Somsak Jeamteerasakul
เมื่อ
ไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสอ่านงานวิจัยชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับการเมืองสมัยสัญญา
ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี (2516-2518)
มีข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่างที่ไม่เคยเป็นที่รู้กันมาก่อน
ผมจะนำข้อมูลเหล่านี้มาเล่าตามแต่โอกาส เรื่องแรกที่จะเล่าคือ
กรณีการกลับเข้าประเทศของถนอม กิตติขจร เมื่อปลายปี 2517
จอม พล ถนอม ได้ลักลอบกลับเข้าประเทศ โดยอ้างว่าต้องการมาเยี่ยมพ่อที่อายุมากและป่วยหนัก โดยลักลอบเข้ามาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2517 แต่อยู่ได้เพียง 2 วัน เพราะถูกนักศึกษาประชาชนจัดชุมนุมต่อต้านทันทีที่ธรรมศาสตร์ สร้างแรงกดดันให้รัฐบาลต้องจัดการให้เดินทางกลับออกไป
ข้างล่างนี้คือหน้าแรกของ นสพ.ประชาชาติ รายวัน ฉบับวันที่ 27 ธันวาคม 2517 ที่ทันลงข่าวการลอบกลับเข้ามาของถนอมในเช้ามืด (ตีสี่) ของวันนั้นเอง
ภาพที่ 1
ข้างล่างนี้คือภาพการชุมนุมต่อต้านของนักศึกษาประชาชนในธรรมศาสตร์ จาก ประชาชาติ รายวัน ฉบับวันที่ 29 ธันวาคม 2517 หน้า 5
ภาพที่ 2
ข้างล่างนี้คือภาพหน้าแรกของ ประชาชาติ ฉบับเดียวกัน (29 ธันวาคม) ซึ่งพาดหัว การจะเดินทางออกนอกประเทศในวันนั้นของถนอม ส่วนเหตุการณ์ปะทะระหว่าง กระทิงแดง กับ นักศึกษา เกิดขึ้นในคืนก่อนหน้านั้น (28 ธันวาคม 2517) ผมบังเอิญนั่งชุมนุมอยู่ขณะเกิดเหตุพอดี อันที่จริง ผมไม่คิดว่า มีการยิงตอบจากฝ่ายนักศึกษา ตามที่ ประชาชาติ พาดหัว ("ไล่ยิงกัน") เหตุการณ์นี้สำคัญ ในแง่ที่เป็นครั้งแรกสุด ที่ กระทิงแดง (ซึ่งประกาศตัวออกมาไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น) ใช้กำลังโจมตีการชุมนุมของนักศึกษา
ภาพที่ 3
ปริศนารัฐบาลสัญญาเคยแถลงว่าจะอนุญาติให้ถนอมเข้ามาได้ 1 เดือนก่อนหน้านั้น แล้วเปลี่ยนใจ
ความ น่าสนใจของกรณีนี้ คือ หนึ่งเดือนก่อนหน้าที่ถนอมจะลักลอบเข้ามา คือ ในปลายเดือนพฤศจิกายน 2517 ฝ่ายรัฐบาลสัญญา โดย พลตำรวจโทวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ ผู้ช่วยอธิบดีตำรวจได้ออกมาแถลง โดยบอกว่าได้รับคำสั่งจากสัญญา ว่า ถนอม ขอกลับเข้าประเทศเพื่อเยี่ยมพ่อ และรัฐบาลมีแนวโน้มจะอนุญาติให้เข้ามาได้ ดังรายงานข่าว ของ นสพ. ประชาธิปไตย ฉบับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2517 ดังนี้
ภาพที่ 4
