Somsak Jeamteerasakul
ผมกำลังเขียนบทความเรื่อง "ข้อมูลใหม่จากโทรเลขวิกิลีกส์-แอนดรู เม็คเกรเกอร์ มาร์แชลล์: เกิดอะไรขึ้น ในการเข้าเฝ้าในหลวงของทักษิณ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2549"
เนื่องจากบทความนี้ เมื่อเสร็จแล้ว จะยาวพอสมควร
ซึ่งคงไม่สะดวกจะเผยแพร่ทาง facebook ข้างล่างนี้
ผมจึงขอนำส่วนหนึ่งของร่างบทความดังกล่าว มาให้ดูกันก่อน
แม้จะไม่ใช่บทความเต็ม แต่น่าจะพออ่านได้ในตัวเองและน่าจะพอมีประโยชน์บ้าง
ใคร ที่อ่านโทรเลขวิกิลีกส์ของช่วงวิกฤติปี 2549 อย่างพินิจพิเคราะห์ ยากจะมองข้ามความจริงที่น่าสะดุดใจมากข้อหนึ่งไม่ได้ คือ ในโทรเลขเหล่านั้น ทูตสหรัฐ ราล์ฟ แอล บอยซ์ ได้แสดงทัศนะทางการเมืองในลักษณะใกล้เคียงกับพันธมิตร และศัตรูทางการเมืองของทักษิณหลายอย่าง
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า บอยซ์ ตระหนักดีกว่าผู้นำพันธมิตร ในประเด็นที่ว่า ข้อมูล ข่าวลือ หรือภาพลักษณ์ใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ที่ทำให้ถูกมองได้ว่า มีส่วนเกียวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนั้น เป็นเรื่องที่ส่งผลเสียต่อสถาบันกษัตริย์ เอง (นี่เป็นประเด็นที่สนธิ ลิ้มทองกุล สายตาสั้นอย่างยิ่ง)
เรื่องนี้แสดงออกอย่างชัดเจน ในกรณีทักษิณประกาศ "เว้นวรรคการเมือง" หลังจากเขาเข้าเฝ้าในหลวงเมื่อวันที่ 4 เมษายน (หลังการเลือกตั้งทั่วไป 2 เมษายน ที่ ประชาธิปัตย์ และพรรคอื่นๆบอยคอต)
ในโทรเลขหลาย ฉบับที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกรณีนี้ บอยซ์ ขณะที่บันทึกว่าผู้สังเกตการณ์จำนวนมากตีความว่าการที่ทักษิณประกาศ "เว้นวรรคการเมือง" หลังการเข้าเฝ้า เพราะในหลวงทรงแนะให้ทำ ก็พยายามนำเสนอในลักษณะปฏิเสธว่า ไม่น่าจะใช่ ที่สำคัญ ตลอดโทรเลขเหล่านั้น บอยซ์ พยายามลดความน่าเชื่อถือในคำบอกเล่าของทักษิณว่าเกิดอะไรขึ้นในการเข้าเฝ้า ครั้งนั้น โดยขยายความสำคัญของการที่ทักษิณเปลี่ยนเรื่องเล่าของเขา (ทักษิณ และที่ปรึกษาพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เปลี่ยนเรื่องเล่าจริง แต่ไม่ได้มากเท่าที่บอยซ์เสนอ) และให้น้ำหนักความน่าเชื่อถือกับเรื่องเล่าของคนของฝ่ายราชสำนัก มากกว่าที่ควรจะเป็น
ในโทรเลขฉบับแรกสุดที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ ฉบับ 06BANGKOK2048 ลงวันที่ 5 เมษายน 2549 บอยซ์ ได้เริ่มต้นสรุปเนื้อหาของโทรเลขดังนี้ (ตัวหนาเน้นคำของผม):
หาก อ่านโทรเลขทั้งฉบับต่อจากการสรุปในตอนต้นนี้ จะมองไม่เห็นเลยว่า เหตุใดบอยซ์จึงยืนยันว่า "เราไม่อยากจะเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น" ตามความเชื่อของผู้สังเกตการณ์จำนวนมากที่ว่า ทักษิณเว้นวรรคเพราะในหลวงบอก นั่นคือ บอยซ์เองหาได้มีข้อมูลอะไรมายืนยันในทางตรงข้าม ผมคิดว่า ต้องอธิบายว่าที่บอยซ์เขียนเช่นนี้ เกิดจามความรู้สึกไม่ดีต่อทักษิณของบอยซ์เองและความตระหนักว่า หากทฤษฎีที่คนจำนวนมากเชื่อนั้นเป็นจริง อาจจะมีผลสะเทือนล่อแหลมในทางลบต่อสถาบันกษัตริย์ได้
