Sunday, December 7, 2014

เสรีภาพทางวิชาการที่ถูกริบ บุเรงนอง ตอน 3


ความน่าสิ้นหวังของระบบการศึกษายุคเผด็จการ

เมื่อไม่นานมานี้ หลายคนคงได้ทราบข่าวที่กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) ได้จัดงานเสวนา “ห้องเรียนประชาธิปไตย : บทที่ ๒ การล่มสลายของเผด็จการในต่างประเทศ” ที่ถูกยกเลิกกลางคันในระหว่างที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์กำลังบรรยายนิยามของเผด็จการ ซึ่งภายในงานนั้นผมเองได้เข้าร่วมฟังเสวนาอยู่ด้วย

ภาพที่ปรากฏในงานวันนั้นยังตราตึงอยู่ภายในความทรงจำของของผม ผมรู้สึกเกรี้ยวโกรธที่ตำรวจได้สั่งให้ยกเลิกงานเสวนากลางคัน ผมได้เห็นบรรดานักศึกษาและอาจารย์ที่จัดงานถูกจับตัวไป ความรู้สึกในเวลานั้น ผมทำอะไรไม่ถูกเลย ผมอยากเข้าไปช่วย แต่ก็รู้ดีว่ามันจะยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ มันไม่ควรเกิดความรุนแรงใดๆ ขึ้นในงานนี้ เสรีภาพทางวิชาการควรได้รับการปกป้อง อธิการบดีกำลังทำอะไรอยู่ ทำไมจึงมีเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเป็นหัวหอกในการยกเลิกงานเสวนา สรุปว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็เห็นด้วยใช่มั้ยที่ตำรวจทำแบบนี้?

รุ่นน้องผมหลายคนที่เรียนธรรมศาสตร์บอกกับผมว่า นับแต่มีการยกเลิกงานเสวนาห้องเรียนประชาธิปไตย ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากที่เคยเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย แต่ตอนนี้ไม่ปลอดภัยอีกแล้วเพราะมีตำรวจนอกเครื่องแบบเดินเพ่นพ่านไปหมด เมื่อมีนักศึกษาทำกิจกรรม ตำรวจเหล่านี้ก็ถ่ายรูปนักศึกษาแต่ละคน จนนักศึกษาเหล่านั้นรู้สึกถึงภัยคุกคาม สิทธิเสรีภาพที่เคยมี ตอนนี้มีจำกัดเท่าที่บรรดาเผด็จการให้มา นี่ยังไม่รวมถึงบรรดาป้ายประกาศต่างๆ ที่ติดภายในมหาวิทยาลัย ตำรวจเหล่านี้ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยแกะออกหมด ไม่เว้นแม้แต่ละครเวทีคณะต่างๆ ก็โดนแกะออกไม่เหลือเหมือนกัน

เกิดอะไรขึ้นกับมหาวิทยาลัย การถกเถียงทางวิชาการภายในมหาวิทยาลัยกลายเป็นเรื่องต้องห้ามแล้วอย่างนั้น หรือ? ไม่ใช่แค่เรื่องของเสรีภาพการแสดงออกหรือเสรีภาพทางวิชาการเท่านั้นที่ถูก จำกัดหรือถูกห้าม ความน่าสิ้นหวังต่อไปของเขตรั้วมหาวิทยาลัย คือ การที่บรรดาอาจารย์ตบเท้าแห่กันเข้าไปรับใช้เผด็จการ จะเห็นได้จากบรรดาอธิการบดี ที่เข้ารับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและรัฐมนตรี ขณะที่งานเสวนาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ กลับถูกแทรกแซงห้ามจัดโดยบรรดาขี้ข้าเผด็จการ อธิการบดีควรมีหน้าที่ปกป้องการจัดงานเสวนาทั้งหลายนี้ แต่สิ่งที่พบเห็นกลับเป็นเพียงความเงียบงันเท่านั้น