พล ตำรวจโทวิฑูรย์ ยังกล่าวต่อไปว่า "ถือเสียว่า คนแก่ๆคนหนึ่งกลับมาเยี่ยมพ่อเท่านั้น เราถือว่าเป็นคนไทยด้วยกัน เพราะจอมพลถนอม ก็ไม่ใช่คนป่าเถื่อนไร้มนุษยธรรมที่ไหน..." นอกจากนี้ นายประกอบ หุตะสิงห์ รองนายกรัฐมนตรี ก็ให้สัมภาษณ์ว่า "เพื่อมนุษยธรรม เป็นการทดแทนบุญคุณ ถือกตัญญูตามชาวพุทธ และการขอเข้ามาก็ไม่เกี่ยวข้องกับใครเลย มาเยี่ยมระยะหนึ่งแล้วก็กลับไป น่าจะให้กันได้"
อย่างไรก็ตาม ทันทีที่มีข่าวนี้ออกมา ก็เริ่มมีเสียงคัดค้านต่อต้าน ใน 2 วันต่อมา สัญญา ธรรมศักดิ์ เอง ก็ออกมาแถลงว่า ได้ตัดสินใจไม่อนุญาติให้ถนอมกลับเข้ามาแล้ว ดังรายงานข่าวของ ประชาธิปไตย ฉบับวันที่ 29 พฤศจิกายน 2517 ข้างล่างนี้
ภาพที่ 5
ภาพที่ 6
มิ หนำซ้ำ ยังมีการออกข่าวในวันต่อมาว่า ที่ พลตำรวจโท วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ แถลงไปก่อนหน้านี้ โดยบอกว่าได้รับคำสั่งจากสัญญาให้แถลง (ดู ภาพที่ 4 ข้างต้น) ว่า รัฐบาลจะอนุญาติให้ถนอมกลับเข้าไทยได้นั้น วิฑูรย์ ทำไปเอง สัญญา ไม่ได้สั่งให้ทำ ดังรายงานของ ประชาธิปไตย ฉบับวันที่ 30 พฤศจิกายน 2517 ข้างล่างนี้
ภาพที่ 7
ข้อมูลใหม่: ในหลวงให้สัญญาเข้าเฝ้า เรื่องถนอมขอกลับไทย
บัด นี้ ผมได้คำอธิบายแล้วว่า เหตุใดจึงเกิดกรณีที่รัฐบาลสัญญา (เจ้าของฉายา "นายกฯพระราชทาน") - ซึ่งไม่ใช่เพียง วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ เท่านั้น (ที่บอกว่าได้คำสั่งจากสัญญา) แต่รวมถึง ประกอบ หุตะสิงห์ รองนายกรัฐมนตรีด้วย - ออกมาแถลงว่า จะอนุญาติให้ ถนอมกลับเข้ามาได้ แล้ว 2 วันต่อมา ก็เปลี่ยนมาแถลงใหม่ว่า ไม่อนุญาติให้เข้ามา (กระทั่งสัญญายังปฏิเสธว่า ไม่ได้สั่งให้วิฑูรย์ แถลงครั้งแรก) ดังกล่าว
ในบันทึกส่วนตัวของเขา ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2517 สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้เขียนไว้ ดังนี้
ถ้า เราเทียบเคียงเวลาของการเข้าเฝ้าครั้งนี้ คือวันที่ 25 พฤศจิกายน ก็จะเห็นว่า สอดคล้องกับการที่วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ ออกมาแถลง (โดยบอกว่า สัญญา สั้่งให้แถลง) ในวันต่อมาคือ 26 พฤศจิกายน (นสพ. ลงข่าววันที่ 27 พฤศจิกายน ดังภาพที่ 4 ข้างต้น) ที่ว่า รัฐบาลจะอนุญาติให้ถนอมเข้ามาได้
อย่างไรก็ตาม อีก 3 วันต่อมา คือในวันที่ 28 พฤศจิกายน สัญญา ได้บันทึกไว้ว่า
ถ้า เทียบเคียงเวลา วันที่บันทึกนี้ ก็คือวันเดียวกับที่สัญญา ออกมาแถลงว่า ได้ตัดสินใจไม่อนุญาติให้ถนอมกลับเข้ามาแล้ว (นสพ.ลงข่าววันต่อมา คือ 29 พฤศจิกายน ดังภาพที่ 5 และ 6 ข้างต้น)
จอม พล ถนอม ได้ลักลอบกลับเข้าประเทศ โดยอ้างว่าต้องการมาเยี่ยมพ่อที่อายุมากและป่วยหนัก โดยลักลอบเข้ามาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2517 แต่อยู่ได้เพียง 2 วัน เพราะถูกนักศึกษาประชาชนจัดชุมนุมต่อต้านทันทีที่ธรรมศาสตร์ สร้างแรงกดดันให้รัฐบาลต้องจัดการให้เดินทางกลับออกไป
