Sunday, December 7, 2014

" ปลายสายของผม คือพวกเผด็จการ " บุเรงนอง : ตอน 4


หลัง จากที่ผมเซ็นเอกสารบันทึกข้อตกลงระหว่างตัวผมเองกับทางคณะเผด็จการทหารแล้ว โทรศัพท์มือถือที่โดนยึดไปนั้นผมยังไม่ได้รับคืนทันที ทหารพูดเสียงดังกับผมว่า ให้มารับโทรศัพท์คืนในอีก ๒ วันถัดไป

ผมแทบไม่อยากเชื่อว่าตัวเองจะได้รับอิสรภาพอีกครั้ง ผมเข้า ใจว่าคนที่ถูกจับในขณะชุมนุม ทหารคงส่งต่อไปต่างจังหวัดเพื่อ “ปรับทัศนคติ” ผมไม่แน่ใจว่าผมรู้สึกดีใจหรือเปล่าที่รอดพ้นจากเงื้อมมือเผด็จการมาได้ ด้วยการตกลงทำสัญญาเพื่อให้ผมหันหลังต่ออุดมการณ์ที่ยึดมั่น

ตลอดระยะเวลา ๒ วัน ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทบทวนตัวเอง ผมเฝ้ามองการชุมนุมต่อต้านรัฐประหารที่ถูกทำลายไปเรื่อยๆ แม้จะมีการนัดหมายให้ไปชุมนุมที่อนุสาวรีย์ (ชัยสมรภูมิ) อยู่บ้าง แต่คนที่ไปก็มีจำนวนน้อยลงเต็มที

บ่ายวันหนึ่งก่อนที่ผมจะไปเอาโทรศัพท์คืน เจ้าหน้าที่สันติบาลคนหนึ่งโทรหาผม เสียงของเขาฟังดูเหมือนชายวัยกลางคนอายุราวๆ ๔๐ ปี น้ำเสียงค่อนข้างเป็นมิตรเหมือนเซลส์ขายประกันที่พยายามผูกมิตรกับคุณจนเกิน เหตุ

“สวัสดี คุณ...ใช่มั้ย ผม…จากสันติบาลนะ เป็นไงบ้าง สบายดีหรือเปล่า” สันติบาลผู้นั้นถามผม ประหนึ่งว่าผมเพิ่งกลับจากงานเลี้ยงคาเฟ่ ผมไม่อยากยั่วโมโหเขา พยายามตอบตามความเป็นจริงเท่าที่จะทำได้ “ก็เรื่อยๆ แหละพี่” ผมพยายามทำน้ำเสียงสบายๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผมไม่อยากให้เขารู้สึกว่าชนะ “อื้มดี แล้วช่วงนี้ยังไปชุมนุมหรือเปล่า” เขาทำน้ำเสียงสบายๆ เช่นกัน “ช่วงนี้ผมไม่ได้ยุ่งกับการเมืองเท่าไหร่ ตอนนี้ขอทำหน้าที่ตนเองให้ดีที่สุด” “อึดอัดมั้ยที่โดนห้ามชุมนุมแบบนี้” ผมอึ้งเมื่อได้ยินประโยคนี้ มันก็เห็นชัดๆอยู่แล้ว การที่ประชาชนออกมาชุมนุมเพื่อต่อต้านเผด็จการทหาร ก็เพราะเขาอึดอัด เขาไม่พอใจ “แน่นอน ผมว่าคนที่ไม่เอารัฐประหารก็รู้สึกแบบนั้นนะ และอาจจะไม่ใช่แค่ประชาชนที่อึดอัด ตำรวจหลายคนก็ไม่น่าจะรู้สึกแตกต่างกับประชาชนเท่าไหร่” ผมพยายามแซะ ผมรู้ดีว่านับแต่มีการรัฐประหาร ตำรวจจำนวนมากก็โดนทหารกดขี่ข่มเหงจนแทบไม่เหลือศักดิ์ศรีอะไรแล้ว “หึหึ ถ้าไงช่วงนี้ก็พยายามปล่อยวางไปก่อน อย่าเพิ่งทำอะไรจะดีกว่า เอาละเดี๋ยวเท่านี้ก่อน” สันติบาลตัดบทสนทนา

เมื่อถึงเวลานัดหมายที่ผมต้องไปเอาโทรศัพท์คืน ผมก็ได้เดินทางไปที่สโมสรกองทัพบก คนที่ถูกจับพร้อมกับผมบางคนก็มาถึงแล้ว แต่บางคนยังมาไม่ถึง พวกทหารมีท่าทีกระวนกระวายมากๆ ที่มีบางคนยังไม่มารับโทรศัพท์คืน ทหารไม่ยอมมอบโทรศัพท์คืนให้ผมในทันที เวลานั้นผมเป็นกังวลว่าผมอาจจะโดนจับอีกรอบ ผมไม่ได้เป็นห่วงในอิสรภาพของตัวเองเท่าไร แต่ผมห่วงว่าเขาจะยึดโทรศัพท์ผมอีกเครื่องที่ผมนำมาในวันนี้ เพราะโทรศัพท์เครื่องนี้เป็นเครื่องหลักและมีข้อมูลสำคัญค่อนข้างมาก ผมตำหนิตัวเองในใจว่าทำไมมองแง่ดีอย่างนี้ คิดเหรอว่าจะไม่ถูกจับ ถึงได้กล้าเอาโทรศัพท์เครื่องนี้มา

