Saturday, December 6, 2014

ผมเจออะไรในค่ายกักกัน เสียงสามัญ ตอน 2


ตอนนี้ผมจะเล่าต่อจากตอนที่แล้วถึงบรรยากาศในขณะที่ถูกควบคุมตัวและการสอบสวน หลังเข้ารายงานตัวกับ คสช. ตามสถานที่ วันเวลาที่ คสช. มีคำสั่ง โดยได้นัดหมายคนที่ถูกเรียกในคำสั่งเดียวกันที่พอรู้จักกันเข้าพร้อมกัน นอกจากนี้ยังมีเพื่อนๆ มาส่ง รวมทั้งนั่ง รอ พวกเขานั่งรอข้างนอกตั้งแต่ช่วงสายวันนั้น จนกระทั่งค่ำ โดยไม่ทราบเลยว่าหลังจากที่พวกผมเข้าไปรายงานตัวแล้ว สักบ่ายแก่ๆ ทหารก็นำตัวพวกผมไปไว้ที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แต่ไม่สามารถบอกหรือแจ้งเพื่อนๆ ที่มารออยู่ข้างนอกได้เลย แม้กระทั่งเพื่อนบางคนที่สามารถเข้ามาในสถานที่ห้องรายงานตัวได้ พวกผมก็ไม่ได้บอกกล่าวว่าเขาพาไปไหน ทหารที่ควบคุมพวกเราก็ไม่บอกหรือแจ้งว่าจะพาไปไหนด้วย มีเพียงนกกระดาษที่ผมพับและส่งให้เพื่อน โดยไม่ได้มีข้อความหรือนัยยะอะไรฝากไว้ก่อนไป อันนี้กลับมานึกแล้วก็ขำเหมือนกัน

เมื่อพวกผมถูกควบคุมตัวด้วยรถตู้พร้อมทหารอาวุธครบมือ ไปยังค่ายทหารไม่ไกลจากสถานที่เข้ารายงานตัว ก็ได้เข้าพักห้องนอนรวม ที่ดัดแปลงจากห้องอาหารมาเป็นห้องนอน มีการปิดประตู ม่าน ฟีเจอร์บอร์ด สแลนด์และยังแถมด้วยรั้วลวดหนาม เพื่อไม่ให้แสงลอดเข้ามา มีการล็อคประตูจากด้านนอก หากต้องการเข้าห้องน้ำซึ่งอยู่ระยะ 5 ก้าว จากห้องพัก ก็ต้องเคาะประตูเรียกทหารที่ถือ M16 เฝ้าอยู่คอยเปิดให้ ขณะที่พวกผมไปถึงเขายังทำห้องไม่เสร็จ สอบถามทหารที่ดูแล จึงทราบว่าพวกเขาพึ่งรับคำสั่งเมื่อเช้าให้เตรียมสถานที่ (รายละเอียดไว้ตอนหน้าผมจะเล่าเพิ่มเติม ตอนนี้จะเน้นไปที่เรื่องที่เขาคุยกับพวกผมเป็นหลัก)

การสอบสวนของทหารที่ควบคุมตัวนั้นไม่มีประเด็นทางการเมือง มีเพียงการให้กรอกประวัติ ช่องทางติดต่อ วาดแผนที่บ้าน ช่วงค่ำคนที่ถูกคำสั่งเรียกรายงานตัวฉบับเดียวกันก็มาเข้าที่กักตัว พวกผมก็ได้สอบถามถึงแนวข้อสอบและแนวการสอบสวนของเขาว่า ทำอะไรและถามอะไรบ้าง โดยพวกผมถูกนำตัวมาสอบสวนในวันรุ่งขึ้น สถานที่สอบสวนเป็นสถานที่เดียวกับที่เข้ารายงานตัว วันนั้นผมรอทั้งวัน กว่าจะได้เข้าสอบก็ประมาณ 2 ทุ่ม โดยที่ผมเป็นคนรองสุดท้ายของวันนั้น ระหว่างรอเข้าห้องสอบสวน การเข้าห้องน้ำจะต้องแจ้ง สห. ที่คอยควบคุมตัวอยู่ มีการจัดเลี้ยงอาหารตลอดเวลา และแยกผู้ที่ถูกสอบแล้วกับผู้ที่ยังไม่ถูกสอบออกจากกัน ผมได้ใช้เวลาที่เดินเข้าห้องน้ำสอบถามพวกที่ถูกสอบแล้วว่าเขาถามอะไรบ้าง ทำให้ตอนนั้นผมดูเหมือนท้องเสียมาก ผมถามได้ไม่นาน สห. ก็จะเดินมาไล่ไม่ให้คุยกัน