ในเนื้อหาโทรเลข บอยซ์บันทึกไว้ดังนี้:
จะ เห็นว่า ณ ขณะนั้น บอยซ์เองไม่ได้มีข้อมูลหรือเหตุผลอะไรที่จะมาแย้งได้จริงๆว่า เหตุผลที่คนจำนวนมากเชื่อว่าในหลวงบอกให้ทักษิณเว้นวรรค ไม่เป็นความจริง เขาใช้คำว่า "More likely" ("น่าจะเป็นเช่นนี้มากกว่า") แต่ถ้าดูข้อความในประโยคนั้นที่เขาเขียนตามมา เทียบกับเหตุผลของคนอื่นๆที่เขาสรุปมาเองในประโยคก่อนหน้านั้น จะเห็นว่าเหตุผลที่คนทั่่วไปเชื่อ มีน้ำหนักมากกว่า พูดอีกอย่างคือ บอยซ์เอง (ถ้าใช้คำที่เขาใช้กับคนอื่นๆ) "ต้องการจะเชื่อ" อยู่แล้ว ว่าทักษิณเว้นวรรค ไม่ใช่เพราะในหลวงบอกให้ทำ ดังนั้น ในโทรเลขฉบับต่อๆมา เมื่อบอยซ์ได้คุยกับคนของราชสำนักที่ให้ข้อมูลในลักษณะคล้ายจะยืนยันในสิ่ง ที่เขา "ต้องการจะเชื่อ" อยู่ก่อนเช่นนี้อยู่แล้ว เขาจึงรีบเชื่อทันที
ตัวอย่างเช่น ในโทรเลข 06BANGKOK2149 วันที่ 12 เมษายน 2549 ที่บอยซ์ตั้งหัวเรื่องว่า "PRIVY COUNCILLOR CONFIRMS - KING DID NOT GIVE THAKSIN THE BOOT" ("องคมนตรียืนยัน - ในหลวงไม่ได้ไล่ทักษิณออก") ซึ่งความจริง ในโทรเลขนี้ คนที่บอยซ์คุยด้วยคือสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นเพียง "ข้อมูลชั้นสอง" คือไม่ได้อยู่ด้วยตอนที่ทักษิณเข้าเฝ้า เพียงแต่ฟังมาจาก อาสา สารสิน อีกทีหนึ่ง แต่บอยซ์ทำราวกับว่าสิ่งที่สรยุทธพูดไม่ต้องสงสัยอะไรอีกแล้ว "We believe that Surayud is a credible and knowledgeable source" - "เราเชื่อว่าสุรยุทธเป็นแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้และรอบรู้เรื่องราว ต่างๆ" - บอยซ์บันทึกไว้ในโทรเลขฉบับนั้น ผมจะกลับมาที่โทรเลขนี้อีกครั้งข้างล่าง
ขณะเดียวกัน บอยซ์จะปฏิบัติต่อคำบอกเล่าของทักษิณ (และพันศักดิ์) ในลักษณะเสียดสีดูถูกอย่างชัดเจน เป็นความจริงที่ว่า ทักษิณสร้างความสงสัยและบ่อยทำลายความน่าเชื่อถือให้ตัวเองในบางระดับ ด้วยการดูเหมือนจะเปลี่ยนคำบอกเล่าของตน แต่นี่เป็นอะไรที่ "อธิบายได้" มากกว่าที่บอยซ์จะยอมรับ
ใน โทรเลขฉบับแรก ความรู้สึกไม่ดีต่อทักษิณของบอยซ์ ยังแสดงออก ด้วยการตั้งหัวข้อเชิงล้อเลียนทักษิณแบบขำๆ เมื่อบอยซ์เล่าถึงการ "ทำเซอร์ไพรส์" ของทักษิณอีกเรื่อง โดยบอยซ์เอาประโยคจากเพลงของเด็กๆอเมริกันมาตั้งว่า "ผมว่า ผมไปกินหนอนดีกว่า" (THINK I GO EAT WORM) เพลงเด็กๆที่รู้จักกันในนาม "เพลงหนอน" หรือ Worm Song นี้ ขึ้นต้นว่า "ไม่มีใครชอบฉันเลย ทุกคนเกลียดฉันหมด ฉันว่า ฉันไปกินหนอนดีกว่า" (ดูเนื้อเพลงเวอร์ชั่นต่างๆ ที่เว็บไซต์หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐได้ที่นี่ http://kids.niehs.nih.gov/lyrics/worms.htm และคลิปวีดีโอตัวอย่างการร้องเพลงนี้ของเด็กอเมริกันคนหนึ่งได้ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=DnFDpMb6_fc )
