Somsak Jeamteerasakul
คำชี้แจง: ผม
เขียนบทความนี้ ระหว่างช่วงที่ปิด fb ไป เดิมนึกว่า
จะทำให้เสร็จทันและเผยแพร่ในโอกาส 65 ปีของกรณ๊สวรรคต (9 มิถุนายน)
แต่แล้วก็หยุดเขียนไปก่อน เพราะรู้สึก "หงุดหงิด" กับตัวเองขึ้นมาว่า
เขียนไม่ได้เต็มที่อย่างที่อยากจะเขียน
เป็นความรู้สึกคล้ายๆกรณีโทรเลขวิกิลีกส์นั่นแหละ
ใครที่ติดตามอ่านงานของผมเกียวกับกรณีสวรรคตโดยใกล้ชิด
ก็คงเคยเห็นข้อมูลหรือเอกสารที่พูดถึงในบทความนี้แล้ว
เพราะผมเคยเขียนถึงมาก่อนอย่างคร่าวๆ ไอเดียที่เขียนบทความนี้ ที่จริงก็คือ
นึกว่า จะเขียนเกียวกับเอกสารนี้แบบเต็มๆเสียที
หลังจากพาดพิงถึงอย่างคร่าวๆมาก่อนนั่นแหละ แต่พอเขียนจริงๆก็พบว่า สงสัยจะ
"ทำได้แค่นี้" ก็เลยหยุดเขียน ไว้ชาติหน้า ค่อยมาเขี่ยนให้จบก็แล้วกัน แต่
เอามาลงให้ดู สำหรับคนที่ไม่เคยอ่านหรือรู้เรื่องมาก่อนเลย
และสำหรับคนที่รู้แล้ว ที่เขียนนี้ ก็อาจจะมีอะไรนิดหน่อย
ที่ไม่ได้เขียนถึงมาก่อน (แต่ไม่มากเท่าที่อยากทำ)
กลางปี 2525 ปรีดี พนมยงค์ ได้เขียนงานชิ้นหนึ่งชื่อ “ชีวประวัติย่อของนายปรีดี พนมยงค์ (จนถึง 24 กรกฎาคม 2525)” ในหัวข้อหมายเลข 35 ของงานดังกล่าวที่ชื่อ “ผู้จ้างหรือวานบุคคลทำการใส่ร้ายปรีดีฯในกรณีสวรรคต ร.8” ปรีดีได้กล่าวถึง “สตรีคนหนึ่ง” ที่ “ผู้ปรารถนาดีได้แจ้งให้ปรีดีฯทราบว่า [เป็น] ตัวการ....ทำการใส่ร้ายปรีดีฯติดต่อกันมา ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ตั้งแต่ในหลวงรัชกาลที่ 8 สวรรคตเมื่อ 9 มิถุนายน 2489 เป็นต้นมา” ปรีดี เขียนในตอนหนึ่งว่า
ผม เชื่อว่าข้อความตอนนี้ ปรีดีจงใจเขียนขึ้นมา โดยที่ความจริง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขากำลังเขียนถึงในหัวข้อนั้นเท่าใดนัก (เรื่อง “สตรีผู้หนึ่ง” ที่เขากล่าวว่าเป็น “ตัวการ” ในการใส่ร้ายเขามานานเรื่องกรณีสวรรคต) แต่ที่เขียนก็เพื่อบอกผู้อ่านถึงความมีอยู่ของเอกสารสำคัญ 2 ชิ้นของรัฐบาลอังกฤษดังกล่าว คือบันทึกการสนทนาระหว่างพระองค์เจ้าธานี กับลอร์ดเมานท์แบทเตนและนายเดนนิง ในปี 2491 เกี่ยวกับกรณีสวรรคต ซึงเมื่อปรีดีเขียนถึงนั้น เพิ่งได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะเพียงไม่กี่ปี (เอกสารดังกล่าวมีอายุครบ 30 ปี ในปี 2521)
ในฐานะนักประวัติ ศาสตร์ผู้สนใจเรื่องปรีดีและกรณีสวรรต ผมเองย่อมสนใจเรื่องเอกสารดังกล่าวเป็นธรรมดา แต่จนแล้วจนรอดหลังจากได้อ่านที่ปรีดีเขียนถึงเอกสารนี้มา 20 ปี ก็ไม่เคยเห็นสักครั้ง จนกระทั่ง ในต้นปี 2547 จู่ๆก็มีเว็บไซต์ประภท “ใต้ดิน” แห่งหนึ่ง เผยแพร่บทความชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับกรณีสวรรต ในบทความนั้น ได้กล่าวถึงการพบปะสนทนาระหว่างพระองค์เจ้าธานีกับลอร์ดเมานท์แบทเตนและนาย เดนนิง ในปี 2491 และได้อ้างข้อความบางประโยคที่ว่ามาจากการสนทนาครั้งนั้นด้วย บทความดังกล่าว ไมใช่บทความวิชาการ ไม่มีเชิงอรรถอ้างอิงโดยถูกต้อง แต่ผมก็เดาว่า ข้อมูลที่บทความนั้นอ้างถึงน่าจะมาจากเอกสารที่ปรีดีพูดถึงแน่นอน แต่ผมก็จนปัญญาที่จะยืนยันได้