ขณะรอเข้าสอบสวนนายทหารที่เป็นคนจัดคิวมาแลกเปลี่ยทัศนคติอย่างไม่เป็นทาง การ มีการโม้ว่าทหารเก่งอย่างโน้นอย่างนี้ เรียนอย่างนั้นอย่างนี้มา วิพากษ์วิจารณ์บทบาทอเมริกาที่เรียกร้องให้ไทยมีการจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว ในขณะนั้น เราก็ได้แต่ อืมๆ เพื่อลองฟังความเห็นของเขา รวมทั้งตอนนั้นคิดว่าพูดให้น้อยที่สุดจะดีกว่า

ถึงคิวผมเข้าห้องสอบสวน จะมีการเรียกชื่อและมี สห. พร้อมอาวุธปืนเดินคุมตัวไปยังห้องบริเวณนั้น บรรยากาศในห้องเหมือนห้องประชุมโตะกลมทั่วไปเป็นห้องกระจกโปร่ง มีนายตำรวจชั่นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งนั่งตรงกล่างเป็นประธาน และคนจากหน่วยงานและกลุ่มต่างๆ ที่พวกเขาเรียกตัวเองว่าเป็น “หน่วยความมั่นคง” ทั้งที่แต่งตัวธรรมดาและมาในเครื่องแบบ นั่งล้อมวง โดยมีผมอยู่ตรงกลางห้อง พร้อมตั้งกล้องวิดีโอบันทึกตลอดเวลาที่ผมเข้าไปนั่ง

สำหรับคณะผู้สอบสวน มีท่าทีที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งแบบดูเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคนที่นั่งเป็นประธาน คนที่ดูแบบกวนๆ ยั่วยุ กล่าวหาว่าผมกระทำความผิดอย่างนั้นนี้ แบบดุๆ ข่มขู่ แบบแสดงบทที่ทำความเข้าใจผม เป็นต้น

คำถามที่พวกเขาถามผมแบ่งเป็น ข้อมูลพื้นฐาน ที่อยู่อาศัย การศึกษา การทำงาน ฯลฯ ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อความมั่นคง การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงเครือข่ายผู้กระทำความผิดดังกล่าว ทัศนะคติเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และทัศนคติเกี่ยวกับการรัฐประหาร เป็นต้น

เปิดฉากการสอบสวนด้วยการไซโคก่อน โดยบอกกับผมว่า เพื่อนของผมที่เข้ามาก่อนหน้านี้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี บอกทุกอย่าง และหวังว่าผมจะให้ความร่วมมือด้วยเช่นกัน

ในส่วนการสอบถามเรื่องสถานที่ทำงานของผมนั้น มีผู้สอบคนหนึ่งต่อว่าผมด้วยว่า ไปทำงานที่นั่นได้อย่างไร ที่นั่นสนับสนุนการหมิ่นสถาบันฯ ผมก็ชี้แจงไปว่าไม่เคยมีการดำเนินคดีในข้อหานี้กับเนื้อหาที่พวกเราทำงาน จากนั้นคณะผู้สอบฯ ก็ถามผมถึงลักษณะทำงาน ประเด็นที่ทำ ฯลฯ
คำถามเกี่ยวกับการกระทำที่คณะผู้สอบสวนมองว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระ มหากษัตริย์ พวกเขาเริ่มต้นโดยการจี้กล่าวหาว่าผมไปกระทำความผิดนั้น ทำไม ทำอย่างไรบ้าง ผมจึงตอบไปว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว หลังจากนั้นก็เริ่มสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่คณะผู้สอบฯ กล่าวหาว่ากระทำความผิด ว่ารู้จักหรือไม่ นำภาพต่างๆ มาให้ผมดู ถามด้วยว่าทราบเรื่องการกระทำเหล่านั้นหรือไม่ ได้ดูหรือไม่ ดูแล้วคิดอย่างไร ผมก็ตอบเขาไปว่าทราบบ้างไม่ทราบบ้าง และไม่เคยดูการกระทำที่คณะผู้สอบยกมา จนทำให้บางคนในคณะผู้สอบต่อว่าผมว่า แย่มากที่ไม่ยอมให้ความร่วมมือ

หลังจากนั้นก็เริ่มซักถาม โดยพวกเขาเรียกมันว่า ‘ขอแลกเปลี่ยนทัศนคติ’ พร้อมกับไซโคด้วยว่า เพื่อนของผม คนที่ถูกสอบส่วนก่อนหน้านี้เขาให้ให้ทัศนะที่เป็นประโยชน์กับพวกเขามาก ตอนนั้นสิ่งที่ผมคิดในใจคือพวกเขาคงมีข้อมูลผมพอสมควร ดังนั้นการตอบก็ควรตอบในสิ่งที่ผมแสดงออกไว้ในทางสาธารณะเป็นหลัก