ดัง ที่ผมจะอภิปรายให้เห็นต่อไปข้างหน้า, การ "ทำเซอร์ไพรส์" อีกครั้งของทักษิณ ในวันถัดมาจากการประกาศเว้นวรรค ด้วยการลาหยุดงานนี้ (เช่นเดียวกับการประกาศเว้นวรรคเอง และการ "กลับมาทำงานใหม่" ในปลายเดือนพฤษภาคม) เป็นเรื่องที่มากกว่าการกระทำแบบ "เด็กๆ" และคำอธิบายในภายหลังของทักษิณและพันศักดิ์ ที่เชื่อมโยงถึงบทบาทของสถาบันกษัตริย์ หาได้เป็นอะไรที่น่าดูถูกเสียดสีอย่างที่บอยซ์เข้าใจ แต่ make sense ("ฟังขึ้น") ไม่น้อย
ใคร ที่อ่านโทรเลขวิกิลีกส์ของช่วงวิกฤติปี 2549 อย่างพินิจพิเคราะห์ ยากจะมองข้ามความจริงที่น่าสะดุดใจมากข้อหนึ่งไม่ได้ คือ ในโทรเลขเหล่านั้น ทูตสหรัฐ ราล์ฟ แอล บอยซ์ ได้แสดงทัศนะทางการเมืองในลักษณะใกล้เคียงกับพันธมิตร และศัตรูทางการเมืองของทักษิณหลายอย่าง
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า บอยซ์ ตระหนักดีกว่าผู้นำพันธมิตร ในประเด็นที่ว่า ข้อมูล ข่าวลือ หรือภาพลักษณ์ใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ที่ทำให้ถูกมองได้ว่า มีส่วนเกียวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนั้น เป็นเรื่องที่ส่งผลเสียต่อสถาบันกษัตริย์ เอง (นี่เป็นประเด็นที่สนธิ ลิ้มทองกุล สายตาสั้นอย่างยิ่ง)
เรื่องนี้แสดงออกอย่างชัดเจน ในกรณีทักษิณประกาศ "เว้นวรรคการเมือง" หลังจากเขาเข้าเฝ้าในหลวงเมื่อวันที่ 4 เมษายน (หลังการเลือกตั้งทั่วไป 2 เมษายน ที่ ประชาธิปัตย์ และพรรคอื่นๆบอยคอต)
ในโทรเลขหลาย ฉบับที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกรณีนี้ บอยซ์ ขณะที่บันทึกว่าผู้สังเกตการณ์จำนวนมากตีความว่าการที่ทักษิณประกาศ "เว้นวรรคการเมือง" หลังการเข้าเฝ้า เพราะในหลวงทรงแนะให้ทำ ก็พยายามนำเสนอในลักษณะปฏิเสธว่า ไม่น่าจะใช่ ที่สำคัญ ตลอดโทรเลขเหล่านั้น บอยซ์ พยายามลดความน่าเชื่อถือในคำบอกเล่าของทักษิณว่าเกิดอะไรขึ้นในการเข้าเฝ้า ครั้งนั้น โดยขยายความสำคัญของการที่ทักษิณเปลี่ยนเรื่องเล่าของเขา (ทักษิณ และที่ปรึกษาพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เปลี่ยนเรื่องเล่าจริง แต่ไม่ได้มากเท่าที่บอยซ์เสนอ) และให้น้ำหนักความน่าเชื่อถือกับเรื่องเล่าของคนของฝ่ายราชสำนัก มากกว่าที่ควรจะเป็น
ในโทรเลขฉบับแรกสุดที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ ฉบับ 06BANGKOK2048 ลงวันที่ 5 เมษายน 2549 บอยซ์ ได้เริ่มต้นสรุปเนื้อหาของโทรเลขดังนี้ (ตัวหนาเน้นคำของผม):
