Saturday, December 6, 2014

ไม่มีกษัตริย์ ชาติไทยก็ยังอยู่ได้ !




ไม่มีกษัตริย์ ชาติไทยก็ยังอยู่ได้ !

อั้มมักจะเห็นมาเสมอว่า คนจำนวนมากในสังคมยังคาดหวังกับระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญว่าเราจะยังเดินร่วมกันกับกษัตริย์ได้ คนไทยส่วนหนึ่งก็ยังคิดกันว่าเรานั้นรับได้หากสถาบันกษัตริย์ไทยโปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่มีกฎหมายห้ามวิจารณ์สถาบันฯ

แต่ที่ว่ามานั้นแนวคิดดังกล่าวล้วนเป็นการยอมรับให้สังคมที่เราอยู่ ยังมีคนที่เกิดมาจากมดลูกใคร อสุจิใครก็ไม่ทราบแล้วขึ้นมาบอกในสังคมว่าตระกูลชั้น ชาติกำเนิดชั้นวิเศษกว่าคนอื่น

อย่างนี้เท่ากับเรากำลังยอมรับให้ใครคนหนึ่ง ครอบครัวหนึ่งขึ้นมายกสถานะตนเองให้สูงส่งกว่าประชาชนคนตาดำๆ อยู่หรือเปล่า ?? ?

.lll.

อั้มเห็นว่า หากเราอยู่ในระบอบประชาธิปไตยกันจริงๆ เราควรเชิดชูหลักการของความเสมอภาคในสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของมนุษย์ทุกคนในสังคม ว่าต้องเสมอภาคกันเสียก่อน กว่า 196 ประเทศทั่วโลกจากที่เคยมีกษัตริย์ มีหัวหน้าเผ่าที่สืบเชื้อสายผ่านทางสายเลือด หรือที่เราเรียกว่า “Heredity Rule” ได้ทยอยกันโค่นล้ม เปลี่ยนแปลงระบอบไปสู่การเป็นสาธารณรัฐกันมากขึ้นจน ณ ปัจจุบัน เหลืออยู่ประมาณ 44 ประเทศ ที่ยอมรับการมีอยู่ของกษัตริย์ โดยมีทั้งประเทศที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์แบบเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น ซาอุดิอารเบีย บรูไน ฯลฯ หรือ เผด็จการที่แฝงตัวในระบอบประชาธิปไตย เช่น ไทย และที่เป็นกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย อยู่ใต้รัฐธรรมนูญจริงๆ เช่น ในยุโรป และ ญี่ปุ่น เป็นต้น

.lll.

แต่ทว่าด้วยหลักการความเสมอภาคในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น การมีสถาบันกษัตริย์ถือเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งที่เราจะมองคนเท่ากัน การนำประมุขของประเทศที่เป็นใครก็ไม่ทราบ ความพร้อมและศักยภาพก็ไม่รู้ว่าดีพอที่จะเป็นได้หรือไม่ก็ไม่รู้ กลับถูกคัดเลือกผ่านระบบสายเลือด โดยหยิ่งผยองตัวว่าสายเลือดของตนนั้น “บริสุทธิ์” กว่า สายเลือดอื่นใด เป็น “pure blood” หรือ "Blue Blood" (ก็แอบอ้างและพูดกันไปเรื่อย) ดังนั้นตนจึงสมควรแก่การคัดเลือกขึ้นมาให้ปกครอง

.lll.

อั้มขอถามนะคะว่า เช่น คัดเลือกหรือคิดแบบนี้ มันจะแฟร์กับประชาชนไหม? มีความยึดโยงกับระบอบประชาธิปไตยอย่างไรไหม ? ในเมื่อเรากำลังสร้างข้อยกเว้นและสถาปนาความศักดิ์สิทธิ์ ให้แก่ตระกูล หรือครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง เช่น ราชวงศ์จักรี ให้ขึ้นมาเป็นใหญ่เป็นประมุขประเทศสืบต่อไป แต่ประชาชนหาได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาว่าจริงๆ แล้วประชาชนต้องการให้ครอบครัวนี้เป็นประมุขประเทศหรือไม่

.lll.