ในที่สุด จนกระทั่งเมื่อต้นปีกลาย (2553) คือ 28 ปีหลังจากที่ผมได้อ่านข้อเขียนอัตชีวประวัติของปรีดี กีมีผู้นำภาพถ่ายเอกสารบันทึกการสนทนาระหว่างพระองค์ธานีกับลอร์ดเมานท์แบ ทเตนและนายเดนนิงที่ปรีดีพูดถึง พร้อมเอกสารประกอบอื่นๆ (พวกจดหมายปะหน้าของเจ้าหน้าที่อังกฤษที่เกี่ยวข้อง) ทั้งชุด มาให้ผมยืมดู
หลัง จากได้อ่านศึกษาเอกสารชุดนี้ทั้งหมดแล้ว ในฐานะผู้สนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องกรณีสวรรคต ผมควรบอกว่า ในแง่ข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง (เช่น เกิดอะไรขึ้น ใครเป็นคนทำ เหล่านี้เป็นต้น) เอกสารชุดนี้ ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรในส่วนนั้น (ซึ่งก็เป็นธรรมดา พอคาดเดาได้ เพราะฝรั่งเองไม่ใช่คนที่ทำการสืบสวนเรื่องนั้นโดยตรง) แต่ความสำคัญหรือน่าสนใจของเอกสารชุดนี้ในฐานะหลักฐานประวัติศาสตร์อยู่ที่ ว่า ได้แสดงหรือยืนยันให้เห็นว่า (ก) บุคคลสำคัญในระดับสูงของราชสำนักและรัฐบาลอังกฤษมีความเห็นต่อกรณี สวรรคตอย่างไร และเป็นหลักฐานอธิบายหรือยืนยันให้เห็น (เมื่อใช้ประกอบกับหลักฐานอื่น) ถึงสาเหตุความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นระหว่างราชสำนักไทยกับราชสำนักอังกฤษ (ข) บุคคลสำคัญในราชสำนักไทย (พระองค์เจ้าธานี ซึ่งที่ปรึกษาคนสำคัญที่สุดของพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น) มีท่าทีหรือแสดงความเห็นอย่างไรต่อกรณีสวรรคต โดยเฉพาะเมื่อถูกถามถึงเรื่องนี้ในการพบปะปิดลับกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ อังกฤษ
ภาพ ประกอบที่ 1: หน้าแรกของบันทึกการสนทนาระหว่างลอร์ดเมานท์แบทเตน กับ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2491 (ผมใช้โปรแกรมทำให้ภาพมัวเพื่อให้อ่านข้อความไม่ได้)
ต่อ ไปนี้ ผมจะขอถ่ายทอดเท่าที่พอจะทำได้ว่า เนื้อหาของบันทึกการสนทนาระหว่างพระองค์เจ้าธานีกับลอร์ดเมานท์แบทเตนมีอะไร บ้าง ลอร์ดเมานท์แบทเตน เริ่มต้นบันทึกการสนทนากับพระองค์เจ้าธานีนิวัติ ดังนี้
โดย สรุปคือ ลอร์ดเมานท์แบทเตน พูดอย่างเป็นทางการว่า ยินดีสนับสนุนให้ในหลวงภูมิพลเสด็จเยือนอังกฤษ เช่นเดียวกับที่เคยสนับสนุนให้ในหลวงอานันท์ทำเช่นนั้นมาก่อน อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงการพูดแบบทางการในตอนต้น เพราะหลังจากนั้น เมื่อการสนทนาดำเนินต่อไป ข้อสรุปของเมานท์แบทเตนเองจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดังจะเล่าต่อไป
เมานท์ แบทเตนได้อธิบายทฤษฎีการสวรรคตเกิดขึ้นได้อย่างไรของเขา ซึ่งพระองค์เจ้าธานีก็ได้โต้แย้ง แต่เมานท์แบทเตน ก็ยังยืนยันว่า ณ ขณะนั้น ได้มาถึงจุดที่ว่า ผู้ที่รู้จักคิด (thinking people) ทั้งหลายยากที่จะเชื่อไปในทางอื่น นอกจากทางที่เขาเสนอ เพราะปลงพระชนม์พระองค์เองเป็นไปไม่ได้และลอบปลงพระชนม์ก็ไม่น่าเป็นไปได้ “ใครล่ะจะเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์ไปได้? แล้วไหนล่ะแรงจูงใจของการลอบปลงพระชนม์?”
