำให้ปรีดีพอใจ มีคนพูดว่าตัวปรีดีเองรู้สึกตกใจมากเมื่อค้นพบความจริง แต่เขาตระหนักว่าแรงจูงใจเบื้องหลังการลอบปลงพระชนม์มาจากความภักดีต่อเขา เขาจึงสั่งการตำรวจอย่างผิดๆ [misdirect] เพื่อประกันไม่ให้ข้อสรุปของการสอบสวนออกมาว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์
11. นี่คือคำอธิบายของพระองค์เจ้าธานีนิวัติเรื่องแรงจูงใจ และนายทหารเรือหนุ่มดังกล่าวคือคนที่เขาเสนอว่าเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์ ข้าพเจ้าได้เสนอความเห็นของข้าพเจ้าว่า ถ้าเช่นนั้น แม้จะเป็นเรื่องดีมาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่จะต้องประกาศชื่อผู้ลอบปลงพระชนม์และแรงจูงใจ เพื่อจะยืนยันความบริสุทธิ๋ของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน เพราะสิ่งที่ต้องการขั้นต่ำสุดเพื่อการณ์นั้น ก็คือข้อแก้ต่างแน่นหนาชนิดหุ้มเกราะเหล็กว่าไม่อยู่ในที่เกิดเหตุ [a cast-iron alibi] ซึ่งก็ดูเหมือนจะมีอยู่แล้ว
12. ข้าพเจ้ากล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าไม่สามารถสนับสนุน [recommend] ให้พระมหากษัตริย์สยามองค์ปัจจุบันเสด็จเยือนอังกฤษ จนกว่าปัญหาว่าพระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยิงพระเชษฐาโดยอุบัติเหตุจะได้ รับการทำให้กระจ่างโดยสิ้นเชิงก่อน
พระองค์เจ้าธานีนิวัติทรงเข้าใจประเด็นที่ข้าพเจ้าเสนอนี้
[ยังมีต่อ]
คำแปลฉบับเต็ม บันทึกการสนทนาระหว่างลอร์ดหลุยส์ เม้าท์แบตเตน กับพระองค์เจ้าธานีนิวัติ เกี่ยวกับกรณีสวรรคต (หน้า 2 ใน 3 หน้า)
.....................
อ่านตอนที่ 1 ของซีรีส์นี้ ทีนี่ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=760034464049835
อ่านตอนที่ 2 ของซีรีส์นี้ ที่เป็นคำแปล บทสนทนา หน้า 1 ใน 3 หน้า ที่นี่ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=760053174047964
.....................
[คำแปล - ต่อ]
โดยที่พระองค์สามารถให้เหตุผลได้ว่าที่ไม่ทรงสารภาพตั้งแต่ตอนเกิดเหตุการณ์ เพราะตอนนั้นทรงกำลังโศกเศร้าอย่างสุดซึ้งที่ได้ปลงพระชนม์บุคคลที่ทรงรัก มากที่สุดในโลกโดยไม่ตั้งใจ จนพระองค์ยอมถูกจูงใจให้ไม่สารภาพ เพราะกลัวว่าประชาชนของพระองค์อาจจะไม่สามารถรับมือกับการตกใจอย่างสุดขีด ติดกันถึงสองเรื่องได้ ข้าพเจ้าเสนอว่าบัดนี้พระมหากษัตริย์สยามสมควรอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กับประชาชนของพระองค์ ถ้าหากพระองค์คือผู้ทรงรับผิดชอบอย่างเป็นอุบัติเหตุต่อการสิ้นพระชนม์ของ พระเชษฐาดังที่กล่าวมานี้จริงๆ
7. พระองค์เจ้าธานีนิวัติกล่าวว่า ถ้าสิ่งที่ข้าพเจ้าเสนอเป็นความจริง เขาก็มั่นใจว่าข้อเสนอของข้าพเจ้าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและสมควรทำตาม แต่ข้อเท็จจริงคือ การสอบสวนที่ทำกันขึ้นได้ตัดพระมหากษัตริย์สยามออกจากความต้องสงสัยโดยสิ้น เชิง เพราะพระองค์มีข้อแก้ต่างแน่นหนาชนิดหุ้มเกราะเหล็กว่าไม่อยู่ในที่เกิดเหตุ [had a cast-iron alibi] ขณะที่ปืนลั่น พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันทรงอยู่ในห้องบรรทมของพระองค์ ที่ไม่ได้อยู่ติดกับห้องบรรทมของพระมหากษัตริย์ในพระบรมโกษฐ์ เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ได้เห็นพระมหาษัตริย์องค์ปัจจุบันปรากฏพระองค์ ออกมาจากห้องบรรทมของพระองค์ แล้วเสด็จไปที่ห้องบรรทมของพระเชษฐาหลังจากกระสุนปืนลั่นแล้ว ประเด็นที่ว่าพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันเกี่ยวข้องกับการสวรรคตจึงไม่มี
