Tuesday, December 2, 2014

First Impression: ในหลวงอานันท์ ในวันแรกๆหลังขึ้นครองราชย์ และ ในหลวงภูมิพล ในปีแรกหลังขึ้นครองราชย์

 
คำชี้แจง: บังเอิญ มีผู้ถามผมเกี่ยวกับการศึกษาของในหลวงหลังเสด็จกลับสวิส หลังขึ้นครองราชย์ ในปี 2489
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=195680800445442&set=a.155283367818519.31305.100000105691810

ผม ไปค้นโน่นค้นนี่ ก็ไปเจอกระทู้ "โบราณ" ทีผมเคยโพสต์ไว้ที่บอร์ด ฟ้าเดียวกัน ที่ปิดไปแล้ว ตั้งแต่ กันยายน 2550 เป็นกระทู้สั้นๆ ในเชิงให้ข้อมูล คิดว่า หลายคนอาจจะยังไม่เคยเห็น จึงขอนำมาโพสต์ให้ดู  ในการโพสต์ที่  ฟ้าเดียวกัน เมื่อปี 2550 ผมทำเป็น 2 กระทู้ ในทีนี้ ผมรวมไว้ด้วยกัน แต่แยกหัวข้อให้เห็นชัดเจน

 ประเด็นที่ผมศึกษาเรื่องนี้ ในกรณีในหลวงปัจจุบัน คือประเด็นหนึงที่ผมสนใจมานานแล้ว ใน The King Never Smiles, พอล แฮนด์ลี่ ดูเหมือนจะยกประเด็นคล้ายๆกันนี้ คือ ตั้งคำถามว่า ในหลวงที่เติมโตมาในยุโรป ในครอบครัวที่แม่เป็นสามัญชน ได้กลายเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีลักษณะ conservative (อนุรักษ์นิยม) อย่างไร ผมเองพยายามค้นข้อมูล และศึกษาหรือตอบคำถามในแง่ที่วา ในหลวงทรงมีจิตสำนึกทางการเมือง (political consciousness) อย่างไร เมื่อไร ข้อมูลที่นำมาให้ดูข้างล่าง จากรายงานการะประชุม คณะรัฐมนตรี แสดงให้เห็นว่า ในปีแรกหลังขึ้นครองราชย์ (2490) ยังทรงเป็น "คนขี้อาย" (คำของอรรถกิติ พนมยงค์ น้องชายต่างแม่ของปรีดี) 

เช่นเคย กรุณาใช้วิจารณญาณรอบคอบ ในการแสดงความคิดเห็นนะครับ




First Impression: ในหลวงอานันท์ ในวันแรกๆหลังขึ้นครองราชย์

หมายเหตุ: เอกสารชั้นต้นข้างล่างนี้ เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลสำหรับบทความของผม เรื่อง "ในหลวงอานันท์ขึ้นครองราชย์" ตอนที่ 2 บทความเรื่องนี้ ตอนที่ 1 ได้รับการตีพิมพ์แล้วใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 4 ฉบับที่ 2, เมษายน-มิถุนายน 2549, 188-228


หลัง จากได้รับโทรเลขลงวันที่ 3 และ 5 มีนาคม 2477 รายงานเรื่องการสละราชย์ของพระปกเกล้า จากเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศในลอนดอน และหลังจากสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติเห็นชอบให้อัญเชิญพระองค์เจ้าอานันท์เป็นกษัตริย์องค์ต่อไปแล้ว พระยาพหล ได้ส่งโทรเลขลงวันที่ 7 มีนาคม ถึงเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ มีข้อความ ดังนี้

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
สถานทูตสยาม กรุงลอนดอน

ข้าพเจ้าได้รับโทรเลขของท่านลงวันที่ ๓ และ ๕ มีนาคม แล้ว

๑. สภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๖-๗ มีนาคม ได้รับทราบในการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก ทรงสละราชสมบัติ และได้แสดงความเห็นชอบในในการที่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล จะขึ้นครองราชสมบัติ ตั้งแต่วันและเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ และสภาได้ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย กรมหมื่นอนุวัฒน์จาตุรนต์ ประธาน พระองค์เจ้าอาทิตย์ และ เจ้าพระยายมราช

๒. ในฐานที่ท่านเป็นผู้แทนรัฐบาล ขอได้รีบไปยังโลซาน เพื่อเฝ้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล และถวายความเคารพของรัฐบาล ในฐานที่ทรงเปนพระมหากษัตริย์แห่งประเทศสยาม

๓. ในการที่ท่านได้กระทำไปในเรื่องหนังสือพิมพ์นั้น เป็นอันชอบแล้ว.

๔. ขอได้นำต้นฉบับพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติมากับตัวท่าน

๕. เมื่อได้ไปโลซานแล้ว ท่านกลับประเทศสยามได้ 

วันเดียวกัน รัฐบาลพระยาพหล ได้มีโทรเลขไปกราบบังคมทูลเชิญ พระองค์เจ้าอานันท์ขึ้นครองราชย์ ดังนี้

His Highness Prince Ananda Mahidol,
Lousanne.