สิ่งที่ผมเห็นว่า สำคัญและน่าสนใจมาก คือการตอบของพระองค์เจ้าธานี ซึ่งเป็นการโยนความผิดกลับไปให้ปรีดี โดยกล่าวหาว่าคนของปรีดี (หมายถึง รอ.วัชรชัย ชัยสิทธิเวช รน. นายทหารองครักษ์ของปรีดี) เป็นผู้ลอบปลงพระชนม์ แล้วปรีดีช่วยปกปิดความผิดให้ ดังนี้
ครั้ง แรกที่ได้อ่าน ผมยอมรับว่าตกใจไม่น้อย (และไม่พอใจอย่างมาก) ที่พบว่าพระองค์เจ้าธานีได้กล่าวหาปรีดีอย่างร้ายแรงเช่นนี้ จริงอยู่ เขาอ้างว่าเขาเองไม่เชื่อ “แม้แต่น้อย” (not for one moment) ว่าปรีดีจะเป็นคนวางแผนลอบปลงพระชนม์เอง แต่การกล่าวหาว่า ปรีดีรู้เห็นเป็นใจภายหลังเหตุการณ์และช่วยปกปิดความจริงในเรื่องที่ใหญ่โต ขนาดนี้ (ลอบปลงพระชนม์กษัตริย์) ก็ไม่ต่างไปจากการกล่าวหาว่าปรีดีมีส่วนในการลอบปลงพระชนม์นั่นแหละ ผมยังแปลกใจมากด้วยว่า เหตุใดปรีดีจึงไม่เอ่ยถึงหรือตอบโต้พระองค์เจ้าธานีที่กล่าวหาเขาอย่างร้าย แรงเช่นนี้เลย เมื่อไม่นานมานี้ ผมมีโอกาสถามเรื่องนี้กับสุลักษณ์ ศิวรักษ์ สุลักษณ์ ซึ่งผมมั่นใจว่าเคยได้อ่านบันทึกเมานท์แบทเตนตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อน อธิบายว่า เพราะปรีดียังเกรงอกเกรงใจพระองค์เจ้าธานี ที่มีฐานะเป็นญาติผู้ใหญ่ (พูนศุข พนมยงค์เป็นหลานเจ้าพระยายมราช โดยผ่านทั้งทางพ่อ ที่เป็นน้องชายของภรรยาคนหนึ่งของเจ้าพระยายมราช และทางแม่ที่เป็นลูกสาวของพี่สาวเจ้าพระยายมราช ขณะที่ ชายาของพระองค์เจ้าธานี เป็นลูกสาวแท้ๆของเจ้าพระยายมราชที่เกิดจากภรรยาอีกคนหนึ่งที่ไม่ใช่พี่สาว ของพ่อพูนศุข)
คำอธิบายของพระองค์เจ้าธานีก็ดูเหมือนจะไม่ทำ ให้เมานท์แบทเตนเชื่อสนิทใจ เพราะในที่สุด เมานท์แบทเตนสรุปว่ายังไม่สามารถสนับสนุนการให้ในหลวงภูมิพลเสด็จเยือน อังกฤษอย่างเป็นทางการได้
ท่า ทีของเมานท์แบทเตนต่อคำขอของราชสำนักไทยในครั้งนี้ จะมีผลสะเทือนในทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักไทยกับราชสำนักและ รัฐบาลอังกฤษเป็นเวลาอีกยาวนาน เกือบ 10 ปีต่อมา เมื่อนายเบิร์กเลย์ เกจ ทูตอังกฤษประจำไทยเข้าเฝ้าในหลวง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2500 เพื่อถวายบังคมลาในโอกาสสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่ง เขาได้เขียนไว้ในบันทึกที่เขาตั้งชื่อว่า “The King and I” ตอนหนึ่งว่า
* ทอ มัส เบ็คเก็ท (Thomas Beckett) เป็นสังฆราชของคริสตศาสนาแห่งอังกฤษในศตวรรษที่ 12 ที่มีความขัดแย้งกับกษัตริย์อังกฤษ กล่าวกันว่ากษัตริย์อังกฤษได้เอ่ยถ้อยคำแสดงความไม่พอใจเบ็คเก็ทให้ลูกน้อง ได้ยิน ทำนองว่า “ไมมีใครจะช่วยทำให้นักบวชรูปนี้พ้นๆไปหน่อยเลยหรือ?” เมื่ออัศวินลูกน้องกษัตริย์ได้ยินเข้า ก็เลยพากันไปรุมฆ่าเบ็คเก็ท
กลางปี 2525 ปรีดี พนมยงค์ ได้เขียนงานชิ้นหนึ่งชื่อ “ชีวประวัติย่อของนายปรีดี พนมยงค์ (จนถึง 24 กรกฎาคม 2525)” ในหัวข้อหมายเลข 35 ของงานดังกล่าวที่ชื่อ “ผู้จ้างหรือวานบุคคลทำการใส่ร้ายปรีดีฯในกรณีสวรรคต ร.8” ปรีดีได้กล่าวถึง “สตรีคนหนึ่ง” ที่ “ผู้ปรารถนาดีได้แจ้งให้ปรีดีฯทราบว่า [เป็น] ตัวการ....ทำการใส่ร้ายปรีดีฯติดต่อกันมา ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ตั้งแต่ในหลวงรัชกาลที่ 8 สวรรคตเมื่อ 9 มิถุนายน 2489 เป็นต้นมา” ปรีดี เขียนในตอนหนึ่งว่า