ผมคิดว่าถึงตอนนี้การรัฐประหารมันจบไปแล้ว มันจบด้วยชัยชนะของเผด็จการทหารที่เต็มไปด้วยความตะกละตะกลามในอำนาจที่ได้ มาจากการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ผมไม่คิดว่าบรรดางานเสวนาเหล่านี้จะโค่นล้มท่านได้ ท่านมีปืน แต่ประชาชน นิสิตนักศึกษามีเพียงปากกา มีเพียงคำพูด ท่านอาจจะขอเวลาอีกไม่นาน แต่สำหรับนิสิตนักศึกษาเหล่านี้ การถูกจำกัดความรู้ การบังคับให้เขางดการแสดงความคิดเห็น มันคือการทำลายองค์ความรู้ และความกล้าหาญทางวิชาการที่ไม่อาจรอได้ เมื่อคนเหล่านี้จบไปจะต้องนำความรู้ที่ร่ำเรียนมาไปใช้ และกล้ายืนหยัดต่อสิ่งที่ถูกต้องต่อไป มันเป็นเรื่องที่น่าอดสู ผมไม่แน่ใจว่าการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยมันจะออกมาเป็นรูปแบบใดหนอ เขาห้ามพูดการเมือง แล้วคณะที่มีส่วนสำคัญต่อการเมืองอย่างนิติศาสตร์-รัฐศาสตร์ เขาจะเรียนอะไร ถ้าความรู้กำลังเป็นภัยต่อความมั่นคง บรรดาคณะเหล่านี้ก็ควรจะถูกยุบตามความเห็นของเผด็จการใช่หรือไม่

เผด็จการกำลังพยายามทำลายระบบการศึกษาไทยที่นับวันจะนำความรู้ที่ได้เรียนมา มาใช้กับสภาพสังคมที่เป็นอยู่ได้ยากเต็มที ก็เพราะผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำลายหลักการทางวิชาการ จนไม่เหลือหลักอะไรแล้วให้ยึดถือ ผมไม่แน่ใจว่านี่คือจุดจบของสถาบันการศึกษา หรือจุดจบของเผด็จการ เพราะเมื่อสถาบันการศึกษาไม่อาจเป็นคบเพลิงที่สามารถนำความรู้เป็นแสงสว่าง ขจัดอวิชชาได้อีกต่อไป ความฉิบหายของประเทศนี้อีกไม่นานก็คงมาถึง ซึ่งอาจจะพร้อมๆ กับ “การล่มสลายของเผด็จการในไทย” ก็เป็นได้

- บุเรงนอง

Photo: ความน่าสิ้นหวังของระบบการศึกษายุคเผด็จการ

เมื่อไม่นานมานี้ หลายคนคงได้ทราบข่าวที่กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) ได้จัดงานเสวนา “ห้องเรียนประชาธิปไตย : บทที่ ๒ การล่มสลายของเผด็จการในต่างประเทศ” ที่ถูกยกเลิกกลางคันในระหว่างที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์กำลังบรรยายนิยามของเผด็จการ ซึ่งภายในงานนั้นผมเองได้เข้าร่วมฟังเสวนาอยู่ด้วย
 
ภาพที่ปรากฏในงานวันนั้นยังตราตึงอยู่ภายในความทรงจำของของผม ผมรู้สึกเกรี้ยวโกรธที่ตำรวจได้สั่งให้ยกเลิกงานเสวนากลางคัน ผมได้เห็นบรรดานักศึกษาและอาจารย์ที่จัดงานถูกจับตัวไป ความรู้สึกในเวลานั้น ผมทำอะไรไม่ถูกเลย ผมอยากเข้าไปช่วย แต่ก็รู้ดีว่ามันจะยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ มันไม่ควรเกิดความรุนแรงใดๆ ขึ้นในงานนี้ เสรีภาพทางวิชาการควรได้รับการปกป้อง อธิการบดีกำลังทำอะไรอยู่ ทำไมจึงมีเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเป็นหัวหอกในการยกเลิกงานเสวนา สรุปว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็เห็นด้วยใช่มั้ยที่ตำรวจทำแบบนี้?
 