หากเราเชื่อว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนจริงๆ ประชาชนต้องเป็นผู้เลือกผู้นำประเทศของตนได้ หากกษัตริย์และครอบครัวอยากเป็นประมุขประเทศก็ต้องมาสมัครลงชิงตำแหน่ง เช่นเดียวกับประชาชนทุกคน ไม่ใช่มาอ้างความยาวนานของการมีตระกูลตน แล้วยกว่านี้คือเหตุผลของการมี “สิทธิพิเศษ” ที่จะยัดเยียดให้ทุกคนยอมรับไปก่อน ไม่อยากได้ก็ค่อยมาคุยกัน

.lll.

อั้มคิดต่ออีกนะคะว่า มันควรต้องไม่มีกษัตริย์อยู่เลยต่างหาก แล้วหากยังต้องการมีกษัตริย์ก็ต้องมาจากการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งทุกกี่ปีก็ว่าไปตามรัฐธรรมนูญ (หวังว่า คสช. สนช. และ สปช. คงไม่เขียนอะไรโง่ๆ ออกมา) ดังนั้น สถาบันกษัตริย์มันควรต้องมีความยึดโยงกับประชาชนอยู่เสมอ จึงจะเรียกได้ว่าประชาธิปไตย คือระบอบที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และทุกคนล้วนเกิดมาเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันในศักดิ์ศรี ไม่ได้มีใครเกิดมาแล้วพิเศษเพียงเพราะสายเลือด

.lll.

และที่สำคัญสิ่งที่ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยจริงๆ ที่ยังมีกษัตริย์อยู่เขาไม่เคยห้ามการมีอยู่ของพรรคต่อต้าน สถาบันกษัตริย์ เช่น พรรคสังคมนิยม พรรคคอมมูนนิสท์ แถมตัวอย่างใน สหราชอาณาจักร หรือ ญี่ปุ่น ก็ไม่มีกฎหมายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น ประมุขของรัฐ หรือในประเทศที่มีในยุโรปก็ไม่ได้ใช้กันมานานมากจนเหมือนว่าไม่เคยมีกฎหมายเช่นนี้อยู่ในประเทศ (ถึงจะมีก็เป็นโทษที่ค่อนข้างจะแฟร์ โปร่งใส กระบวนการพิจารณาตรวจสอบได้ ไม่ใช่นั่งเทียนเหมือนศาลไทย) จะมีก็เพียงแต่ประเทศประชาธิปไตยตอแหลที่สถาบันกษัตริย์หันมามีบทบาททางการเมืองอย่างเห็นได้ชัด โดยใช้อำนาจผ่านการรัฐประหาร การใช้ทหารมาครองอำนาจ แถมยังมีกฎหมายอุบาทว์ ห้ามตั้งพรรคการเมืองที่คิดต่าง เช่น พรรคสังคมนิยม

คุณลองคิดดูเป็นระยะเวลากว่า 68 ปี ของกษัตริย์ภูมิพลในรัชกาลเดียวแต่กลับมีรัฐประหารมากมายหลายครั้ง และมี 13 ครั้งที่รัฐประหารสำเร็จ แถมยังมีกฎหมายจับคนที่วิพากษ์วิจารณ์ คิดต่างเข้าคุก เช่น ม.112 ไม่ทราบว่าสถาบันกษัตริย์ไทยกลัวอะไร กลัวว่าคนจะรู้ความจริงแล้วเสื่อมศรัทธาหรอ ? อันนี้ อั้มก็ไม่ทราบนะคะ ต้องลองถามภูมิพลดูว่า คิดจะปรับตัวให้เข้ากับโลกบ้างไหม หรือยังคิดว่า ภูมิพลคือศูนย์กลางจักรวาลอยู่ ? อันนี้ อั้มก็ไม่ทราบหรอกนะคะ ว่าภูมิพลนั้นคิดอย่างไร แต่ที่แน่ๆ อั้มรู้สึกว่า ภูมิพลไม่ยอมปรับตัวค่ะ

.lll.

สุดท้ายนะคะ เราจึงควรมาตั้งคำถามว่าเรายังจำเป็นอยู่อีกหรือที่ต้องมีสถาบันกษัตริย์ ประเทศชาติอยู่ได้ เพราะว่ามีไพร่ มีประชาชน ไม่ใช่อยู่ได้เพราะมีกษัตริย์ที่คอยขูดรีดไพร่ แล้วสั่งไพร่ให้ไปออกรบ แล้วสุดท้ายคนได้หน้าคือกษัตริย์และพวกพ้อง

.lll.