“คุณคิดอย่างไรกับสถาบันกษัตริย์” เป็นคำถามที่ผู้สอบยิงตรงมายังผม ผมก็ตอบไปว่าผมไม่ได้มองสถาบันกษัตริย์ในลักษณะที่เป็นตัวบุคคล แต่มองในลักษณะที่ “ความเป็นสถาบัน” ซึ่งมีองค์ประกับที่หลากหลาย เช่น กฏหมาย โดยเฉพาะ มาตรา 112 ซึ่งผมเห็นว่าต้องแก้ไข ทั้งเรื่องโทษที่หนักเกินไป ทั้งควรแยกประเภทความผิดออกจากกัน เช่น ‘หมิ่นประมาท’ กับ ‘แสดงความอาฆาตมาดร้าย’ นั้น ไม่ควรอยู่ในมาตราเดียวกัน การฟ้องร้องคดีก็ไม่ควรให้ใครก็ได้เป็นผู้ฟ้อง ควรมีการให้องค์กรอย่างสำนักราชวังเป็นผู้ดำเนินการ รวมไปถึงกระบวนการดำเนินคดี ควรให้สิทธิประกันตัวผู้ต้องหาทุกกรณี เพราะคดีนี้ที่ผ่านมาส่วนมากจะไม่ได้รับกระประกันตัว มันจึงเท่ากับเป็นการลงโทษพวกเขาล่วงหน้าแล้ว ยิ่งสร้างบรรยากาศความกลัวในการพิสูจน์ความจริงของผู้ถูกกล่าวหา ทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะหนี แม้ไม่ได้กระทำความผิด คือ “จะผิดหรือจะถูก แต่ถ้าคุณถูกกล่าวหาด้วยข้อหานี้ คุณถูกเข้าคุกไว้ก่อน”

ผมยังยกกรณีตัวอย่างเรื่องกีฬา ที่เป็นกิจกรรมที่ผมถนัดเพื่อแลกเปลี่ยนกับเขาว่า ถ้าเปรียบกับมวย ปกติประชาชนที่เป็คู่คดีกับรัฐหรืออัยการ ก็เหมือนมวยรุ่นเล็กแบกน้ำหนักขึ้นชกกับรุ่นใหญ่อยู่แล้ว รัฐมีความสามารถและอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลหลักฐานมากกว่าเวลาสู้คดี แต่การไม่ให้ประกันตัวนี่ก็ไม่ต่างจากการเอามวลรุ่นเล็กที่แบกน้ำหนักขึ้นชก นั้น ไปขักก่อนแข่ง ไม่ได้เตรียมข้อมูลหลักฐานในการสู้คดี ต่อให้เวลาขึ้นชก กรรมการหรือผู้พิพากษาตัดสินอย่างตรงไปตรงมาตามข้อมูลพยานหลักฐาน แต่โทษที่ผู้ต้องหาได้รับมันอาจจะมาจากการที่พวกเขาถูกทำให้เสียความสามารถ ในการสู้คดีมากกว่าสิ่งที่พวกเขาเคยกระทำจริงๆ ก็เป็นได้

จากนั้นผมบอกด้วยว่า ความเป็นสถาบันนั้นต้องมีความสามารถในการปรับตัว ไม่ใช่สิ่งที่อยู่นิ่งๆ แต่ต้องมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมบริบทต่างๆ เช่น ความต้องการ ความคาดหวังของคนในสังคม ซึ่งขณะนี้ก็เป็นที่รู้ว่ามีความหลากหลาย เรามีการเปิดประเทศเปิดสังคม ความคิดและข้อมูลจึงไม่อาจเป็นหนึ่งเดียวตายตัวได้ ผมเลยยกเรื่องตึกสูงกลางเมืองเพื่อเปรียบเทียบให้คณะผู้สอบฯ ฟัง ว่าคนที่อยู่ในเมืองในจุดที่ต่างกันอาจมองตึกได้ภาพต่างกันไป คนอยู่ไกลอาจมองอีกแบบ คนอยู่ไกลอาจมองอีกแบบ และการที่มีคนบอกเล่าเรื่องราวในสิ่งที่เขาเห็นหรือรู้ก็ไม่ได้หมายความว่า เขาจะล้มหรือทำลายตึกสูงนั้น คนที่บอกว่าตึกนั้นมีรอยร้าว ก็ไม่ได้มายหมายความว่าเขาต้องการทุบทำลายตึก แต่บรรดาคนรักตึกกับไม่ได้มองแบบนั้นในเวลานี้ ดังนั้นคนรักตึกควรที่จะรับฟังทัศนะหรือความเห็นต่อตึกในแง่ต่างๆ เปิดให้พวกเขาได้พูด ถ้าตึกร้าวจริงก็จะได้ซ้อม แต่ถ้าร้าวไม่จริงก็จะได้ชี้แจง เพื่อให้คนที่เข้าใจผิดเข้าใจว่า สิ่งที่เขาเห็นมันอาจจะเป็นแค่สีกะเทาะ เป็นต้น