ข้างล่างนี้คือหน้าแรกของ นสพ.ประชาชาติ รายวัน ฉบับวันที่ 27 ธันวาคม 2517 ที่ทันลงข่าวการลอบกลับเข้ามาของถนอมในเช้ามืด (ตีสี่) ของวันนั้นเอง
ภาพที่ 1
ข้างล่างนี้คือภาพการชุมนุมต่อต้านของนักศึกษาประชาชนในธรรมศาสตร์ จาก ประชาชาติ รายวัน ฉบับวันที่ 29 ธันวาคม 2517 หน้า 5
ภาพที่ 2
ข้างล่างนี้คือภาพหน้าแรกของ ประชาชาติ ฉบับเดียวกัน (29 ธันวาคม) ซึ่งพาดหัว การจะเดินทางออกนอกประเทศในวันนั้นของถนอม ส่วนเหตุการณ์ปะทะระหว่าง กระทิงแดง กับ นักศึกษา เกิดขึ้นในคืนก่อนหน้านั้น (28 ธันวาคม 2517) ผมบังเอิญนั่งชุมนุมอยู่ขณะเกิดเหตุพอดี อันที่จริง ผมไม่คิดว่า มีการยิงตอบจากฝ่ายนักศึกษา ตามที่ ประชาชาติ พาดหัว ("ไล่ยิงกัน") เหตุการณ์นี้สำคัญ ในแง่ที่เป็นครั้งแรกสุด ที่ กระทิงแดง (ซึ่งประกาศตัวออกมาไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น) ใช้กำลังโจมตีการชุมนุมของนักศึกษา
ภาพที่ 3
ปริศนารัฐบาลสัญญาเคยแถลงว่าจะอนุญาติให้ถนอมเข้ามาได้ 1 เดือนก่อนหน้านั้น แล้วเปลี่ยนใจ
ความ น่าสนใจของกรณีนี้ คือ หนึ่งเดือนก่อนหน้าที่ถนอมจะลักลอบเข้ามา คือ ในปลายเดือนพฤศจิกายน 2517 ฝ่ายรัฐบาลสัญญา โดย พลตำรวจโทวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ ผู้ช่วยอธิบดีตำรวจได้ออกมาแถลง โดยบอกว่าได้รับคำสั่งจากสัญญา ว่า ถนอม ขอกลับเข้าประเทศเพื่อเยี่ยมพ่อ และรัฐบาลมีแนวโน้มจะอนุญาติให้เข้ามาได้ ดังรายงานข่าว ของ นสพ. ประชาธิปไตย ฉบับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2517 ดังนี้
ภาพที่ 4
พล ตำรวจโทวิฑูรย์ ยังกล่าวต่อไปว่า "ถือเสียว่า คนแก่ๆคนหนึ่งกลับมาเยี่ยมพ่อเท่านั้น เราถือว่าเป็นคนไทยด้วยกัน เพราะจอมพลถนอม ก็ไม่ใช่คนป่าเถื่อนไร้มนุษยธรรมที่ไหน..." นอกจากนี้ นายประกอบ หุตะสิงห์ รองนายกรัฐมนตรี ก็ให้สัมภาษณ์ว่า "เพื่อมนุษยธรรม เป็นการทดแทนบุญคุณ ถือกตัญญูตามชาวพุทธ และการขอเข้ามาก็ไม่เกี่ยวข้องกับใครเลย มาเยี่ยมระยะหนึ่งแล้วก็กลับไป น่าจะให้กันได้"
อย่างไรก็ตาม ทันทีที่มีข่าวนี้ออกมา ก็เริ่มมีเสียงคัดค้านต่อต้าน ใน 2 วันต่อมา สัญญา ธรรมศักดิ์ เอง ก็ออกมาแถลงว่า ได้ตัดสินใจไม่อนุญาติให้ถนอมกลับเข้ามาแล้ว ดังรายงานข่าวของ ประชาธิปไตย ฉบับวันที่ 29 พฤศจิกายน 2517 ข้างล่างนี้
ภาพที่ 5
ภาพที่ 6