สุขสันต์วันป่วยของภูมิพลค่
ขอให้บันเทิง
ไม่มีกษัตริย์ ชาติไทยก็ยังอยู่ได้ !

อั้มมักจะเห็นมาเสมอว่า คนจำนวนมากในสังคมยังคาดหวังกับระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญว่าเราจะยังเดินร่วมกันกับกษัตริย์ได้ คนไทยส่วนหนึ่งก็ยังคิดกันว่าเรานั้นรับได้หากสถาบันกษัตริย์ไทยโปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่มีกฎหมายห้ามวิจารณ์สถาบันฯ

แต่ที่ว่ามานั้นแนวคิดดังกล่าวล้วนเป็นการยอมรับให้สังคมที่เราอยู่ ยังมีคนที่เกิดมาจากมดลูกใคร อสุจิใครก็ไม่ทราบแล้วขึ้นมาบอกในสังคมว่าตระกูลชั้น ชาติกำเนิดชั้นวิเศษกว่าคนอื่น

อย่างนี้เท่ากับเรากำลังยอมรับให้ใครคนหนึ่ง ครอบครัวหนึ่งขึ้นมายกสถานะตนเองให้สูงส่งกว่าประชาชนคนตาดำๆ อยู่หรือเปล่า ?? ?

.lll.

อั้มเห็นว่า หากเราอยู่ในระบอบประชาธิปไตยกันจริงๆ เราควรเชิดชูหลักการของความเสมอภาคในสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของมนุษย์ทุกคนในสังคม ว่าต้องเสมอภาคกันเสียก่อน กว่า 196 ประเทศทั่วโลกจากที่เคยมีกษัตริย์ มีหัวหน้าเผ่าที่สืบเชื้อสายผ่านทางสายเลือด หรือที่เราเรียกว่า “Heredity Rule” ได้ทยอยกันโค่นล้ม เปลี่ยนแปลงระบอบไปสู่การเป็นสาธารณรัฐกันมากขึ้นจน ณ ปัจจุบัน เหลืออยู่ประมาณ 44 ประเทศ ที่ยอมรับการมีอยู่ของกษัตริย์ โดยมีทั้งประเทศที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์แบบเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น ซาอุดิอารเบีย บรูไน ฯลฯ หรือ เผด็จการที่แฝงตัวในระบอบประชาธิปไตย เช่น ไทย และที่เป็นกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย อยู่ใต้รัฐธรรมนูญจริงๆ เช่น ในยุโรป และ ญี่ปุ่น เป็นต้น

.lll.

แต่ทว่าด้วยหลักการความเสมอภาคในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น การมีสถาบันกษัตริย์ถือเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งที่เราจะมองคนเท่ากัน การนำประมุขของประเทศที่เป็นใครก็ไม่ทราบ ความพร้อมและศักยภาพก็ไม่รู้ว่าดีพอที่จะเป็นได้หรือไม่ก็ไม่รู้ กลับถูกคัดเลือกผ่านระบบสายเลือด โดยหยิ่งผยองตัวว่าสายเลือดของตนนั้น “บริสุทธิ์” กว่า สายเลือดอื่นใด เป็น “pure blood” หรือ "Blue Blood" (ก็แอบอ้างและพูดกันไปเรื่อย) ดังนั้นตนจึงสมควรแก่การคัดเลือกขึ้นมาให้ปกครอง

.lll.

อั้มขอถามนะคะว่า เช่น คัดเลือกหรือคิดแบบนี้ มันจะแฟร์กับประชาชนไหม? มีความยึดโยงกับระบอบประชาธิปไตยอย่างไรไหม ? ในเมื่อเรากำลังสร้างข้อยกเว้นและสถาปนาความศักดิ์สิทธิ์ ให้แก่ตระกูล หรือครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง เช่น ราชวงศ์จักรี ให้ขึ้นมาเป็นใหญ่เป็นประมุขประเทศสืบต่อไป แต่ประชาชนหาได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาว่าจริงๆ แล้วประชาชนต้องการให้ครอบครัวนี้เป็นประมุขประเทศหรือไม่

.lll.