เมื่อ “สำนักงานเอกสารสาธารณะ” (Public Record Office) ของรัฐบาลอังกฤษ ได้เปิดเผยให้มหาชนพิจารณาเอกสารทางราชการที่มีอายุเกินกว่า 30 ปีแล้วนั้น ก็มีผู้สนใจกรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ได้ไปขอพิจารณาเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนั้น ณ สำนักงานดังกล่าว ที่มีอยู่ 2 ฉบับซึ่งมีผุ้ขอคัดสำเนา คือ
(ก) บันทึกการสนทนาระหว่างลอร์ดเมานท์แบทเตนกับพระองค์เจ้าธานีนิวัติ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ.1948 (พ.ศ. 2491) ซึ่งสำนักงานข้าหลางใหญ่อังกฤษประจำกรุงเดลีได้รายงานมายังรัฐมนตรีอังกฤษ ว่าการกระทรวงจักรภพสัมพันธ์
(ข) บันทึกการสนทนาระหว่างนาย(ภายหลังเป็น “เซอร์”) เมเบอร์ลี เดนนิง (Maberly Denning) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงต่างประเทศอังกฤษ กับพระองค์เจ้าธานีนิวัติฉบับลงวันที่ 12 กรกฏาคม ค.ศ.1948 (พ.ศ. 2491)
พรรคพวกของสตรีไทยดังกล่าวข้างบนนั้น ก็สร้างข่าวขึ้นว่าปรีดีฯเป็นผู้บอกลอร์ดเมานท์แบทเตนและนายเดนนิงให้เข้าใจ ผิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ฉะนั้น เมื่อถึงโอกาสสมควรที่ปรีดีฯจะฟ้องต่อศาลยุติธรรมให้พิจารณาผู้ใส่ความ ปรีดีฯก็จะอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานเอกสาร พร้อมทั้งจะอ้างพยานบุคคลที่ให้การเป็นเท็จไว้ในกรณีสวรรคตแล้วขอขมาโทษต่อ ปรีดีฯนั้นเป็นพยานโจทก์ในคดีใหม่
อนึ่ง ปรีดีฯสามารถพิสูจน์ได้ว่า ปรีดีฯไม่เคยใส่ความสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ต่อลอร์ดเมานท์แบทเตนหรือต่อนายเดนนิงเลย
ผม เชื่อว่าข้อความตอนนี้ ปรีดีจงใจเขียนขึ้นมา โดยที่ความจริง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขากำลังเขียนถึงในหัวข้อนั้นเท่าใดนัก (เรื่อง “สตรีผู้หนึ่ง” ที่เขากล่าวว่าเป็น “ตัวการ” ในการใส่ร้ายเขามานานเรื่องกรณีสวรรคต) แต่ที่เขียนก็เพื่อบอกผู้อ่านถึงความมีอยู่ของเอกสารสำคัญ 2 ชิ้นของรัฐบาลอังกฤษดังกล่าว คือบันทึกการสนทนาระหว่างพระองค์เจ้าธานี กับลอร์ดเมานท์แบทเตนและนายเดนนิง ในปี 2491 เกี่ยวกับกรณีสวรรคต ซึงเมื่อปรีดีเขียนถึงนั้น เพิ่งได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะเพียงไม่กี่ปี (เอกสารดังกล่าวมีอายุครบ 30 ปี ในปี 2521)
ในฐานะนักประวัติ ศาสตร์ผู้สนใจเรื่องปรีดีและกรณีสวรรต ผมเองย่อมสนใจเรื่องเอกสารดังกล่าวเป็นธรรมดา แต่จนแล้วจนรอดหลังจากได้อ่านที่ปรีดีเขียนถึงเอกสารนี้มา 20 ปี ก็ไม่เคยเห็นสักครั้ง จนกระทั่ง ในต้นปี 2547 จู่ๆก็มีเว็บไซต์ประภท “ใต้ดิน” แห่งหนึ่ง เผยแพร่บทความชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับกรณีสวรรต ในบทความนั้น ได้กล่าวถึงการพบปะสนทนาระหว่างพระองค์เจ้าธานีกับลอร์ดเมานท์แบทเตนและนาย เดนนิง ในปี 2491 และได้อ้างข้อความบางประโยคที่ว่ามาจากการสนทนาครั้งนั้นด้วย บทความดังกล่าว ไมใช่บทความวิชาการ ไม่มีเชิงอรรถอ้างอิงโดยถูกต้อง แต่ผมก็เดาว่า ข้อมูลที่บทความนั้นอ้างถึงน่าจะมาจากเอกสารที่ปรีดีพูดถึงแน่นอน แต่ผมก็จนปัญญาที่จะยืนยันได้