การใช้อำนาจและการตีตราว่าคนที่พูดในทางไม่ดีต่อตึกเป็นพวกที่จ้องทำลายตึก และจับเขาเหล่านั้นเข้าคุก มันทำให้คนไม่กล้าบอกความจริงอย่างที่เขาคิดออกมา และแน่นอนเราหลีกหนีการนินทาในที่ลับ ไม่ได้ การกดทับโดยใช้อำนาจบีบแบบนี้ ยิ่งทำให้คนเลือกใช้วิธีการนินทา นั่นไม่ยิ่งทำให้คนรักตึกเสียโอกาสที่จะชี้แจงความจริงหรอกหรือ

หลังจากที่ผมเล่าไป คณะผู้สอบฯ ก็รับฟัง พร้อมแลกเปลี่ยนกลับมา โดยพวกเขายืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่ปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชัง แต่ต้องพูดด้วยความจริงต่อกัน ผมก็ยืนยันว่าผมเห็นด้วยแน่นอน และที่สำคัญผมเชื่อว่า “วิธีการเป็นสิ่งที่กำหนดผลลัพธ์” ถ้าจะไปเชียงใหม่ โดยที่เราเลือวิธีการเดินอ้อมไปเรื่อยๆ เมื่อเราเดินอ้อมไปเราอาจพบกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ป่าสวยๆ เราอาจจะมีอิทธิพลและเปลี่ยนความคิดคุณค่าเรา และรวมไปถึงเปลี่ยนใจจากที่จะไปเชียงใหม่ ไปเป็นเดินชมนกชมไม้แทน ซึ่งทำให้ผิดเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่ต้น กลายเป็นเอาวิธีการเดินอ้อมชมป่าไม้มาเป็นเป้าหมายแทน เป็นต้น

นอกจากนี้เขายังถามทัศนะเกี่ยวกับการรัฐประหาร ผมก็ตอบไปว่าไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว มีวิธีอื่น แทนที่จะนำกำลังทหารมารัฐประหาร สู้คอยอำนวยความสะดวกให้มีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่จะดีกว่า บทเรียนการรัฐประหารครั้งที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นแล้วว่ามันยิ่งขยายความขัด แย้ง ประเด็นนี้ผมแลกเปลี่ยนได้นิดเดียว คณะผู้สอบฯ โดยเฉพาะตัวประธานก็แลกเปลี่ยนกลับ โดยยกเรื่องหากไม่มีการยึดอำนาจก็จะมีการปะทะกัน มีการซ่องสุมอาวุธสงคราม และไม่มีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม จัดการปัญหาทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจไม่ได้ เป็นต้น ขณะนั้นผมคิดว่าพอดีกว่า ฟังเขา แสดงออกถึงความคล้อยตาม ตอบเขาไปอย่างเดียว “ครับ ครับ”
สุดท้ายก่อนจบการสอบ คณะผู้สสอบฯ นำข้าวต้มมาให้ผมกินอีก ซึ่งผมปฏิเสธไปพร้อมว่ากินแล้ว แต่ก็คะยั้นคะยอว่าให้กินให้ได้ เลยต้องกิน ก่อนที่จะพาไปห้องบันทึกคำสอบสวน ซึ่งเป็นการถอดเทปจากที่ผมพูดไป พร้อมให้ผมเซ็นชื่อประกอบบันทึกนั้น

ก่อนเอาคนที่ถูกสอบทั้งหมดช่วงนั้น 4 คน มาให้โอวาส โดยประธานคณะผู้สอบฯ มีการพูดถึงความความจำเป็นของการยึดอำนาจ ทัศนะคติที่ได้จากพวกเรา และขอให้ความร่วมมือกับ คสช. และเปิดให้สักถาม ผมเลยได้ถามเรื่องชื่อและเบอร์ติดต่อของหัวหน้าผู้สอบสวน เพื่อจะได้ขอข้อมูลและสอบถามทัศนะในภายหลัง เพื่อนำมาเผยแพร่บอกเล่าให้สาธารณะชนทราบถึงเหตุผลที่กระทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นทราบ แต่กลับถูกปฏิเสธ