With the approval of the Assemby of the People's Representatives, the State Council respectfully submit, in accordance with the provisions of Section 9 of the Constitution and Section 8 of the Law on Succession B.E. 2467, that Your Highness will be graciously pleased to ascend the Throne of Siam in succession to His Majesty King Prajadhipok who has abdicated, as from March 2nd B.E. 2477 - 13,45 o'clock English time.

Chao Phya Sri Dharmadhibes has been instructed as Government delegate to proceed forthwith to Lousanne in order to present the humble duties of the Government to Your Highness as King of Siam.

Col.Phya Phahol Pholphayuha Sena
President of the State Council

ส่งวันที่ ๗/๑๒/๗๗


First Impression: ในหลวงภูมิพล ในปีแรกหลังขึ้นครองราชย์

หมายเหตุ : เอกสารชั้นต้นข้างล่างนี้ เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลสำหรับบทความที่ยังเขียนไม่เสร็จของผมบทหนึ่ง ซึ่งผมตั้งชื่อชั่วคราวขณะนี้ว่า "ยุวกษัตริย์ผู้ทรง 'ขี้อาย' เปลี่ยนเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีสำนึกเชิงอำนาจ (power-conscious) อย่างสูงเมื่อไร (ทำไม, อย่างไร)?" ในบทความนั้น ผมจะพยายามสืบหาลำดับเวลาและปัจจัยที่เป็นสาเหตุ ที่ในหลวงองค์ปัจจุบันทรงเปลี่ยนแปลงในด้านทัศนคติทางการเมืองของพระองค์ ในทศวรรษ 2490 จากลักษณะที่ largely a-political ในช่วงต้นทศวรรษ 2490 ไปสู่ลักษณะ politically conscious และเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลในขณะนั้น ในช่วงปลายทศวรรษ



หลัง การสวรรคตของในหลวงอานันท์ในเช้าวันที่ 9 มิถุนายน 2489 รัฐบาลปรีดี พนมยงค์ โดยความเห็นชอบของของรัฐสภาได้อัญเชิญพระอนุชา เจ้าฟ้าภูมิพล ขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี โดยกรมขุนชัยนาทนเรนทรและพระยามานราชเสวีได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ สองเดือนต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่พร้อมพระราชชนนีได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไป ยังสวิสเซอร์แลนด์ ขณะเดียวกัน ปรีดีได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เข้ารับตำแหน่ง ต่อ


ในส่วนพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพนั้น ฝ่ายรัฐบาลตั้งแต่สมัยนายปรีดี ได้เริ่มเตรียมการก่อสร้างพระเมรุมาศไว้ ซึ่งรัฐบาลหลวงธำรงได้รับช่วงดำเนินการต่อมา ยังขาดเพียงแต่กำหนดวันถวายพระเพลิง ซึ่งรัฐบาลได้ให้สำนักพระราชวังประสานงานติดต่อไปยังราชสำนัก (ผ่านกรมขุนชัยนาท) ให้เป็นผู้กำหนดวันที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จกลับมาประกอบพระราชพิธี ทางฝ่ายรัฐบาลประเมินว่า น่าจะเป็นประมาณเดือนมีนาคม ("หน้าแล้ง") 2490 แต่ฝ่ายราชสำนักเองมีทีท่าอยากเลื่อน โดยตอนแรกผู้สำเร็จราชการอ้างเรื่องการเตรียมการก่อสร้างพระเมรุ แต่นายดิเรก ซึ่งผู้สำเร็จราชการเรียกเข้าเฝ้าปรารภเรื่อง "ขอเลื่อนไปปีโน้น" เล่าให้คณะรัฐมนตรีฟังว่า "ผมหยั่งดูอีกอัน เห็นจะเป็นว่าในหลวงไม่พร้อมที่จะเสด็จ" ซึ่งหลวงธำรงได้ออกความเห็นว่า "ก็ บอกมา รัฐบาลทำเต็มที่แล้ว ในหลวงไม่พร้อม ก็นิดเดียว ยิ่งง่ายถ้าเป็นโปรดเกล้าฯลงมาให้เลื่อนไปก่อน ที่จะให้เราบอกอย่างว่า [เลื่อนออกไป] เราบอกไม่ได้" เขาย้ำว่า "[รัฐบาล]เลื่อนไม่ได้ จะขุดหลุมฝังเรา ต้องทำหน้าแล้งนี้" ในที่สุด ฝ่ายผู้สำเร็จได้มีหนังสืออย่างเป็นทางการถึงรัฐบาลในต้นเดือนธันวาคมขอให้ เลื่อนการถวายพระเพลิงออกไปและระงับการสร้างพระเมรุมาศ ซึ่งรัฐบาลก็รับทราบยอมปฏิบัติตาม (หนังสือขอให้เลื่อนการถวายพระเพลิงออกไปของผู้สำเร็จราชการได้เขียนอ้าง เหตุต่างๆมาอย่างยืดยาว แต่ไม่สู้จะเป็นเหตุเป็นผลนัก เรื่องนี้ - ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพและการเสด็จกลับเพื่อประกอบ พิธีของในหลวงองค์ปัจจุบัน - ผมจะกล่าวถึงในอีกบทความหนึ่งต่างหากชื่อ "ความพยายามเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชชนนีที่สวิตเซอร์ แลนด์เพื่อสืบพยานคดีสวรรคต ๒๔๙๒")