ในที่สุด จนกระทั่งเมื่อต้นปีกลาย (2553) คือ 28 ปีหลังจากที่ผมได้อ่านข้อเขียนอัตชีวประวัติของปรีดี กีมีผู้นำภาพถ่ายเอกสารบันทึกการสนทนาระหว่างพระองค์ธานีกับลอร์ดเมานท์แบ ทเตนและนายเดนนิงที่ปรีดีพูดถึง พร้อมเอกสารประกอบอื่นๆ (พวกจดหมายปะหน้าของเจ้าหน้าที่อังกฤษที่เกี่ยวข้อง) ทั้งชุด มาให้ผมยืมดู
หลัง จากได้อ่านศึกษาเอกสารชุดนี้ทั้งหมดแล้ว ในฐานะผู้สนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องกรณีสวรรคต ผมควรบอกว่า ในแง่ข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง (เช่น เกิดอะไรขึ้น ใครเป็นคนทำ เหล่านี้เป็นต้น) เอกสารชุดนี้ ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรในส่วนนั้น (ซึ่งก็เป็นธรรมดา พอคาดเดาได้ เพราะฝรั่งเองไม่ใช่คนที่ทำการสืบสวนเรื่องนั้นโดยตรง) แต่ความสำคัญหรือน่าสนใจของเอกสารชุดนี้ในฐานะหลักฐานประวัติศาสตร์อยู่ที่ ว่า ได้แสดงหรือยืนยันให้เห็นว่า (ก) บุคคลสำคัญในระดับสูงของราชสำนักและรัฐบาลอังกฤษมีความเห็นต่อกรณี สวรรคตอย่างไร และเป็นหลักฐานอธิบายหรือยืนยันให้เห็น (เมื่อใช้ประกอบกับหลักฐานอื่น) ถึงสาเหตุความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นระหว่างราชสำนักไทยกับราชสำนักอังกฤษ (ข) บุคคลสำคัญในราชสำนักไทย (พระองค์เจ้าธานี ซึ่งที่ปรึกษาคนสำคัญที่สุดของพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น) มีท่าทีหรือแสดงความเห็นอย่างไรต่อกรณีสวรรคต โดยเฉพาะเมื่อถูกถามถึงเรื่องนี้ในการพบปะปิดลับกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ อังกฤษ
ภาพ ประกอบที่ 1: หน้าแรกของบันทึกการสนทนาระหว่างลอร์ดเมานท์แบทเตน กับ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2491 (ผมใช้โปรแกรมทำให้ภาพมัวเพื่อให้อ่านข้อความไม่ได้)
ต่อ ไปนี้ ผมจะขอถ่ายทอดเท่าที่พอจะทำได้ว่า เนื้อหาของบันทึกการสนทนาระหว่างพระองค์เจ้าธานีกับลอร์ดเมานท์แบทเตนมีอะไร บ้าง ลอร์ดเมานท์แบทเตน เริ่มต้นบันทึกการสนทนากับพระองค์เจ้าธานีนิวัติ ดังนี้
บันทึกการสนทนาระหว่าง ลอร์ด เมานท์แบทเตน กับ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ แห่งสยาม
เมื่อเวลา 16..16 น. วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 1948
1. พระองค์เจ้าธานี บอกข้าพเจ้าว่า เขาได้เดินทางมาเดลฮีเป็นการเฉพาะ ในฐานะตัวแทนของพระราชวงศ์สยาม เพื่อขอคำแนะนำของข้าพเจ้าเกี่ยวกับอนาคตของพระมหากษัตริย์สยาม โดยเฉพาะเรื่องว่าพระองค์ควรที่จะทรงเสด็จเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตราชสำนักของที่นั่นและเกี่ยวกับกองทัพของที่ นั่น หรือไม่ พระองค์เจ้าธานีกล่าวว่า ทั้งนี้เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นที่นับถืออย่างกว้างขวางในประเทศของเขาว่าเป็น มิตรของประเทศสยามคนหนึ่งและเป็นที่นับถือของพระราชวงศ์ของเขาว่าเป็นมิตร พิเศษของพระราชวงศ์สยาม
