Somsak Jeamteerasakul
การ เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงชาติไทย เท่าที่มีอยู่ในขณะนี้แทบทั้งหมด ไม่ว่าจะในรูปสิ่งตีพิมพ์หรือออนไลน์ มีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดจำนวนมาก ทั้งนี้ รวมถึงข้อเขียนของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเพลงชาติโดยตรงทั้ง 3 ท่านคือ ขุนวิจิตรมาตรา, พระเจนดุริยางค์ และ พระสารานุประพันธ์ หรือบุคคลร่วมสมัยที่ใกล้ชิดกับแวดวงราชการในด้านดนตรี เช่น คุณมนตรี ตราโมท (ซึ่งเคยส่งเนื้อร้องเพลงชาติเข้าประกวดด้วย) หรือแม้แต่ในบทความวิชาการที่ถูกใช้เป็นมาตรฐานของ ดร.สุกรี เจริญสุข เป็นต้น
กรณีงานของ ขุนวิจิตรมาตรา, พระเจนดุริยางค์, พระสารานุประพันธ์ และ มนตรี ตราโมท นั้น ความจริง ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะท่านเหล่านี้เขียนขึ้นจากความทรงจำ ถึงเหตุการณ์ที่ผ่านไปนานหลายสิบปีแล้ว
ในบทความวิชาการเรื่อง "ความเป็นมาของเพลงชาติไทยปัจจุบัน" ของผม ที่ตีพิมพ์ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 (ธันวาคม 2547) ที่ผมได้นำไฟล์ pdf มาให้ดาวน์โหลดข้างล่างนี้ ผมได้ใช้หลักฐานร่วมสมัยมาตรวจสอบความถูกต้องของการเล่าเรื่องเพลงชาติไทย ที่ผ่านๆมา รวมทั้งของท่านผู้มีส่วนในการสร้างเพลงชาติเองทั้ง 3 ท่านดังกล่าว ทั้งยังได้เล่ารายละเอียดของกระบวนการสร้างเพลงชาติในครั้งต่างๆ รวม 3 ครั้ง และบางเรื่องที่เกียวข้องอีกจำนวนหนึ่ง
แต่ผมต้องขอ "ออกตัว" หรือ เตือน ล่วงหน้าอย่างจริงจังว่า นี่เป็นบทความที่อ่านยาก และไม่น่าอ่าน เพราะก่อนอื่น เป็นบทความที่ยาวมาก คือ ยาว 100 หน้าของวารสารธรรมศาสตร์ฉบับ ที่ตีพิมพ์ เนื่องจากสมัยนั้น ผมยังไม่นิยมการใส่รูปประกอบกับบทความตัวเอง บทความนี้จึงไม่มีรูปประกอบเลย - ซึ่งคงทำให้ไม่น่าอ่านยิ่งขึ้น - อันที่จริง ถ้ามีการใส่รูปประกอบเข้าไปด้วย ความยาวจะต้องมากกว่านี้อีกมาก และตลอดบทความ ผมได้ยกข้อความจากหลักฐานต่างๆมาแสดงให้เห็นอย่างละเอียด โดยเฉพาะเพื่อแก้ข้อมูลและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการเล่าเรือ่งนี้ที่ ผ่านๆมา โดยรวมแล้ว บทความนี้ จึงน่าจะเหมาะสำหรับคนที่ในวงวิชาการเรียกว่า specialist (ผู้สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังโดยเฉพาะ) มากกว่า general reader (ผู้อ่านทั่วไป) ความจริงถ้าผมมีเวลาหรือความสามารถมากกว่าตอนทีเขียนบทความนี้ ผมก็ยังอาจจะทำให้บทความสำหรับ specialist น่าอ่านกว่านี้ก็ได้
ผม หวังว่า สักวันหนึ่งคงมีเวลา "ย่อย" รายละเอียดมากมายเหล่านี้ มาเล่าใหม่ ด้วยภาษาที่่อ่านง่าย สำหรับผู้อ่านทั่วไป คล้ายๆกับกระทู้ที่ผมโพสต์ในวันนี้ ที่เป็น "เกร็ด" บางอย่างเกี่ยวกับการสร้างเพลงชาติ ดูที่นี่ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=159243564128931&set=a.137616112958343.44289.100001298657012&ref=nf
หรือที่นี่ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=159256540794300&set=a.137616112958343.44289.100001298657012&ref=nf
หรือที่นี่
http://www.facebook.com/notes/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%EF%BF%BD%EF%BF%BD/184032568306647?ref=nf
แต่ ในระหว่างทียังไมมีโอกาสจะทำเช่นนั้น ท่านผู้อ่านท่านใดคิดว่า สนใจเรื่องนี จะลองอ่านบทความทียากและน่าเบื่อนี้ ไปพลางๆดูก่อนก็ได้
เนื่องจากบทความนี้ยาวมาก เมื่อทำเป็น pdf จึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 http://www.mediafire.com/?1979m88ew49ltr5