หากเราเชื่อว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนจริงๆ ประชาชนต้องเป็นผู้เลือกผู้นำประเทศของตนได้ หากกษัตริย์และครอบครัวอยากเป็นประมุขประเทศก็ต้องมาสมัครลงชิงตำแหน่ง เช่นเดียวกับประชาชนทุกคน ไม่ใช่มาอ้างความยาวนานของการมีตระกูลตน แล้วยกว่านี้คือเหตุผลของการมี “สิทธิพิเศษ” ที่จะยัดเยียดให้ทุกคนยอมรับไปก่อน ไม่อยากได้ก็ค่อยมาคุยกัน

.lll.

อั้มคิดต่ออีกนะคะว่า มันควรต้องไม่มีกษัตริย์อยู่เลยต่างหาก แล้วหากยังต้องการมีกษัตริย์ก็ต้องมาจากการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งทุกกี่ปีก็ว่าไปตามรัฐธรรมนูญ (หวังว่า คสช. สนช. และ สปช. คงไม่เขียนอะไรโง่ๆ ออกมา) ดังนั้น สถาบันกษัตริย์มันควรต้องมีความยึดโยงกับประชาชนอยู่เสมอ จึงจะเรียกได้ว่าประชาธิปไตย คือระบอบที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และทุกคนล้วนเกิดมาเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันในศักดิ์ศรี ไม่ได้มีใครเกิดมาแล้วพิเศษเพียงเพราะสายเลือด

.lll.

และที่สำคัญสิ่งที่ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยจริงๆ ที่ยังมีกษัตริย์อยู่เขาไม่เคยห้ามการมีอยู่ของพรรคต่อต้าน สถาบันกษัตริย์ เช่น พรรคสังคมนิยม พรรคคอมมูนนิสท์ แถมตัวอย่างใน สหราชอาณาจักร หรือ ญี่ปุ่น ก็ไม่มีกฎหมายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น ประมุขของรัฐ หรือในประเทศที่มีในยุโรปก็ไม่ได้ใช้กันมานานมากจนเหมือนว่าไม่เคยมีกฎหมายเช่นนี้อยู่ในประเทศ (ถึงจะมีก็เป็นโทษที่ค่อนข้างจะแฟร์ โปร่งใส กระบวนการพิจารณาตรวจสอบได้ ไม่ใช่นั่งเทียนเหมือนศาลไทย) จะมีก็เพียงแต่ประเทศประชาธิปไตยตอแหลที่สถาบันกษัตริย์หันมามีบทบาททางการเมืองอย่างเห็นได้ชัด โดยใช้อำนาจผ่านการรัฐประหาร การใช้ทหารมาครองอำนาจ แถมยังมีกฎหมายอุบาทว์ ห้ามตั้งพรรคการเมืองที่คิดต่าง เช่น พรรคสังคมนิยม

คุณลองคิดดูเป็นระยะเวลากว่า 68 ปี ของกษัตริย์ภูมิพลในรัชกาลเดียวแต่กลับมีรัฐประหารมากมายหลายครั้ง และมี 13 ครั้งที่รัฐประหารสำเร็จ แถมยังมีกฎหมายจับคนที่วิพากษ์วิจารณ์ คิดต่างเข้าคุก เช่น ม.112 ไม่ทราบว่าสถาบันกษัตริย์ไทยกลัวอะไร กลัวว่าคนจะรู้ความจริงแล้วเสื่อมศรัทธาหรอ ? อันนี้ อั้มก็ไม่ทราบนะคะ ต้องลองถามภูมิพลดูว่า คิดจะปรับตัวให้เข้ากับโลกบ้างไหม หรือยังคิดว่า ภูมิพลคือศูนย์กลางจักรวาลอยู่ ? อันนี้ อั้มก็ไม่ทราบหรอกนะคะ ว่าภูมิพลนั้นคิดอย่างไร แต่ที่แน่ๆ อั้มรู้สึกว่า ภูมิพลไม่ยอมปรับตัวค่ะ

.lll.

สุดท้ายนะคะ เราจึงควรมาตั้งคำถามว่าเรายังจำเป็นอยู่อีกหรือที่ต้องมีสถาบันกษัตริย์ ประเทศชาติอยู่ได้ เพราะว่ามีไพร่ มีประชาชน ไม่ใช่อยู่ได้เพราะมีกษัตริย์ที่คอยขูดรีดไพร่ แล้วสั่งไพร่ให้ไปออกรบ แล้วสุดท้ายคนได้หน้าคือกษัตริย์และพวกพ้อง

.lll.

สุขสันต์วันป่วยของภูมิพลค่
ขอให้บันเทิง

No comments:

Post a Comment