2. ข้าพเจ้าบอกพระองค์เจ้าธานีนิวัติว่า ข้าพเจ้าเคยแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ในพระบรมโกษฐ์ของสยามว่า ท่านควรเสด็จเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกองทัพของที่นั่น โดยที่อาจจะทรงสมัครเข้าประจำอยู่กับหน่วยทหารบางหน่วยของที่นั่นหรือเสด็จ เยือนบางหน่วยเป็นกรณีพิเศษ ข้าพเจ้ากล่าวว่า ข้าพเจ้าคิดว่าคำแนะนำนี้ยังใช้ได้กับพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน พระองค์เจ้าธานีดูเหมือนจะมีอาการโล่งใจอย่างมากและกล่าวว่า เขาได้หวังไว้ว่าข้าพเจ้าจะพูดเช่นนี้ เขาถามว่า เขาสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ข้าพเจ้าพูดนี้ให้กับพระมหากษัตริย์สยามองค์ ปัจจุบันได้หรือไม่ ข้าพเจ้ากล่าวว่าได้
โดย สรุปคือ ลอร์ดเมานท์แบทเตน พูดอย่างเป็นทางการว่า ยินดีสนับสนุนให้ในหลวงภูมิพลเสด็จเยือนอังกฤษ เช่นเดียวกับที่เคยสนับสนุนให้ในหลวงอานันท์ทำเช่นนั้นมาก่อน อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงการพูดแบบทางการในตอนต้น เพราะหลังจากนั้น เมื่อการสนทนาดำเนินต่อไป ข้อสรุปของเมานท์แบทเตนเองจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดังจะเล่าต่อไป
3. เป็นโอกาสดีที่ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ถามข้าพเจ้าต่อไปว่า ข้าพเจ้ามีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อพระมหากษัตริย์สยามองค์ปัจจุบันอะไรอีก หรือไม่ นี่เป็นการเปิดช่องให้ข้าพเจ้าได้พูดตามที่ต้องการไว้ ข้าพเจ้าจึงพูดว่า ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า เพื่อเป็นการดีสำหรับอนาคตของสถาบันกษัตริย์สยาม เรื่องเกี่ยวกับการสวรรคตของพระมหากษัตริย์ในพระบรมโกษฐ์ ควรที่จะได้รับการทำให้กระจ่างต่อสาธารณะอย่างเป็นที่น่าพอใจในอนาคตอันใกล้ นี้ ซึ่งประเด็นนี้พระองค์ธานีเห็นด้วย ข้าพเจ้าบอกพระองค์ธานีว่า ข้าพเจ้าได้ติดตามรายละเอียดเรื่องการสวรรคตของพระมหากษัตริย์สยามในพระบรม โกษฐ์อย่างเต็มความสามารถของข้าพเจ้าโดยอาศัยความช่วยเหลือจากเพื่อนชาวสยาม จำนวนหนึ่ง และข้าพเจ้าได้มาสู่ข้อสรุปว่า ไม่สามารถเป็นไปได้ที่การสวรรคตจะเป็นเรื่องของการปลงพระชนม์พระองค์เอง [suicide] พระองค์เจ้าธานีกล่าวว่า นี่เป็นความเห็นของพระองค์เช่นกัน
4. ข้าพเจ้ากล่าวต่อไปว่า ข้าพเจ้ามองไม่เห็นเช่นกันว่า จะเป็นเรื่องการลอบปลงพระชนม์ [murder] ได้อย่างไร เพราะใครเล่าจะเป็นผู้ลักลอบปลงพระชนม์ [assassin] และจะมีแรงจูงใจ [motive] ของการลอบปลงพระชนม์ อะไรได้? เมื่อข้าพเจ้าพูดเช่นนี้ พระองค์เจ้าธานีเพียงแต่พยักหน้า
5. ข้าพเจ้าจึงกล่าวต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้น ก็เหลือความเป็นไปได้เพียงอย่างเดียว นั่นคือ . . . . .
