กระทู้นี้เป็นประเด็นต่อเนื่องจากกระทู้ก่อนหน้านี้ คือจริงๆ กระทู้ก่อนหน้านี้ ถ้าอ่านให้ตลอด ก็จะเห็นว่า ประเด็นที่ผมสนใจ ไมใช่อยู่ทีตัวภาพ ("ร่ำลา" - แน่ะ ตั้งชื่อเท่ห์ๆให้ ความจริงเหตุการณ์ในภาพอาจจะไม่ใช่การร่ำลาจริงๆด้วยซ้ำ) แต่อยู่ที่ "ผลสะเทือน" หรือ "อำนาจ" ของ "ภาพ" ซึ่งเป็นประเด็นที่ผมสนใจมานาน
ผมเคยคิดจะเขียนบทความนึง ตั้งชื่อแบบทีจั่วหัวภาษาไทยข้างบนเลย #พระเสโทหยดนั้น เพื่อวิเคราะห์ถึง "ผล" ของภาพที่มีชื่อเสียงมาก ทีในหลวงทรงมี "พระเสโท" หรือ "เหงื่อ" หยดหนึ่งที่ดั้งจมูกน่ะ คือภาพนั้น มันมี "อิทธิพล" ชนิด "เหลือเชื่อ" มากๆ (ชนิด "เมตาฟิซิคอล" metaphysical อะไรแบบนั้นเลย) เราได้เห็น รอยัลลิสต์หลายคน "อิน" มากกับภาพนั้น คุณสนธิ บัง หลัง รปห 49 มีอยู่ครั้งนึง ให้สัมภาษณ์เรืองเบื้องหลัง รปห แล้วพูดพาดพิงเรืองทำเพื่อในหลวงอะไรแบบนั้น ก็ยกภาพนั้นขึ้นมา ไม่กี่ปีก่อน มีหนังสั้นสดุดีในหลวง ที่พี่สาวกับน้องชายคุยกัน น้องชายเป็นคนขี้เกียจไม่ชอบทำงาน พีสาวเลยยกรูป "เหงื่อ" ในหลวงขึ้นมาเป็นตัวอย่างสั่งสอน ... ยังมีกรณีตัวอย่างของการฟูมฟายกับภาพนั้นชนิด "เหลือเชื่อ" แบบ "เมตาฟิซิคอล" แบบนี้อีกเยอะ อีกรูปที่ใกล้กัน คือรูปที่แสดงให้เห็นในหลวงมี เหงื่อเปื้อนเสื้อตรงแผ่นหลังน่ะ .. ผมชอบนึกเปรียบเทียบถึงบางที นักการเมือง มีภาพ"หลุด" (เพราะเขาระวังไม่ให้มีกันเรืองแบบนี้) ทีแสดงให้เห็น "ใต้วงแขน"เสื้อจะมีรอย "เหงื่อ" เปื้อนน่ะ ("เหงื่อเปื้อนใต้จักกะแร้" อะไรแบบนั้นน่ะ) ไม่เห็นมีใคร "ฟูมฟาย" เรือง "ไอ้นักการเมืองคนนี้ทำงานหนัก บลา บลา
ผมสนใจภาพ "พระเสโทหยดนั้น" มานาน พยายามหาความเป็นมาทีแน่ๆ ก็ไม่ได้ (มี
"มิตรสหายท่านหนึ่ง" เคยให้ชื่อคนที่ว่าเป็นช่างภาพที่ถ่ายภาพนั้นมา
และให้เบอร์โทรฯมาด้วย ผมพยายามโทรฯ แต่ไม่เคยได้ ไม่แน่ใจว่า
ทั้งชื่อและเบอร์โทรฯ อาจจะไม่ตรงก็ได้)