หลังจากนั้นพวกผมก็ถูกพาตัวกลับไปที่กักตัวที่เดิมต่อ

- เสียงสามัญ
Photo: ตอนนี้ผมจะเล่าต่อจากตอนที่แล้วถึงบรรยากาศในขณะที่ถูกควบคุมตัวและการสอบสวน หลังเข้ารายงานตัวกับ คสช. ตามสถานที่ วันเวลาที่ คสช. มีคำสั่ง โดยได้นัดหมายคนที่ถูกเรียกในคำสั่งเดียวกันที่พอรู้จักกันเข้าพร้อมกัน นอกจากนี้ยังมีเพื่อนๆ มาส่ง รวมทั้งนั่งรอ พวกเขานั่งรอข้างนอกตั้งแต่ช่วงสายวันนั้น จนกระทั่งค่ำ โดยไม่ทราบเลยว่าหลังจากที่พวกผมเข้าไปรายงานตัวแล้ว สักบ่ายแก่ๆ ทหารก็นำตัวพวกผมไปไว้ที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แต่ไม่สามารถบอกหรือแจ้งเพื่อนๆ ที่มารออยู่ข้างนอกได้เลย แม้กระทั่งเพื่อนบางคนที่สามารถเข้ามาในสถานที่ห้องรายงานตัวได้ พวกผมก็ไม่ได้บอกกล่าวว่าเขาพาไปไหน ทหารที่ควบคุมพวกเราก็ไม่บอกหรือแจ้งว่าจะพาไปไหนด้วย มีเพียงนกกระดาษที่ผมพับและส่งให้เพื่อน โดยไม่ได้มีข้อความหรือนัยยะอะไรฝากไว้ก่อนไป อันนี้กลับมานึกแล้วก็ขำเหมือนกัน

เมื่อพวกผมถูกควบคุมตัวด้วยรถตู้พร้อมทหารอาวุธครบมือ ไปยังค่ายทหารไม่ไกลจากสถานที่เข้ารายงานตัว ก็ได้เข้าพักห้องนอนรวม ที่ดัดแปลงจากห้องอาหารมาเป็นห้องนอน มีการปิดประตู ม่าน ฟีเจอร์บอร์ด สแลนด์และยังแถมด้วยรั้วลวดหนาม เพื่อไม่ให้แสงลอดเข้ามา มีการล็อคประตูจากด้านนอก หากต้องการเข้าห้องน้ำซึ่งอยู่ระยะ 5 ก้าว จากห้องพัก ก็ต้องเคาะประตูเรียกทหารที่ถือ M16 เฝ้าอยู่คอยเปิดให้ ขณะที่พวกผมไปถึงเขายังทำห้องไม่เสร็จ สอบถามทหารที่ดูแล จึงทราบว่าพวกเขาพึ่งรับคำสั่งเมื่อเช้าให้เตรียมสถานที่ (รายละเอียดไว้ตอนหน้าผมจะเล่าเพิ่มเติม ตอนนี้จะเน้นไปที่เรื่องที่เขาคุยกับพวกผมเป็นหลัก)

การสอบสวนของทหารที่ควบคุมตัวนั้นไม่มีประเด็นทางการเมือง มีเพียงการให้กรอกประวัติ ช่องทางติดต่อ วาดแผนที่บ้าน ช่วงค่ำคนที่ถูกคำสั่งเรียกรายงานตัวฉบับเดียวกันก็มาเข้าที่กักตัว พวกผมก็ได้สอบถามถึงแนวข้อสอบและแนวการสอบสวนของเขาว่า ทำอะไรและถามอะไรบ้าง โดยพวกผมถูกนำตัวมาสอบสวนในวันรุ่งขึ้น สถานที่สอบสวนเป็นสถานที่เดียวกับที่เข้ารายงานตัว วันนั้นผมรอทั้งวัน กว่าจะได้เข้าสอบก็ประมาณ 2 ทุ่ม โดยที่ผมเป็นคนรองสุดท้ายของวันนั้น ระหว่างรอเข้าห้องสอบสวน การเข้าห้องน้ำจะต้องแจ้ง สห. ที่คอยควบคุมตัวอยู่ มีการจัดเลี้ยงอาหารตลอดเวลา และแยกผู้ที่ถูกสอบแล้วกับผู้ที่ยังไม่ถูกสอบออกจากกัน ผมได้ใช้เวลาที่เดินเข้าห้องน้ำสอบถามพวกที่ถูกสอบแล้วว่าเขาถามอะไรบ้าง ทำให้ตอนนั้นผมดูเหมือนท้องเสียมาก ผมถามได้ไม่นาน สห. ก็จะเดินมาไล่ไม่ให้คุยกัน