เมานท์ แบทเตนได้อธิบายทฤษฎีการสวรรคตเกิดขึ้นได้อย่างไรของเขา ซึ่งพระองค์เจ้าธานีก็ได้โต้แย้ง แต่เมานท์แบทเตน ก็ยังยืนยันว่า ณ ขณะนั้น ได้มาถึงจุดที่ว่า ผู้ที่รู้จักคิด (thinking people) ทั้งหลายยากที่จะเชื่อไปในทางอื่น นอกจากทางที่เขาเสนอ เพราะปลงพระชนม์พระองค์เองเป็นไปไม่ได้และลอบปลงพระชนม์ก็ไม่น่าเป็นไปได้ “ใครล่ะจะเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์ไปได้? แล้วไหนล่ะแรงจูงใจของการลอบปลงพระชนม์?”
สิ่งที่ผมเห็นว่า สำคัญและน่าสนใจมาก คือการตอบของพระองค์เจ้าธานี ซึ่งเป็นการโยนความผิดกลับไปให้ปรีดี โดยกล่าวหาว่าคนของปรีดี (หมายถึง รอ.วัชรชัย ชัยสิทธิเวช รน. นายทหารองครักษ์ของปรีดี) เป็นผู้ลอบปลงพระชนม์ แล้วปรีดีช่วยปกปิดความผิดให้ ดังนี้
10. พระองค์เจ้าธานีนิวัติได้บอกข้าพเจ้าว่า เชื่อกันว่า นายทหารเรือหนุ่มคนหนึ่งซึ่งเป็นพรรคพวกและเพื่อนใกล้ชิดกับนายปรีดี พนมยงค์ อดีตผู้สำเร็จราชการและรัฐบุรุษอาวุโส คือผู้ลอบปลงพระชนม์ [พระองค์เจ้าธานี] ไม่เคยเลยแม้แต่น้อยที่จะคิดว่าปรีดีมีส่วนรู้เห็นในการวางแผนลอบปลงพระชนม์ แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาพรรคพวกของปรีดี รู้ว่าปรีดีมีความไม่พอใจในพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกษฐ์ เพราะแม้ว่าเขาจะเป็นผู้เชิญพระองค์ให้เสด็จกลับประเทศเอง แต่เมื่อกลับมาแล้ว พระองค์กลับไม่ให้ความร่วมมือกับเขา [บรรดาพรรคพวกของปรีดีเหล่านี้จึงวางแผนปลงพระชนม์] อันที่จริง เป็นที่ลือกันว่าพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกษฐ์ได้ประสบชะตากรรมแบบเดียวกับ ทอมัส เบ็คเก็ท – คือผู้ลอบปลงพระชนม์พระองค์ทำการลอบปลงพระชนม์โดยหวังว่าจะทำให้ปรีดีพอใจ *มี คนพูดว่าตัวปรีดีเองรู้สึกตกใจมาก [horrified] เมื่อค้นพบความจริง แต่เขาตระหนักว่าแรงจูงใจเบื้องหลังการลอบปลงพระชนม์มาจากความภักดีต่อเขา เขาจึงสั่งการตำรวจอย่างผิดๆ [misdirect] เพื่อประกันไม่ให้ข้อสรุปของการสอบสวนออกมาว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์
11. นี่คือคำอธิบายของพระองค์เจ้าธานีนิวัติเรื่องแรงจูงใจ [motive] และนายทหารเรือหนุ่มดังกล่าวคือคนที่เขาเสนอว่าเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์ . . . .