เท่าที่ผมเช็คได้แน่ๆคือ ภาพนั้น เพิ่งเริ่มมีการเผยแพร่หลังทศวรรษ 2520 (คือหลังจากยุคผมโตแล้ว สมัยผมเด็ก ยุคสฤษดิ์-ถนอม ที่ว่ามีการฟื้นฟูเจ้า ยังไม่มีภาพนั้น) .. และผมมองว่า เป็นส่วนหนึงของการ "เปลี่ยนแปลง" เกี่ยวกับ การ - ถ้าจะใช้คำวิชาการฝรังที่นิยมใช้กัน - representation หรือ "การนำเสนอ" เรืองสถาบันฯ ทีค่อยๆเกิดขึั้นหลังทศวรรษ 2520 (และมา "พีค" ในทศวรรษ 2530-2540) ลักษณะที่ "ทำให้เป็นตัวบุคคล" มากขึ้น และเปลี่ยนจากด้านทีเน้นเรือง "ความมั่นคง" (ภาพในหลวง อย่างในหนังสือพิมพ์วันที่ 5 ธันวา ก่อนทศวรรษ 2520 - อันนี้ ผมค้นคว้ามาแล้ว - ส่วนใหญ่เป็นภาพในเครืองแบบทหาร หรือเครืองแบบราชการเต็มยศ) กลายมามีลักษณะ แบบ "ชนชั้นกลางเมือง" มากขึน (ภาพวันที่ 5 ธันวา ใน นสพ จะเปลี่ยนเป็นภาพ ในสูทสากล ถือแผนที อะไรแบบนั้น เป็นหลักแทน) และเน้นเรือง "โครงการพระราชดำริ" .. และ "ทำงานหนัก" แทน "ตีม" เรืองในหลวง "ทำงานหนัก" จริงๆ ไม่มีในสมัยก่อน เป็นอะไรทีใหม่ - พูดอีกอย่างคือเป็น "ตีม" แบบ "บูชัวร์" ("ทำงาน" "สร้างตัวเอง" อะไรแบบนั้น) ภาพ "พระเสโทหยดนั้น" เข้ากับ "ปริบท" ของความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้
เท่าที่ผมเช็คได้แน่ๆคือ ภาพนั้น เพิ่งเริ่มมีการเผยแพร่หลังทศวรรษ 2520 (คือหลังจากยุคผมโตแล้ว สมัยผมเด็ก ยุคสฤษดิ์-ถนอม ที่ว่ามีการฟื้นฟูเจ้า ยังไม่มีภาพนั้น) .. และผมมองว่า เป็นส่วนหนึงของการ "เปลี่ยนแปลง" เกี่ยวกับ การ - ถ้าจะใช้คำวิชาการฝรังที่นิยมใช้กัน - representation หรือ "การนำเสนอ" เรืองสถาบันฯ ทีค่อยๆเกิดขึั้นหลังทศวรรษ 2520 (และมา "พีค" ในทศวรรษ 2530-2540) ลักษณะที่ "ทำให้เป็นตัวบุคคล" มากขึ้น และเปลี่ยนจากด้านทีเน้นเรือง "ความมั่นคง" (ภาพในหลวง อย่างในหนังสือพิมพ์วันที่ 5 ธันวา ก่อนทศวรรษ 2520 - อันนี้ ผมค้นคว้ามาแล้ว - ส่วนใหญ่เป็นภาพในเครืองแบบทหาร หรือเครืองแบบราชการเต็มยศ) กลายมามีลักษณะ แบบ "ชนชั้นกลางเมือง" มากขึน (ภาพวันที่ 5 ธันวา ใน นสพ จะเปลี่ยนเป็นภาพ ในสูทสากล ถือแผนที อะไรแบบนั้น เป็นหลักแทน) และเน้นเรือง "โครงการพระราชดำริ" .. และ "ทำงานหนัก" แทน "ตีม" เรืองในหลวง "ทำงานหนัก" จริงๆ ไม่มีในสมัยก่อน เป็นอะไรทีใหม่ - พูดอีกอย่างคือเป็น "ตีม" แบบ "บูชัวร์" ("ทำงาน" "สร้างตัวเอง" อะไรแบบนั้น) ภาพ "พระเสโทหยดนั้น" เข้ากับ "ปริบท" ของความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้
No comments:
Post a Comment