1. (ซี) สรุป: ทักษิณประกาศเมื่อวันที่ 4 เมษายน ว่า เขาจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง. เขาจะยังคงเป็น สส.และหัวหน้าพรรคไทยรักไทย (ทรท) ของเขา. แม้เราจะได้ยินมาเป็นสัปดาห์ๆแล้วว่า นี่เป็นหนึ่งในความเป็นไปได้หลังการเลือกตั้ง, ดูเหมือนว่าทักษิณเองเปิดทางเลือกต่างๆไว้จนนาทีสุดท้าย, และการตัดสินใจเว้นวรรคในที่สุดของเขาทำความแปลกใจให้กับหลายคน หลังจากที่เขาออกทีวีเมื่อคืนวันจันทร์ [3 เมษายน] ด้วยท่าทีกระตือรือร้น [ที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อ]. เพราะทักษิณประกาศเว้นวรรคหลังการเข้า เฝ้าในหลวงไม่นาน จึงมีการคาดเดากันอย่างกว้างขวางว่า ในหลวงทรง "กระซิบเข้าไปในหูเขา", นั่นคือ ทรงบอกให้เขาออกจากตำแหน่ง. เราไม่อยากจะเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น. ฝ่ายประท้วงทักษิณเองก็ตกลงจะ "เว้นวรรค" หลังจากจะจัด "ชุมนุมฉลองชัยชนะ" ในวันที่ 7 เมษายน แต่ขู่ว่า จะกลับมาชุมนุมใหม่ถ้าทักษิณไม่ยอมไปจริงๆภายในสิ้นเดือนนี้. ทักษิณทำเซอร์ไพรส์อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวันพุธ ด้วยการประกาศว่า เขาจะลาหยุดงาน และปล่อยให้รองนายกรัฐมนตรีของเขาเป็นคนดูแลกิจการแทน. แม้ว่าการตัดสินเว้นวรรคของทักษิณจะเป็นการลดทอนกระแสความตึงเครียดอันน่า อันตรายในประเทศลงไปมาก, แต่ก็ยังเหลือปัญหาคั่งค้างอีกมากมายที่ยังต้องได้รับการสะสาง. ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า รัฐสภาใหม่จะได้รับการบรรจุที่นั่งให้เต็มได้อย่างไร หรือรัฐบาลใหม่จะบริหารประเทศอย่างไร. จบการสรุป
1. (C) SUMMARY: Thaksin announced on April 4 that he would not seek another term as Prime Minister. He will remain as an MP, and as head of his Thai Rak Thai (TRT) party. Although we had heard for weeks that this was one possible outcome, it appears that Thaksin was keeping his options open until the last minute, and his decision surprised many after his feisty TV appearance Monday night. Because he made his announcement soon after an audience with the King, speculation abounds that the King "whispered in his ear," i.e., gave him the word to step aside. We are not inclined to believe this. The opposition protesters also agreed to "take a break" after their "victory rally" on April 7, but threatened to come back if Thaksin isn't really gone by the end of the month. Thaksin sprang another surprise on Wednesday, when he announced that he was taking some leave, and left his DPM to look after the shop. Although Thaksin's decision defused much of the dangerous tension in the country and, as such, was welcomed by a wide spectrum of Thais, there are many, many loose ends to be tied up. It is not clear how the new parliament will be seated or how the new administration will govern. END SUMMARY.