หลังจากผ่านไปหลายชั่วโมง ทุกคนก็มาจนครบ พวกเขาพาพวกเราไปพบนายทหารผู้ใหญ่คนหนึ่ง ซึ่งใช้เวลาไม่นานในการอธิบายความจำเป็นของการรัฐประหาร (ทหารเกือบทุกคนก็พูดประโยคแบบเดียวกัน ไม่ว่ายศจะสูงแค่ไหนก็ตาม สมองเหมือนกันหมดทุกคน) ผมก็ฟังๆ ให้จบไป มันค่อนข้างทำใจได้ยากมากที่จะไม่ยกมือแย้ง ผ่านไปราว ๑ ชั่วโมง ก็จบการเทศนาเกี่ยวกับการแช่แข็งประชาธิปไตย แล้วผมก็ได้รับโทรศัพท์มือถือคืน

นับจากเหตุการณ์วันนั้นจนถึงปัจจุบัน ผมรู้สึกได้ว่าผมได้รับความสนใจจากทางกองทัพมากจนน่าหัวเราะ โดยเฉลี่ย ๒ สัปดาห์ต่อครั้งจะมีตำรวจที่มียศไม่น้อยกว่าพันโทโทรมาหาผมเพื่อเช็คว่า ผมกำลังทำอะไรอยู่ ผมจะไปร่วมกิจกรรมชุมนุมหรืองานเสวนาอะไรหรือเปล่า มันคือการคุกคามที่ทำให้ผมไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปรกติ ผมต้องคอยรายงานตัว และยืนยันว่าจะไม่ไปเรียกร้องประชาธิปไตย หรือปลุกระดมใคร บางทีมันก็ดูเหมือนเป็นเรื่องตลกที่ตำรวจทำกับผมราวเป็นเด็กเกเรที่พร้อมจะ ก่อความวุ่นวายทุกเมื่อ ทั้งที่ความเป็นจริงคือ ผมอยู่เคียงข้างประชาธิปไตย และพวกคุณคือตำรวจที่รับใช้โจรที่ปล้นอำนาจอธิปไตยของคนไทยไป

- บุเรงนอง

Photo: หลังจากที่ผมเซ็นเอกสารบันทึกข้อตกลงระหว่างตัวผมเองกับทางคณะเผด็จการทหารแล้ว โทรศัพท์มือถือที่โดนยึดไปนั้นผมยังไม่ได้รับคืนทันที ทหารพูดเสียงดังกับผมว่า ให้มารับโทรศัพท์คืนในอีก ๒ วันถัดไป

ผมแทบไม่อยากเชื่อว่าตัวเองจะได้รับอิสรภาพอีกครั้ง ผมเข้าใจว่าคนที่ถูกจับในขณะชุมนุม ทหารคงส่งต่อไปต่างจังหวัดเพื่อ “ปรับทัศนคติ” ผมไม่แน่ใจว่าผมรู้สึกดีใจหรือเปล่าที่รอดพ้นจากเงื้อมมือเผด็จการมาได้ ด้วยการตกลงทำสัญญาเพื่อให้ผมหันหลังต่ออุดมการณ์ที่ยึดมั่น

ตลอดระยะเวลา ๒ วัน ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทบทวนตัวเอง ผมเฝ้ามองการชุมนุมต่อต้านรัฐประหารที่ถูกทำลายไปเรื่อยๆ แม้จะมีการนัดหมายให้ไปชุมนุมที่อนุสาวรีย์ (ชัยสมรภูมิ) อยู่บ้าง แต่คนที่ไปก็มีจำนวนน้อยลงเต็มที 

บ่ายวันหนึ่งก่อนที่ผมจะไปเอาโทรศัพท์คืน เจ้าหน้าที่สันติบาลคนหนึ่งโทรหาผม เสียงของเขาฟังดูเหมือนชายวัยกลางคนอายุราวๆ ๔๐ ปี น้ำเสียงค่อนข้างเป็นมิตรเหมือนเซลส์ขายประกันที่พยายามผูกมิตรกับคุณจนเกินเหตุ