ขณะรอเข้าสอบสวนนายทหารที่เป็นคนจัดคิวมาแลกเปลี่ยทัศนคติอย่างไม่เป็นทางการ มีการโม้ว่าทหารเก่งอย่างโน้นอย่างนี้ เรียนอย่างนั้นอย่างนี้มา วิพากษ์วิจารณ์บทบาทอเมริกาที่เรียกร้องให้ไทยมีการจัดการเลือกตั้งโดยเร็วในขณะนั้น เราก็ได้แต่ อืมๆ เพื่อลองฟังความเห็นของเขา รวมทั้งตอนนั้นคิดว่าพูดให้น้อยที่สุดจะดีกว่า

ถึงคิวผมเข้าห้องสอบสวน จะมีการเรียกชื่อและมี สห. พร้อมอาวุธปืนเดินคุมตัวไปยังห้องบริเวณนั้น บรรยากาศในห้องเหมือนห้องประชุมโตะกลมทั่วไปเป็นห้องกระจกโปร่ง มีนายตำรวจชั่นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งนั่งตรงกล่างเป็นประธาน และคนจากหน่วยงานและกลุ่มต่างๆ ที่พวกเขาเรียกตัวเองว่าเป็น “หน่วยความมั่นคง” ทั้งที่แต่งตัวธรรมดาและมาในเครื่องแบบ นั่งล้อมวง โดยมีผมอยู่ตรงกลางห้อง พร้อมตั้งกล้องวิดีโอบันทึกตลอดเวลาที่ผมเข้าไปนั่ง

สำหรับคณะผู้สอบสวน มีท่าทีที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งแบบดูเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคนที่นั่งเป็นประธาน คนที่ดูแบบกวนๆ ยั่วยุ กล่าวหาว่าผมกระทำความผิดอย่างนั้นนี้ แบบดุๆ ข่มขู่ แบบแสดงบทที่ทำความเข้าใจผม เป็นต้น

คำถามที่พวกเขาถามผมแบ่งเป็น ข้อมูลพื้นฐาน ที่อยู่อาศัย การศึกษา การทำงาน ฯลฯ ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อความมั่นคง การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงเครือข่ายผู้กระทำความผิดดังกล่าว ทัศนะคติเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และทัศนคติเกี่ยวกับการรัฐประหาร เป็นต้น

เปิดฉากการสอบสวนด้วยการไซโคก่อน โดยบอกกับผมว่า เพื่อนของผมที่เข้ามาก่อนหน้านี้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี บอกทุกอย่าง และหวังว่าผมจะให้ความร่วมมือด้วยเช่นกัน

ในส่วนการสอบถามเรื่องสถานที่ทำงานของผมนั้น มีผู้สอบคนหนึ่งต่อว่าผมด้วยว่า ไปทำงานที่นั่นได้อย่างไร ที่นั่นสนับสนุนการหมิ่นสถาบันฯ ผมก็ชี้แจงไปว่าไม่เคยมีการดำเนินคดีในข้อหานี้กับเนื้อหาที่พวกเราทำงาน จากนั้นคณะผู้สอบฯ ก็ถามผมถึงลักษณะทำงาน ประเด็นที่ทำ ฯลฯ
คำถามเกี่ยวกับการกระทำที่คณะผู้สอบสวนมองว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พวกเขาเริ่มต้นโดยการจี้กล่าวหาว่าผมไปกระทำความผิดนั้น ทำไม ทำอย่างไรบ้าง ผมจึงตอบไปว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว หลังจากนั้นก็เริ่มสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่คณะผู้สอบฯ กล่าวหาว่ากระทำความผิด ว่ารู้จักหรือไม่ นำภาพต่างๆ มาให้ผมดู ถามด้วยว่าทราบเรื่องการกระทำเหล่านั้นหรือไม่ ได้ดูหรือไม่ ดูแล้วคิดอย่างไร ผมก็ตอบเขาไปว่าทราบบ้างไม่ทราบบ้าง และไม่เคยดูการกระทำที่คณะผู้สอบยกมา จนทำให้บางคนในคณะผู้สอบต่อว่าผมว่า แย่มากที่ไม่ยอมให้ความร่วมมือ

หลังจากนั้นก็เริ่มซักถาม โดยพวกเขาเรียกมันว่า ‘ขอแลกเปลี่ยนทัศนคติ’ พร้อมกับไซโคด้วยว่า เพื่อนของผม คนที่ถูกสอบส่วนก่อนหน้านี้เขาให้ให้ทัศนะที่เป็นประโยชน์กับพวกเขามาก ตอนนั้นสิ่งที่ผมคิดในใจคือพวกเขาคงมีข้อมูลผมพอสมควร ดังนั้นการตอบก็ควรตอบในสิ่งที่ผมแสดงออกไว้ในทางสาธารณะเป็นหลัก