หาก อ่านโทรเลขทั้งฉบับต่อจากการสรุปในตอนต้นนี้ จะมองไม่เห็นเลยว่า เหตุใดบอยซ์จึงยืนยันว่า "เราไม่อยากจะเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น" ตามความเชื่อของผู้สังเกตการณ์จำนวนมากที่ว่า ทักษิณเว้นวรรคเพราะในหลวงบอก นั่นคือ บอยซ์เองหาได้มีข้อมูลอะไรมายืนยันในทางตรงข้าม ผมคิดว่า ต้องอธิบายว่าที่บอยซ์เขียนเช่นนี้ เกิดจามความรู้สึกไม่ดีต่อทักษิณของบอยซ์เองและความตระหนักว่า หากทฤษฎีที่คนจำนวนมากเชื่อนั้นเป็นจริง อาจจะมีผลสะเทือนล่อแหลมในทางลบต่อสถาบันกษัตริย์ได้
ในเนื้อหาโทรเลข บอยซ์บันทึกไว้ดังนี้:
ทักษิณกระโดดลงมาเองหรือถูกผลักลงมา?
3. (ซี) มีการพูดกันอย่างกว้างขวางมาเป็นสัปดาห์ๆแล้วว่าทักษิณอาจจะพิจารณา "เว้นวรรคการเมือง" หลังการเลือกตั้ง. อย่างไรก็ตาม, เป็นที่ชัดเจนว่าพวกสายฮาร์ดไลน์ใน ทรท. พยายามผลักดันให้เขาสู้ต่อ, จนถึงล่าสุดเมื่อวานนี้เอง ก่อนการประกาศเว้นวรรคของทักษิณ. ผลการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ ขณะที่น่าผิดหวังสำหรับ ทรท, ก็ยากจะถือว่าเป็นหายนะ, เพราะ ทรท.ดูเหมือนจะแน่นอนว่าคงได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ไปลงคะแนน. การบอยคอตของฝ่ายค้านทำให้เกิดปัญหาทางรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่ง, แต่ดูเหมือนว่าคณะกรรมการเลือกตั้งได้คิดวางแผนไว้แล้วที่จะแก้ไขปัญหาเหล่า นี้ได้เป็นส่วนใหญ่ (ดูโทรเลขอีกฉบับหนึ่ง). การประเมินของเราคือ ทักษิณได้ชั่งน้ำหนักทางเลือกต่างๆของเขาจนถึงนาทีสุดท้าย. จากคนที่เราสัมพันธ์ด้วยต่างๆใน ทรท. ดูเหมือนว่า พวกเขาเองก็ไม่ทราบล่วงหน้ามาก่อนว่่าทักษิณจะตัดสินใจเว้นวรรค.
4. (ซี) ได้มีคนพูดๆให้ความสำคัญกันมากกับการเข้าเฝ้าของทักษิณ ในบ่ายวันอังคาร ก่อนหน้าที่ทักษิณจะประกาศการตัดสินใจเว้นวรรคทางทีวีทั่วประเทศเพียงเล็ก น้อย. สื่อมวลชนในประเทศและต่างประเทศได้รายงาน - และคนไทยจำนวนมากก็ดูเหมือนมีความต้องการที่จะเชื่อ - ว่า ในหลวงทรง "กระซิบใส่หูทักษิณ" บอกให้เขาเว้นวรรคเสีย. พวกเขาชี้ไปที่ท่าทีต่างกันระหว่าง "คำปราศรัยลาออก" ของทักษิณ [หลังเข้าเฝ้า] กับการพูดแบบกร้าว, ท้าทาย ทางทีวีของเขาในคืนก่อนหน้านั้น เมื่อเขาประกาศชัยชนะจากการเลือกตั้ง, และกล่าวว่า เขาไม่สามารถเปลี่ยนจุดยืนของเขา 180 องศาได้ ยกเว้นแต่จะถูกบังคับให้ทำด้วยอำนาจที่สูงกว่า. แต่เราเห็นว่าความจริงน่าจะเป็นเช่นนี้มากกว่า คือ ทักษิณตัดสินใจทำตามแผนที่คิดเผื่อไว้ก่อนแล้ว, ในกรณีที่ผลการเลือกตั้งไม่ได้ชนะอย่างท่วมท้น, ที่จะ "เว้นวรรคทางการเมือง" เพื่อรอจนกว่ากระแสต่อต้านเขาจะลดความร้อนแรงลง.