รุ่นน้องผมหลายคนที่เรียนธรรมศาสตร์บอกกับผมว่า นับแต่มีการยกเลิกงานเสวนาห้องเรียนประชาธิปไตย ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากที่เคยเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย แต่ตอนนี้ไม่ปลอดภัยอีกแล้วเพราะมีตำรวจนอกเครื่องแบบเดินเพ่นพ่านไปหมด เมื่อมีนักศึกษาทำกิจกรรม ตำรวจเหล่านี้ก็ถ่ายรูปนักศึกษาแต่ละคน จนนักศึกษาเหล่านั้นรู้สึกถึงภัยคุกคาม สิทธิเสรีภาพที่เคยมี ตอนนี้มีจำกัดเท่าที่บรรดาเผด็จการให้มา นี่ยังไม่รวมถึงบรรดาป้ายประกาศต่างๆ ที่ติดภายในมหาวิทยาลัย ตำรวจเหล่านี้ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยแกะออกหมด ไม่เว้นแม้แต่ละครเวทีคณะต่างๆ ก็โดนแกะออกไม่เหลือเหมือนกัน
 
เกิดอะไรขึ้นกับมหาวิทยาลัย การถกเถียงทางวิชาการภายในมหาวิทยาลัยกลายเป็นเรื่องต้องห้ามแล้วอย่างนั้นหรือ? ไม่ใช่แค่เรื่องของเสรีภาพการแสดงออกหรือเสรีภาพทางวิชาการเท่านั้นที่ถูกจำกัดหรือถูกห้าม ความน่าสิ้นหวังต่อไปของเขตรั้วมหาวิทยาลัย คือ การที่บรรดาอาจารย์ตบเท้าแห่กันเข้าไปรับใช้เผด็จการ จะเห็นได้จากบรรดาอธิการบดี ที่เข้ารับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและรัฐมนตรี ขณะที่งานเสวนาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ กลับถูกแทรกแซงห้ามจัดโดยบรรดาขี้ข้าเผด็จการ อธิการบดีควรมีหน้าที่ปกป้องการจัดงานเสวนาทั้งหลายนี้ แต่สิ่งที่พบเห็นกลับเป็นเพียงความเงียบงันเท่านั้น
 
ผมคิดว่าถึงตอนนี้การรัฐประหารมันจบไปแล้ว มันจบด้วยชัยชนะของเผด็จการทหารที่เต็มไปด้วยความตะกละตะกลามในอำนาจที่ได้มาจากการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ผมไม่คิดว่าบรรดางานเสวนาเหล่านี้จะโค่นล้มท่านได้ ท่านมีปืน แต่ประชาชน นิสิตนักศึกษามีเพียงปากกา มีเพียงคำพูด ท่านอาจจะขอเวลาอีกไม่นาน แต่สำหรับนิสิตนักศึกษาเหล่านี้ การถูกจำกัดความรู้ การบังคับให้เขางดการแสดงความคิดเห็น มันคือการทำลายองค์ความรู้ และความกล้าหาญทางวิชาการที่ไม่อาจรอได้ เมื่อคนเหล่านี้จบไปจะต้องนำความรู้ที่ร่ำเรียนมาไปใช้ และกล้ายืนหยัดต่อสิ่งที่ถูกต้องต่อไป มันเป็นเรื่องที่น่าอดสู ผมไม่แน่ใจว่าการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยมันจะออกมาเป็นรูปแบบใดหนอ เขาห้ามพูดการเมือง แล้วคณะที่มีส่วนสำคัญต่อการเมืองอย่างนิติศาสตร์-รัฐศาสตร์ เขาจะเรียนอะไร ถ้าความรู้กำลังเป็นภัยต่อความมั่นคง บรรดาคณะเหล่านี้ก็ควรจะถูกยุบตามความเห็นของเผด็จการใช่หรือไม่
 
เผด็จการกำลังพยายามทำลายระบบการศึกษาไทยที่นับวันจะนำความรู้ที่ได้เรียนมามาใช้กับสภาพสังคมที่เป็นอยู่ได้ยากเต็มที ก็เพราะผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำลายหลักการทางวิชาการ จนไม่เหลือหลักอะไรแล้วให้ยึดถือ ผมไม่แน่ใจว่านี่คือจุดจบของสถาบันการศึกษา หรือจุดจบของเผด็จการ เพราะเมื่อสถาบันการศึกษาไม่อาจเป็นคบเพลิงที่สามารถนำความรู้เป็นแสงสว่างขจัดอวิชชาได้อีกต่อไป ความฉิบหายของประเทศนี้อีกไม่นานก็คงมาถึง ซึ่งอาจจะพร้อมๆ กับ “การล่มสลายของเผด็จการในไทย” ก็เป็นได้

- บุเรงนอง

No comments:

Post a Comment