มิ หนำซ้ำ ยังมีการออกข่าวในวันต่อมาว่า ที่ พลตำรวจโท วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ แถลงไปก่อนหน้านี้ โดยบอกว่าได้รับคำสั่งจากสัญญาให้แถลง (ดู ภาพที่ 4 ข้างต้น) ว่า รัฐบาลจะอนุญาติให้ถนอมกลับเข้าไทยได้นั้น วิฑูรย์ ทำไปเอง สัญญา ไม่ได้สั่งให้ทำ ดังรายงานของ ประชาธิปไตย ฉบับวันที่ 30 พฤศจิกายน 2517 ข้างล่างนี้
ภาพที่ 7
ข้อมูลใหม่: ในหลวงให้สัญญาเข้าเฝ้า เรื่องถนอมขอกลับไทย
บัด นี้ ผมได้คำอธิบายแล้วว่า เหตุใดจึงเกิดกรณีที่รัฐบาลสัญญา (เจ้าของฉายา "นายกฯพระราชทาน") - ซึ่งไม่ใช่เพียง วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ เท่านั้น (ที่บอกว่าได้คำสั่งจากสัญญา) แต่รวมถึง ประกอบ หุตะสิงห์ รองนายกรัฐมนตรีด้วย - ออกมาแถลงว่า จะอนุญาติให้ ถนอมกลับเข้ามาได้ แล้ว 2 วันต่อมา ก็เปลี่ยนมาแถลงใหม่ว่า ไม่อนุญาติให้เข้ามา (กระทั่งสัญญายังปฏิเสธว่า ไม่ได้สั่งให้วิฑูรย์ แถลงครั้งแรก) ดังกล่าว
ในบันทึกส่วนตัวของเขา ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2517 สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้เขียนไว้ ดังนี้
เสร็จ งานพวงมาลาแล้ว เรากับรองประกอบฯขอเข้าเฝ้า . . . พอเรา 2 คน จะลากลับ ท่านบอกว่าให้รอก่อน แล้วบอกว่าได้เรียกคุณกฤษณ์ - คุณประจวบ - คุณวิฑูรย์ฯ มาเรื่องจอมพลถนอมขอเข้าเมืองไทย - ให้เรา 2 คนอยู่ด้วย - พอ 3 คนนั้นมา ท่าน ...[ต้นฉบับไม่ชัดเจนอ่านไม่ออก].... ความดีของจอมพลถนอม - และเขาออกไปก็เพราะท่านขอให้ออกเพื่อความสงบของบ้านเมือง บัดนี้พ่อเขาเจ็บหนักจวนตาย จึงให้จัดการให้เขากลับโดยเร็วที่สุด - เรื่องคัดค้านต้องเกิดแน่ - แต่เราต้องสู้ มิฉะนั้นก็ขี้ขลาด ไม่เห็นแก่คุณธรรม - กฤษณ์พร้อมไหม? ตอบว่าพร้อม ประจวบวิฑูรย์ตอบว่าพะยะค่ะ ส่วนคุณประกอบนิ่งๆ ครั้นถามถึงกับเราว่าสุดแต่จะขอทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ และเราทูลด้วยว่าได้บอกทูตไทยไปสั่งห้ามแล้วไม่ให้เข้ามา!
ถ้า เราเทียบเคียงเวลาของการเข้าเฝ้าครั้งนี้ คือวันที่ 25 พฤศจิกายน ก็จะเห็นว่า สอดคล้องกับการที่วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ ออกมาแถลง (โดยบอกว่า สัญญา สั้่งให้แถลง) ในวันต่อมาคือ 26 พฤศจิกายน (นสพ. ลงข่าววันที่ 27 พฤศจิกายน ดังภาพที่ 4 ข้างต้น) ที่ว่า รัฐบาลจะอนุญาติให้ถนอมเข้ามาได้
อย่างไรก็ตาม อีก 3 วันต่อมา คือในวันที่ 28 พฤศจิกายน สัญญา ได้บันทึกไว้ว่า
เดช คุณพระคุณเจ้า H.M. กลับพระทัย สั่งให้ระงับเรื่องจอมพลถนอมได้
ถ้า เทียบเคียงเวลา วันที่บันทึกนี้ ก็คือวันเดียวกับที่สัญญา ออกมาแถลงว่า ได้ตัดสินใจไม่อนุญาติให้ถนอมกลับเข้ามาแล้ว (นสพ.ลงข่าววันต่อมา คือ 29 พฤศจิกายน ดังภาพที่ 5 และ 6 ข้างต้น)
No comments:
Post a Comment