DID HE JUMP OR WAS HE PUSHED?
----------------------------
3. (C) Word had been circulating for weeks that Thaksin might be considering "taking a break" after the elections. However, it was clear that hard-liners within TRT were pushing him to fight on, as recently as yesterday prior to his announcement. Sunday's election results, while disappointing for TRT, were hardly catastrophic, as TRT appeared certain to take more than 50 percent of the vote.The opposition boycott contributed to a number of constitutional problems, but Election Committee officials seem to have devised a gameplan to resolve most of them (septel). Our assessment is that Thaksin was weighing his options up until the last minute. From our contacts within TRT, it appears that they also did not have much advance notice of Thaksin's decision.
4. (C) Much has been made already of Thaksin's audience with the King on Tuesday afternoon, shortly before he announced his decision on national television. The domestic and international news media have reported -- and many Thais seem to want to believe -- that the King gave Thaksin "the whisper in his ear" to tell him to take a break. They point to the incongruity between Thaksin's "resignation speech" and his defiant, tough talk on television the previous evening, when he claimed victory, and said that he could not change his position 180 degrees unless he was forced to by a higher authority. More likely, Thaksin was following through on his contingency plan, in case the election was not an overwhelming victory, "to take a break" until the heat dies down.
จะ เห็นว่า ณ ขณะนั้น บอยซ์เองไม่ได้มีข้อมูลหรือเหตุผลอะไรที่จะมาแย้งได้จริงๆว่า เหตุผลที่คนจำนวนมากเชื่อว่าในหลวงบอกให้ทักษิณเว้นวรรค ไม่เป็นความจริง เขาใช้คำว่า "More likely" ("น่าจะเป็นเช่นนี้มากกว่า") แต่ถ้าดูข้อความในประโยคนั้นที่เขาเขียนตามมา เทียบกับเหตุผลของคนอื่นๆที่เขาสรุปมาเองในประโยคก่อนหน้านั้น จะเห็นว่าเหตุผลที่คนทั่่วไปเชื่อ มีน้ำหนักมากกว่า พูดอีกอย่างคือ บอยซ์เอง (ถ้าใช้คำที่เขาใช้กับคนอื่นๆ) "ต้องการจะเชื่อ" อยู่แล้ว ว่าทักษิณเว้นวรรค ไม่ใช่เพราะในหลวงบอกให้ทำ ดังนั้น ในโทรเลขฉบับต่อๆมา เมื่อบอยซ์ได้คุยกับคนของราชสำนักที่ให้ข้อมูลในลักษณะคล้ายจะยืนยันในสิ่ง ที่เขา "ต้องการจะเชื่อ" อยู่ก่อนเช่นนี้อยู่แล้ว เขาจึงรีบเชื่อทันที