“คุณคิดอย่างไรกับสถาบันกษัตริย์” เป็นคำถามที่ผู้สอบยิงตรงมายังผม ผมก็ตอบไปว่าผมไม่ได้มองสถาบันกษัตริย์ในลักษณะที่เป็นตัวบุคคล แต่มองในลักษณะที่ “ความเป็นสถาบัน” ซึ่งมีองค์ประกับที่หลากหลาย เช่น กฏหมาย โดยเฉพาะ มาตรา 112 ซึ่งผมเห็นว่าต้องแก้ไข ทั้งเรื่องโทษที่หนักเกินไป ทั้งควรแยกประเภทความผิดออกจากกัน เช่น ‘หมิ่นประมาท’ กับ ‘แสดงความอาฆาตมาดร้าย’ นั้น ไม่ควรอยู่ในมาตราเดียวกัน การฟ้องร้องคดีก็ไม่ควรให้ใครก็ได้เป็นผู้ฟ้อง ควรมีการให้องค์กรอย่างสำนักราชวังเป็นผู้ดำเนินการ รวมไปถึงกระบวนการดำเนินคดี ควรให้สิทธิประกันตัวผู้ต้องหาทุกกรณี เพราะคดีนี้ที่ผ่านมาส่วนมากจะไม่ได้รับกระประกันตัว มันจึงเท่ากับเป็นการลงโทษพวกเขาล่วงหน้าแล้ว ยิ่งสร้างบรรยากาศความกลัวในการพิสูจน์ความจริงของผู้ถูกกล่าวหา ทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะหนี แม้ไม่ได้กระทำความผิด คือ “จะผิดหรือจะถูก แต่ถ้าคุณถูกกล่าวหาด้วยข้อหานี้ คุณถูกเข้าคุกไว้ก่อน”

ผมยังยกกรณีตัวอย่างเรื่องกีฬา ที่เป็นกิจกรรมที่ผมถนัดเพื่อแลกเปลี่ยนกับเขาว่า ถ้าเปรียบกับมวย ปกติประชาชนที่เป็คู่คดีกับรัฐหรืออัยการ ก็เหมือนมวยรุ่นเล็กแบกน้ำหนักขึ้นชกกับรุ่นใหญ่อยู่แล้ว รัฐมีความสามารถและอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลหลักฐานมากกว่าเวลาสู้คดี แต่การไม่ให้ประกันตัวนี่ก็ไม่ต่างจากการเอามวลรุ่นเล็กที่แบกน้ำหนักขึ้นชกนั้น ไปขักก่อนแข่ง ไม่ได้เตรียมข้อมูลหลักฐานในการสู้คดี ต่อให้เวลาขึ้นชก กรรมการหรือผู้พิพากษาตัดสินอย่างตรงไปตรงมาตามข้อมูลพยานหลักฐาน แต่โทษที่ผู้ต้องหาได้รับมันอาจจะมาจากการที่พวกเขาถูกทำให้เสียความสามารถในการสู้คดีมากกว่าสิ่งที่พวกเขาเคยกระทำจริงๆ ก็เป็นได้

จากนั้นผมบอกด้วยว่า ความเป็นสถาบันนั้นต้องมีความสามารถในการปรับตัว ไม่ใช่สิ่งที่อยู่นิ่งๆ แต่ต้องมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมบริบทต่างๆ เช่น ความต้องการ ความคาดหวังของคนในสังคม ซึ่งขณะนี้ก็เป็นที่รู้ว่ามีความหลากหลาย เรามีการเปิดประเทศเปิดสังคม ความคิดและข้อมูลจึงไม่อาจเป็นหนึ่งเดียวตายตัวได้ ผมเลยยกเรื่องตึกสูงกลางเมืองเพื่อเปรียบเทียบให้คณะผู้สอบฯ ฟัง ว่าคนที่อยู่ในเมืองในจุดที่ต่างกันอาจมองตึกได้ภาพต่างกันไป คนอยู่ไกลอาจมองอีกแบบ คนอยู่ไกลอาจมองอีกแบบ และการที่มีคนบอกเล่าเรื่องราวในสิ่งที่เขาเห็นหรือรู้ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะล้มหรือทำลายตึกสูงนั้น คนที่บอกว่าตึกนั้นมีรอยร้าว ก็ไม่ได้มายหมายความว่าเขาต้องการทุบทำลายตึก แต่บรรดาคนรักตึกกับไม่ได้มองแบบนั้นในเวลานี้ ดังนั้นคนรักตึกควรที่จะรับฟังทัศนะหรือความเห็นต่อตึกในแง่ต่างๆ เปิดให้พวกเขาได้พูด ถ้าตึกร้าวจริงก็จะได้ซ้อม แต่ถ้าร้าวไม่จริงก็จะได้ชี้แจง เพื่อให้คนที่เข้าใจผิดเข้าใจว่า สิ่งที่เขาเห็นมันอาจจะเป็นแค่สีกะเทาะ เป็นต้น