ตัวบท สั้นๆที่ผมคัดลอกมาให้ดูข้างล่างนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีในปลายเดือนตุลาคม 2490 (คือไม่กี่วันก่อนรัฐประหารครั้งประวัติศาสตร์ 8 พฤศจิกายน) ซึ่งเป็นตอนที่ อรรถกิติ พนมยงค์ (น้องชายต่างมารดาของปรีดี) รัฐมนตรีต่างประเทศขณะนั้น ได้เล่าเรื่องการเดินทางไปราชการในยุโรปที่เพิ่งเสร็จสิ้นของเขาให้รัฐมนตรี อื่นๆฟัง โดยที่ในระหว่างอยู่ในยุโรปเขาได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระราชชนนีที่สวิตเซอร์แลนด์ด้วย อรรถกิติได้กล่าวสั้นๆถึงพระบุคคลิกภาพในขณะนั้นของในหลวงองค์ใหม่อย่างน่า สนใจ ดังนี้

เรื่อง การเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่กรุงโลซานน์

นาย อรรถกิติ พนมยงค์ - ต่อจากลอนดอน ผมก็มาเฝ้าในหลวงที่โลซานน์ รวมเวลาราวครึ่งชั่วโมง ไม่มีอะไรมากกว่านี้ ไม่มีอะไรถาม ไม่มีอะไรคุย ท่านก็เป็นคนขี้อายๆอยู่ด้วย กับสมเด็จนั้น คุยกันในเรื่องส่วนตัวทั้งนั้น ไม่ถามอะไรเลย เกี่ยวกับพระเจ้าอยู่หัวนั้น ท่าน “รีเฟอร์” ไปถึงความเก่า สมเด็จบอกกับผมว่า ที่แนะนำให้ท่านเรียนกฎหมาย เดี๋ยวนี้ก็ได้เรียนแล้ว เมื่อก่อนในหลวงทรงเรียน “เคมิสตรี” ต่อมาได้เรียน “ซีแนตเตระ โซซิอาล” ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเรียนกฎหมาย ทราบว่าทางราชสำนักเตรียมเดินทางมาเดือนมีนาคม ท่านรู้เป็นทางส่วนตัว จากในกรมชัยนาท

นายกรัฐมนตรี - เกี่ยวกับเรื่องในหลวงสำคัญ ให้สอบทางเราก่อนว่า กำหนดถวายพระเพลิงนั้นเมื่อใด และให้สอบหน้าที่ว่าใครเป็นผู้ทูล กำหนดเสียให้เรียบร้อยแล้วรีบดำเนินการ.

ที่ประชุมตกลง – ทราบ – และเกี่ยวกับเชิญเสด็จนิวัตมาในการถวายพระเพลิงนั้น ให้ผู้มีหน้าที่รีบจัดดำเนินการ.



ใน ประเด็นเรื่องการเรียนของในหลวงภูมิพลหลังกลับไปสวิส จากการสนทนาระหว่างอรรถกิติ พนมยงค์ กับพระราชนนี นี้ แสดงว่า ในหลวงคงจะได้เรียนอย่างน้อยวิชากฎหมาย (แต่อาจจะไม่ใช่ตามหลักสูตรปกติ ลงเรียนเป็นรายวิชากรณีพิเศษอะไรทำนองนั้นมากกว่า) แต่ในที่สุด น่าจะไม่ได้ทรงเรียนจบในระดับที่ได้ปริญญา (เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น ด้วยการประชาสัมพันธ์ที่มากมายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบัน เราคงได้ยิน หรือได้เห็นแล้วว่า "ทรงจบปริญญา..." อะไรทำนองนั้น) แต่ประเด็นนี้ ขอให้ทุกท่านอ่านที่ผมเขียนไว้ในโพสต์นั้น ตามที่ให้ link ข้างบนสุด ว่า โดยตัวเอง การที่ทรงสำเร็จปริญญาหรือไม่ ไม่สามารถ "ประเมิน" ความสำคัญได้ จนกว่าเรื่องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์จะเป็นเรื่องที่สามารถอภิปรายได้อย่าง ปกติธรรมดา

No comments:

Post a Comment