ตัวอย่างเช่น ในโทรเลข 06BANGKOK2149 วันที่ 12 เมษายน 2549 ที่บอยซ์ตั้งหัวเรื่องว่า "PRIVY COUNCILLOR CONFIRMS - KING DID NOT GIVE THAKSIN THE BOOT" ("องคมนตรียืนยัน - ในหลวงไม่ได้ไล่ทักษิณออก") ซึ่งความจริง ในโทรเลขนี้ คนที่บอยซ์คุยด้วยคือสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นเพียง "ข้อมูลชั้นสอง" คือไม่ได้อยู่ด้วยตอนที่ทักษิณเข้าเฝ้า เพียงแต่ฟังมาจาก อาสา สารสิน อีกทีหนึ่ง แต่บอยซ์ทำราวกับว่าสิ่งที่สรยุทธพูดไม่ต้องสงสัยอะไรอีกแล้ว "We believe that Surayud is a credible and knowledgeable source" - "เราเชื่อว่าสุรยุทธเป็นแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้และรอบรู้เรื่องราว ต่างๆ" - บอยซ์บันทึกไว้ในโทรเลขฉบับนั้น ผมจะกลับมาที่โทรเลขนี้อีกครั้งข้างล่าง
ขณะเดียวกัน บอยซ์จะปฏิบัติต่อคำบอกเล่าของทักษิณ (และพันศักดิ์) ในลักษณะเสียดสีดูถูกอย่างชัดเจน เป็นความจริงที่ว่า ทักษิณสร้างความสงสัยและบ่อยทำลายความน่าเชื่อถือให้ตัวเองในบางระดับ ด้วยการดูเหมือนจะเปลี่ยนคำบอกเล่าของตน แต่นี่เป็นอะไรที่ "อธิบายได้" มากกว่าที่บอยซ์จะยอมรับ
ใน โทรเลขฉบับแรก ความรู้สึกไม่ดีต่อทักษิณของบอยซ์ ยังแสดงออก ด้วยการตั้งหัวข้อเชิงล้อเลียนทักษิณแบบขำๆ เมื่อบอยซ์เล่าถึงการ "ทำเซอร์ไพรส์" ของทักษิณอีกเรื่อง โดยบอยซ์เอาประโยคจากเพลงของเด็กๆอเมริกันมาตั้งว่า "ผมว่า ผมไปกินหนอนดีกว่า" (THINK I GO EAT WORM) เพลงเด็กๆที่รู้จักกันในนาม "เพลงหนอน" หรือ Worm Song นี้ ขึ้นต้นว่า "ไม่มีใครชอบฉันเลย ทุกคนเกลียดฉันหมด ฉันว่า ฉันไปกินหนอนดีกว่า" (ดูเนื้อเพลงเวอร์ชั่นต่างๆ ที่เว็บไซต์หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐได้ที่นี่ http://kids.niehs.nih.gov/lyrics/worms.htm และคลิปวีดีโอตัวอย่างการร้องเพลงนี้ของเด็กอเมริกันคนหนึ่งได้ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=DnFDpMb6_fc )
ผมว่า ผมไปกินหนอนดีกว่า
6. (ซี) [ตอนประกาศเว้นวรรค] ทักษิณแสดงความตั้งใจที่จะรักษาการณ์ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกว่ารัฐบาลใหม่จะตั้งขึ้น. อย่างไรก็ตาม, หลังการประชุม คณะรัฐมนตรีเมื่อวันพุธ, 5 เมษายน, เขาทำให้ทุกคนประหลาดใจอีก ด้วยการประกาศว่า เขาจะลาหยุดงาน และจะให้ รองนายกรัฐมนตรี ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการณ์ในระหว่างนั้น.
THINK I'LL GO EAT WORMS
-----------------------
6. (C) Thaksin indicated his intention to stay on as caretaker PM until the new government is formed. However, after the Cabinet meeting on Wednesday, April 5, he again surprised everyone by announcing that he was taking leave and would place DPM Chidchai Vanasatidya in charge during the interim. Chidchai was not officially appointed as acting PM, he is just empowered to act on Thaksin's behalf during his absence.
ดัง ที่ผมจะอภิปรายให้เห็นต่อไปข้างหน้า, การ "ทำเซอร์ไพรส์" อีกครั้งของทักษิณ ในวันถัดมาจากการประกาศเว้นวรรค ด้วยการลาหยุดงานนี้ (เช่นเดียวกับการประกาศเว้นวรรคเอง และการ "กลับมาทำงานใหม่" ในปลายเดือนพฤษภาคม) เป็นเรื่องที่มากกว่าการกระทำแบบ "เด็กๆ" และคำอธิบายในภายหลังของทักษิณและพันศักดิ์ ที่เชื่อมโยงถึงบทบาทของสถาบันกษัตริย์ หาได้เป็นอะไรที่น่าดูถูกเสียดสีอย่างที่บอยซ์เข้าใจ แต่ make sense ("ฟังขึ้น") ไม่น้อย
No comments:
Post a Comment