การใช้อำนาจและการตีตราว่าคนที่พูดในทางไม่ดีต่อตึกเป็นพวกที่จ้องทำลายตึกและจับเขาเหล่านั้นเข้าคุก มันทำให้คนไม่กล้าบอกความจริงอย่างที่เขาคิดออกมา และแน่นอนเราหลีกหนีการนินทาในที่ลับ ไม่ได้ การกดทับโดยใช้อำนาจบีบแบบนี้ ยิ่งทำให้คนเลือกใช้วิธีการนินทา นั่นไม่ยิ่งทำให้คนรักตึกเสียโอกาสที่จะชี้แจงความจริงหรอกหรือ

หลังจากที่ผมเล่าไป คณะผู้สอบฯ ก็รับฟัง พร้อมแลกเปลี่ยนกลับมา โดยพวกเขายืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่ปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชัง แต่ต้องพูดด้วยความจริงต่อกัน ผมก็ยืนยันว่าผมเห็นด้วยแน่นอน และที่สำคัญผมเชื่อว่า “วิธีการเป็นสิ่งที่กำหนดผลลัพธ์” ถ้าจะไปเชียงใหม่ โดยที่เราเลือวิธีการเดินอ้อมไปเรื่อยๆ เมื่อเราเดินอ้อมไปเราอาจพบกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ป่าสวยๆ เราอาจจะมีอิทธิพลและเปลี่ยนความคิดคุณค่าเรา และรวมไปถึงเปลี่ยนใจจากที่จะไปเชียงใหม่ ไปเป็นเดินชมนกชมไม้แทน ซึ่งทำให้ผิดเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่ต้น กลายเป็นเอาวิธีการเดินอ้อมชมป่าไม้มาเป็นเป้าหมายแทน เป็นต้น

นอกจากนี้เขายังถามทัศนะเกี่ยวกับการรัฐประหาร ผมก็ตอบไปว่าไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว มีวิธีอื่น แทนที่จะนำกำลังทหารมารัฐประหาร สู้คอยอำนวยความสะดวกให้มีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่จะดีกว่า บทเรียนการรัฐประหารครั้งที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นแล้วว่ามันยิ่งขยายความขัดแย้ง ประเด็นนี้ผมแลกเปลี่ยนได้นิดเดียว คณะผู้สอบฯ โดยเฉพาะตัวประธานก็แลกเปลี่ยนกลับ โดยยกเรื่องหากไม่มีการยึดอำนาจก็จะมีการปะทะกัน มีการซ่องสุมอาวุธสงคราม และไม่มีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม จัดการปัญหาทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจไม่ได้ เป็นต้น ขณะนั้นผมคิดว่าพอดีกว่า ฟังเขา แสดงออกถึงความคล้อยตาม ตอบเขาไปอย่างเดียว “ครับ ครับ”
สุดท้ายก่อนจบการสอบ คณะผู้สสอบฯ นำข้าวต้มมาให้ผมกินอีก ซึ่งผมปฏิเสธไปพร้อมว่ากินแล้ว แต่ก็คะยั้นคะยอว่าให้กินให้ได้ เลยต้องกิน ก่อนที่จะพาไปห้องบันทึกคำสอบสวน ซึ่งเป็นการถอดเทปจากที่ผมพูดไป พร้อมให้ผมเซ็นชื่อประกอบบันทึกนั้น

ก่อนเอาคนที่ถูกสอบทั้งหมดช่วงนั้น 4 คน มาให้โอวาส โดยประธานคณะผู้สอบฯ มีการพูดถึงความความจำเป็นของการยึดอำนาจ ทัศนะคติที่ได้จากพวกเรา และขอให้ความร่วมมือกับ คสช. และเปิดให้สักถาม ผมเลยได้ถามเรื่องชื่อและเบอร์ติดต่อของหัวหน้าผู้สอบสวน เพื่อจะได้ขอข้อมูลและสอบถามทัศนะในภายหลัง เพื่อนำมาเผยแพร่บอกเล่าให้สาธารณะชนทราบถึงเหตุผลที่กระทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นทราบ แต่กลับถูกปฏิเสธ

หลังจากนั้นพวกผมก็ถูกพาตัวกลับไปที่กักตัวที่เดิมต่อ

- เสียงสามัญ



No comments:

Post a Comment