ส่วนที่ 2 http://www.mediafire.com/?coqz7y1fyhwd541
สรุปประเด็นสำคัญในบทความ
ความจริงบทความนี้เป็นเรื่องของรายละเอียดเกี่ยว กับการสร้างเพลงชาติหลัง 2475 ซึงผมได้พยายามรวบรวมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลายเรื่องคงไม่เป็นที่สนใจสำหรับผู้อ่านทั่วไปนัก ในที่นี้ ผมขอสรุปบางประเด็นที่อาจจะสำคัญหรือน่าสนใจเป็นพิเศษ (ต้องสารภาพว่า ผมเองขณะนี้ ก็ไม่มีเวลากลับไปอ่านบทความยาวถึง 100 หน้าของตัวเองนี้ ได้แต่พลิกอ่านแบบเร็วๆ อาจจะมีบางประเด็นทีน่าสนใจ ที่ผมมองข้ามไปในขณะนี้ ขอให้ดูกระทู้ประเภท "เกร็ด" เกี่ยวกับเพลงชาติ ที่ผมโพสต์ไปก่อนหน้านี้ ตาม links ข้างต้น ประกอบ)
(1) ผมเสนอว่า ไม่ควรจัด "เพลงสรรเสริญพระบารมี" เป็น "เพลงชาติ" เพราะ "คอนเซ้พท์" เบื้องหลังเพลง 2 ชนิดนี้ ต่างกัน และในความเป็นจริง ดังที่ผมแสดงให้เห็นโดยละเอียดในบทความ การพยายามสร้าง "เพลงชาติ" หลัง 2475 ในระยะแรก พบกับปัญหาความไม่พอใจและต่อต้านจากราชสำนัก จนทำให้ "เพลงชาติ" เกิดขึ้นช้ากว่าที่คณะราษฎรต้องการ (มีการสร้างเพลงชาติขึ้นมาแล้ว ตั้งแต่ปี 2475 แต่ไม่ได้ทำให้เป็นทางการ จนกระทั่งปี 2477)
(2) เพลงชาติเพลงแรกหลัง 2475 ไม่ใช่ "เพลงชาติมหาชัย" ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (ตามที่มีการเล่ากันในงานแทบทุกชิ้น) ไม่มีหลักฐานเลยว่า กลอน "เพลงชาติมหาชัย" ทีตีพิมพ์ใน ศรีกรุง ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี จะเคยได้รับการทำให้เป็นเพลงชาติ มิหนำซ้ำ เมื่อคำนึงถึงความจริงทีว่า ความพยายามสร้างเพลงชาติในขณะนั้น ได้รับการต่อต้านจากราชสำนัก เป็นไปไม่ได้ที่ กลอนนี้ จะได้รับการทำให้เป็นเพลงชาติอย่างง่ายๆ ในไม่กี่วันหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
(3) เพลงชาติ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติ 2475 (เช่นเดียวกับ วันชาติ และ ชื่อ "ประเทศไทย") ตั้งแต่ต้นจนปัจจุบัน มี 1 ทำนอง 3 เนื้อร้อง
1 ทำนอง คือทำนองที่พระเจนดุริยางค์ประพันธ์ขึ้นในครึ่งแรกของเดือนกรกฎาคม 2475 คือภายใน 3 สัปดาห์ หลังการปฏิวัติ และถูกใช้มาจนถึงปัจจุบัน
3 เนื้อร้อง คือ เนื้อร้องของขุนวิจิตรมาตรา (2475), เนื้อร้องของขุนวิจิตรมาตรา และ ฉันท์ ขำวิไล (2477) และ เนื้อร้องของ หลวงสารานุประพันธ์ (2482)
(4) ผมได้แสดงให้เห็นคำอธิบายของขุนวิจิตรมาตรา ถึงแนวคิดเบื้องหลังการแต่งเนื้อเพลงชาติ ทั้งฉบับปี 2477 (ซึงเป็นเพียงการดัดแปลงจากฉบับปี 2475 ของท่านเอง) ทีสำคัญคือ "การ แต่งเนื้อเพลงชาติ ได้ถือหลัก ๕ ประการ คือ ๑. กล่าวฉะเพาะชาติโดยตรง ไม่กล่าวถึงศาสนา พระมหากษัตริย์ (เพราะพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติอยู่แล้ว) ให้ใช้เนื้อได้ทั่วไป เสมอไป ตลอดไปชั่วกัลปาวสาร ...."
ผมได้แสดงให้เห็นว่า เนื้อเพลงที่ส่งเข้าประกวดเพลงชาติ โดยเฉพาะครั้งหลังในปี 2482 เกือบทุกชิ้น ไม่มีกล่าวถึงพระมหากษัตริย์เช่นกัน
การ ไม่มีกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ใน "เพลงชาติ" นี้ เป็นทั้งมรดกสำคัญของการปฏิวัติ 2475 และจะกลายเป็นประเด็นสำคัญที่อยุ่เบื้องหลังความคิดที่จะแก้ไขเพลงชาติใน เวลาต่อมา จนถึงปัจจุบัน
(5) ผมได้แสดงให้เห็น ความเป็นมาของเนื้อเพลงชาติปัจจุบัน ที่ไม่ได้เป็นเพียงการประพันธ์ของ หลวงสารานุประพันธ์ เท่านั้น แต่ยังมีคำทีแก้ไขโดย หลวงพิบูลสงคราม และ หลวงวิจิตรวาทการ รวมอยู่ด้วย (โดยเฉพาะคำว่า "ประชารัฐ" ที่หลวงพิบูล เสนอแทนคำว่า "ประชาธิปไตย" ในเนื้อเพลงที่หลวงสารานุประพันธ์ ส่งเข้าประกวด)
No comments:
Post a Comment