“สวัสดี คุณ...ใช่มั้ย ผม…จากสันติบาลนะ เป็นไงบ้าง สบายดีหรือเปล่า” สันติบาลผู้นั้นถามผม ประหนึ่งว่าผมเพิ่งกลับจากงานเลี้ยงคาเฟ่ ผมไม่อยากยั่วโมโหเขา พยายามตอบตามความเป็นจริงเท่าที่จะทำได้ “ก็เรื่อยๆ แหละพี่” ผมพยายามทำน้ำเสียงสบายๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผมไม่อยากให้เขารู้สึกว่าชนะ “อื้มดี แล้วช่วงนี้ยังไปชุมนุมหรือเปล่า” เขาทำน้ำเสียงสบายๆ เช่นกัน “ช่วงนี้ผมไม่ได้ยุ่งกับการเมืองเท่าไหร่ ตอนนี้ขอทำหน้าที่ตนเองให้ดีที่สุด” “อึดอัดมั้ยที่โดนห้ามชุมนุมแบบนี้” ผมอึ้งเมื่อได้ยินประโยคนี้ มันก็เห็นชัดๆอยู่แล้ว การที่ประชาชนออกมาชุมนุมเพื่อต่อต้านเผด็จการทหาร ก็เพราะเขาอึดอัด เขาไม่พอใจ “แน่นอน ผมว่าคนที่ไม่เอารัฐประหารก็รู้สึกแบบนั้นนะ และอาจจะไม่ใช่แค่ประชาชนที่อึดอัด ตำรวจหลายคนก็ไม่น่าจะรู้สึกแตกต่างกับประชาชนเท่าไหร่” ผมพยายามแซะ ผมรู้ดีว่านับแต่มีการรัฐประหาร ตำรวจจำนวนมากก็โดนทหารกดขี่ข่มเหงจนแทบไม่เหลือศักดิ์ศรีอะไรแล้ว “หึหึ ถ้าไงช่วงนี้ก็พยายามปล่อยวางไปก่อน อย่าเพิ่งทำอะไรจะดีกว่า เอาละเดี๋ยวเท่านี้ก่อน” สันติบาลตัดบทสนทนา

เมื่อถึงเวลานัดหมายที่ผมต้องไปเอาโทรศัพท์คืน ผมก็ได้เดินทางไปที่สโมสรกองทัพบก คนที่ถูกจับพร้อมกับผมบางคนก็มาถึงแล้ว แต่บางคนยังมาไม่ถึง พวกทหารมีท่าทีกระวนกระวายมากๆ ที่มีบางคนยังไม่มารับโทรศัพท์คืน ทหารไม่ยอมมอบโทรศัพท์คืนให้ผมในทันที เวลานั้นผมเป็นกังวลว่าผมอาจจะโดนจับอีกรอบ ผมไม่ได้เป็นห่วงในอิสรภาพของตัวเองเท่าไร แต่ผมห่วงว่าเขาจะยึดโทรศัพท์ผมอีกเครื่องที่ผมนำมาในวันนี้ เพราะโทรศัพท์เครื่องนี้เป็นเครื่องหลักและมีข้อมูลสำคัญค่อนข้างมาก ผมตำหนิตัวเองในใจว่าทำไมมองแง่ดีอย่างนี้ คิดเหรอว่าจะไม่ถูกจับ ถึงได้กล้าเอาโทรศัพท์เครื่องนี้มา

หลังจากผ่านไปหลายชั่วโมง ทุกคนก็มาจนครบ พวกเขาพาพวกเราไปพบนายทหารผู้ใหญ่คนหนึ่ง ซึ่งใช้เวลาไม่นานในการอธิบายความจำเป็นของการรัฐประหาร (ทหารเกือบทุกคนก็พูดประโยคแบบเดียวกัน ไม่ว่ายศจะสูงแค่ไหนก็ตาม สมองเหมือนกันหมดทุกคน) ผมก็ฟังๆ ให้จบไป มันค่อนข้างทำใจได้ยากมากที่จะไม่ยกมือแย้ง ผ่านไปราว ๑ ชั่วโมง ก็จบการเทศนาเกี่ยวกับการแช่แข็งประชาธิปไตย แล้วผมก็ได้รับโทรศัพท์มือถือคืน

นับจากเหตุการณ์วันนั้นจนถึงปัจจุบัน ผมรู้สึกได้ว่าผมได้รับความสนใจจากทางกองทัพมากจนน่าหัวเราะ โดยเฉลี่ย ๒ สัปดาห์ต่อครั้งจะมีตำรวจที่มียศไม่น้อยกว่าพันโทโทรมาหาผมเพื่อเช็คว่า ผมกำลังทำอะไรอยู่ ผมจะไปร่วมกิจกรรมชุมนุมหรืองานเสวนาอะไรหรือเปล่า มันคือการคุกคามที่ทำให้ผมไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปรกติ ผมต้องคอยรายงานตัว และยืนยันว่าจะไม่ไปเรียกร้องประชาธิปไตย หรือปลุกระดมใคร บางทีมันก็ดูเหมือนเป็นเรื่องตลกที่ตำรวจทำกับผมราวเป็นเด็กเกเรที่พร้อมจะก่อความวุ่นวายทุกเมื่อ ทั้งที่ความเป็นจริงคือ ผมอยู่เคียงข้างประชาธิปไตย และพวกคุณคือตำรวจที่รับใช้โจรที่ปล้นอำนาจอธิปไตยของคนไทยไป

- บุเรงนอง

No comments:

Post a Comment