ครั้ง แรกที่ได้อ่าน ผมยอมรับว่าตกใจไม่น้อย (และไม่พอใจอย่างมาก) ที่พบว่าพระองค์เจ้าธานีได้กล่าวหาปรีดีอย่างร้ายแรงเช่นนี้ จริงอยู่ เขาอ้างว่าเขาเองไม่เชื่อ “แม้แต่น้อย” (not for one moment) ว่าปรีดีจะเป็นคนวางแผนลอบปลงพระชนม์เอง แต่การกล่าวหาว่า ปรีดีรู้เห็นเป็นใจภายหลังเหตุการณ์และช่วยปกปิดความจริงในเรื่องที่ใหญ่โต ขนาดนี้ (ลอบปลงพระชนม์กษัตริย์) ก็ไม่ต่างไปจากการกล่าวหาว่าปรีดีมีส่วนในการลอบปลงพระชนม์นั่นแหละ ผมยังแปลกใจมากด้วยว่า เหตุใดปรีดีจึงไม่เอ่ยถึงหรือตอบโต้พระองค์เจ้าธานีที่กล่าวหาเขาอย่างร้าย แรงเช่นนี้เลย เมื่อไม่นานมานี้ ผมมีโอกาสถามเรื่องนี้กับสุลักษณ์ ศิวรักษ์ สุลักษณ์ ซึ่งผมมั่นใจว่าเคยได้อ่านบันทึกเมานท์แบทเตนตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อน อธิบายว่า เพราะปรีดียังเกรงอกเกรงใจพระองค์เจ้าธานี ที่มีฐานะเป็นญาติผู้ใหญ่ (พูนศุข พนมยงค์เป็นหลานเจ้าพระยายมราช โดยผ่านทั้งทางพ่อ ที่เป็นน้องชายของภรรยาคนหนึ่งของเจ้าพระยายมราช และทางแม่ที่เป็นลูกสาวของพี่สาวเจ้าพระยายมราช ขณะที่ ชายาของพระองค์เจ้าธานี เป็นลูกสาวแท้ๆของเจ้าพระยายมราชที่เกิดจากภรรยาอีกคนหนึ่งที่ไม่ใช่พี่สาว ของพ่อพูนศุข)
คำอธิบายของพระองค์เจ้าธานีก็ดูเหมือนจะไม่ทำ ให้เมานท์แบทเตนเชื่อสนิทใจ เพราะในที่สุด เมานท์แบทเตนสรุปว่ายังไม่สามารถสนับสนุนการให้ในหลวงภูมิพลเสด็จเยือน อังกฤษอย่างเป็นทางการได้
12. ข้าพเจ้ากล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าไม่สามารถสนับสนุน [recommend] ให้พระมหากษัตริย์สยามองค์ปัจจุบันเสด็จเยือนอังกฤษ จนกว่าปัญหาว่า .... [เซ็นเซอร์] .... จะได้รับการทำให้กระจ่างโดยสิ้นเชิงก่อน
ท่า ทีของเมานท์แบทเตนต่อคำขอของราชสำนักไทยในครั้งนี้ จะมีผลสะเทือนในทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักไทยกับราชสำนักและ รัฐบาลอังกฤษเป็นเวลาอีกยาวนาน เกือบ 10 ปีต่อมา เมื่อนายเบิร์กเลย์ เกจ ทูตอังกฤษประจำไทยเข้าเฝ้าในหลวง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2500 เพื่อถวายบังคมลาในโอกาสสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่ง เขาได้เขียนไว้ในบันทึกที่เขาตั้งชื่อว่า “The King and I” ตอนหนึ่งว่า
ยัง มีอีกประเด็นหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาระหว่างการเข้าเฝ้าของผม คือก่อนหน้านี้พระองค์เจ้าธานีได้ทรงบอกผมว่า ในหลวงทรงรู้สึกเสียพระทัย [hurt] หลังการสวรรคตของพระเชษฐา ต่อทัศนะที่ในหลวงทรงเข้าใจว่า "บุคคลในแวดวงชั้นสูง" ของลอนดอนโดยทั่วไปเชื่อกัน ที่ว่า พระองค์ท่าน .... [เซ็นเซอร์] .... การสวรรคต ผมได้ปฏิเสธว่าไม่เคยทราบทัศนะเช่นนั้นมาก่อน แต่พระองค์เจ้าธานีทรงกล่าวขอร้องต่อไปว่า รัฐบาลอังกฤษควรรีบส่งคำกราบบังคมทูลเชิญในหลวงและพระราชินีของไทย ให้ทรงเสด็จประพาสสหราชอาณาจักร ตามเวลาที่สะดวกของพระราชินีนาถอลิซาเบธและของในหลวงพระราชินีไทย พระองค์เจ้าธานีกล่าวว่า ฝ่ายอเมริกันได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จสหรัฐอเมริกาแล้ว แต่ในหลวงจะทรงพอพระทัยอย่างยิ่ง [would particularly appreciate] หากได้คำเชิญเสด็จจากพระราชินีนาถอลิซาเบธ
* ทอ มัส เบ็คเก็ท (Thomas Beckett) เป็นสังฆราชของคริสตศาสนาแห่งอังกฤษในศตวรรษที่ 12 ที่มีความขัดแย้งกับกษัตริย์อังกฤษ กล่าวกันว่ากษัตริย์อังกฤษได้เอ่ยถ้อยคำแสดงความไม่พอใจเบ็คเก็ทให้ลูกน้อง ได้ยิน ทำนองว่า “ไมมีใครจะช่วยทำให้นักบวชรูปนี้พ้นๆไปหน่อยเลยหรือ?” เมื่ออัศวินลูกน้องกษัตริย์ได้ยินเข้า ก็เลยพากันไปรุมฆ่าเบ็คเก็ท
No comments:
Post a Comment