8. ข้าพเจ้าจึงถามพระองค์เจ้าธานีว่า ถ้าความจริงเป็นเช่นนั้น เหตุใดความเป็นผู้บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันดัง กล่าวจึงไม่เคยได้รับการอธิบายออกไปต่อสาธารณะ [publicized] พระองค์เจ้าธานีตอบว่า เขาคิดว่าที่เป็นเช่นนั้นคงเนื่องจากว่า เพื่อไม่ให้เกิดการกระตุ้นเตือนให้ใครแม้แต่จะจินตนาการขึ้นมาว่ากรณีพระมหา กษัตริย์ปลงพระชนม์พระเชษฐา เป็นความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง
9. ข้าพเจ้าชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์ได้มาถึงจุดที่ผู้รู้จักคิด [thinking people] จำนวนหนึ่งยากจะได้ข้อสรุปอย่างอื่นนอกจากว่าอุบัติเหตุ [โดยพระอนุชา] ดังกล่าว เป็นไปได้มากที่สุด เพราะถ้าปลงพระชนม์พระองค์เองเป็นไปไม่ได้ ส่วนเรื่องลอบปลงพระชนม์ ใครล่ะจะเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์ไปได้? แล้วไหนล่ะแรงจูงใจของการลอบปลงพระชนม์?
10. พระองค์เจ้าธานีนิวัติได้บอกข้าพเจ้าว่า เชื่อกันว่า นายทหารเรือหนุ่มคนหนึ่งซึ่งเป็นพรรคพวกและเพื่อนใกล้ชิดกับนายปรีดี พนมยงค์ อดีตผู้สำเร็จราชการและรัฐบุรุษอาวุโส คือผู้ลอบปลงพระชนม์ พระองค์เองไม่เคยเลยแม้แต่น้อยที่จะคิดว่าปรีดีมีส่วนรู้เห็นในการวางแผนลอบ ปลงพระชนม์ แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาพรรคพวกของปรีดี รู้ว่าปรีดีมีความไม่พอใจในพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกษฐ์ เพราะแม้ว่าเขาจะเป็นผู้เชิญพระองค์ให้เสด็จกลับประเทศเอง แต่เมื่อกลับมาแล้ว พระองค์กลับไม่ให้ความร่วมมือกับเขา อันที่จริง เป็นที่ลือกันว่าพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกษฐ์ได้ประสบชะตากรรมแบบเดียวกับ ทอมัส เบ็คเก็ท – คือผู้ลอบปลงพระชนม์พระองค์ทำการลอบปลงพระชนม์โดยหวังว่าจะทำให้ปรีดีพอใจ มีคนพูดว่าตัวปรีดีเองรู้สึกตกใจมากเมื่อค้นพบความจริง แต่เขาตระหนักว่าแรงจูงใจเบื้องหลังการลอบปลงพระชนม์มาจากความภักดีต่อเขา เขาจึงสั่งการตำรวจอย่างผิดๆ [misdirect] เพื่อประกันไม่ให้ข้อสรุปของการสอบสวนออกมาว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์
11. นี่คือคำอธิบายของพระองค์เจ้าธานีนิวัติเรื่องแรงจูงใจ และนายทหารเรือหนุ่มดังกล่าวคือคนที่เขาเสนอว่าเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์ ข้าพเจ้าได้เสนอความเห็นของข้าพเจ้าว่า ถ้าเช่นนั้น แม้จะเป็นเรื่องดีมาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่จะต้องประกาศชื่อผู้ลอบปลงพระชนม์และแรงจูงใจ เพื่อจะยืนยันความบริสุทธิ๋ของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน เพราะสิ่งที่ต้องการขั้นต่ำสุดเพื่อการณ์นั้น ก็คือข้อแก้ต่างแน่นหนาชนิดหุ้มเกราะเหล็กว่าไม่อยู่ในที่เกิดเหตุ [a cast-iron alibi] ซึ่งก็ดูเหมือนจะมีอยู่แล้ว
12. ข้าพเจ้ากล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าไม่สามารถสนับสนุน [recommend] ให้พระมหากษัตริย์สยามองค์ปัจจุบันเสด็จเยือนอังกฤษ จนกว่าปัญหาว่าพระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยิงพระเชษฐาโดยอุบัติเหตุจะได้ รับการทำให้กระจ่างโดยสิ้นเชิงก่อน
พระองค์เจ้าธานีนิวัติทรงเข้าใจประเด็นที่ข้าพเจ้าเสนอนี้
[ยังมีต่อ]
No comments:
Post a Comment